วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

นวัตกรรมการพัฒนาคุณลักษณ์ที่ดี


นวัตกรรมการพัฒนาคุณลักษณ์ที่ดี
         การพัฒนานวัตกรรมคุณลักษณ์ศึกษาซึ่งสามารถจำแนกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
1. นวัตกรรมหลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Curriculum Innovation) การจัด กิจกรรมบูรณาการแบบเน้นคุณธรรม (moral-focused activity) โดยการสอดแทรกการพัฒนาคุณธรรมระหว่างการพัฒนาทักษะ ความสมารถของนักเรียนตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดในหลักสูตร
2. นวัตกรรมกระแสนิยม (In Trend Innovation) การจัดกิจกรรมใช้การสร้างกระแส หรือการนำค่านิยมที่เกิดขึ้นตามกระแสในช่วงนั้นมาใช้เป็นสื่อในการออกแบบกิจกรรมเพื่อดึงความสนใจของนักเรียน หรือการกำหนดกิจกรรมที่มีลักษณะการแข่งขัน เพื่อลดช่องว่างระหว่างสถานภาพของบุคคลหรือชนชั้น
 3. นวัตกรรมขบวนการบูรณาการ (Integrated Process Innovation) การจัดกิจกรรมที่มี การบูรณาการกระบวนการดำเนินงานของนักเรียนในกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ มิใช่จัดกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งแล้วหยุด แล้วเริ่มทำกิจกรรมอื่นต่อไปไม่สัมพันธ์กับกิจกรรมเดิม
4. นวัตกรรมเริ่มจากนักเรียนร้อยแปดแบบ (108 Student Initiations Innovation) การ จัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนเป็นผู้คิดริเริ่มและออกแบบกิจกรรม เพื่อให้ได้กิจกรรมและการขยายผลที่นำไปสู่การพัฒนาคุณลักษณ์
5. นวัตกรรมที่ทำให้เข้าระบบสถาบัน (Institutionalized Innovation) การจัดกิจกรรมที่ กำหนดเป้าหมายของการดำเนินงานในระดับสูง และทำให้เป็นภารกิจปกติของโรงเรียนโดยกำหนดเป็นแผนงานหลัก
6. นวัตกรรมอิงการเรียนรู้จากการบริหาร (Service Learning-Based Innovation) การจัด กิจกรรมที่จัดโอกาสให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการทำงานที่เป็นการให้บริการแก่สังคม
7. นวัตกรรมการประชุม (Forum Innovation) การจัดกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนเกิดการ เรียนรู้ผ่านการประชุมในรูปแบบของสมัชชาหรือการเสวนา เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน
8. นวัตกรรมคุณค่าเพื่อชีวิต (Living Values Innovation) การจัดกิจกรรมโดยใช้แนวคิด “คุณค่าเพื่อชีวิต” ซึ่งพัฒนาโดยนักวิชาการชาวตะวันตก บนพื้นฐานแนวคิดของการพัฒนาจิตใจของนักเรียนให้มีความสงบ และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า
9. นวัตกรรมที่เป็นนิสัยประจำ (Routine Habit Innovation) การจัดกิจกรรมโดยครูเป็น ผู้กำหนดคุณลักษณ์ที่จำเป็นต้องพัฒนาในตัวนักเรียนและฝึกปฏิบัติเป็นนิสัยในชีวิตประจำวัน
 10. นวัตกรรมการพัฒนาตนเอง (Self-Development Innovation) การจัดกิจกรรมโดยการ ฝึกให้นักเรียนรู้จักประเมินตนเอง และมีการพัฒนาตนเองในรูปแบบต่างๆ เช่น กิจกรรมการเผากิเลส ให้นักเรียนเขียนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ตนเองได้ปฏิบัติบนกระดาษ
11. นวัตกรรมการประยุกต์ในโลกแห่งความเป็นจริง (Real World Application Innovation) การจัดกิจกรรมโดยการนำพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงมาใช้กับการแสดงพฤติกรรมในโรงเรียน

ลักษณะของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ดี


ลักษณะของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ดี
นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงลักษณะของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ดี
(สิริพร ทิพย์คง. 2545 : 195 ; พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2545 : 135 – 161)
         1. ความเที่ยงตรง เป็นแบบทดสอบที่สามารถนำไปวัดในสิ่งที่เราต้องการวัดได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการวัด
         2. ความเชื่อมั่น แบบทดสอบที่มีความเชื่อมั่น คือ สามารถวัดได้คงที่ไม่ว่าจะวัดกี่ครั้งก็ตาม เช่น ถ้านำแบบทดสอบไปวัดกับนักเรียนคนเดิมคะแนนจากการสอบทั้งสองครั้งควรมีความสัมพันธ์กันดี เมื่อสอบได้คะแนนสูงในครั้งแรกก็ควรได้คะแนนสูงในการสอบครั้งที่สอง
         3. ความเป็นปรนัย เป็นแบบทดสอบที่มีคำถามชัดเจน เฉพาะเจาะจง ความถูกต้องตามหลักวิชา และเข้าใจตรงกัน เมื่อนักเรียนอ่านคำถามจะเข้าใจตรงกัน ข้อคำถามต้องชัดเจนอ่านแล้วเข้าใจตรงกัน
         4. การถามลึก หมายถึง ไม่ถามเพียงพฤติกรรมขั้นความรู้ความจำ โดยถามตามตำราหรือถามตามที่ครูสอน แต่พยายามถามพฤติกรรมขั้นสูงกว่าขั้นความรู้ความจำได้แก่ ความเข้าใจการนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า
         5. ความยากง่ายพอเหมาะ หมายถึง ข้อสอบที่บอกให้ทราบว่าข้อสอบข้อนั้นมีคนตอบถูกมากหรือตอบถูกน้อย ถ้ามีคนตอบถูกมากข้อสอบข้อนั้นก็ง่ายและถ้ามีคนตอบถูกน้อยข้อสอบข้อนั้นก็ยาก ข้อสอบที่ยากเกินความสามารถของนักเรียนจะตอบได้นั้นก็ไม่มีความหมาย เพราะไม่สามารถจำแนกนักเรียนได้ว่าใครเก่งใครอ่อน ในทางตรงกันข้ามถ้าข้อสอบง่ายเกินไปนักเรียนตอบได้หมด ก็ไม่สามารถจำแนกได้เช่นกัน ฉะนั้นข้อสอบที่ดีควรมีความยากง่ายพอเหมาะ ไม่ยากเกินไปไม่ง่ายเกินไป
         6. อำนาจจำแนก หมายถึง แบบทดสอบนี้สามารถแยกนักเรียนได้ว่าใครเก่งใครอ่อนโดยสามารถจำแนกนักเรียนออกเป็นประเภทๆ ได้ทุกระดับอย่างละเอียดตั่งแต่อ่อนสุดจนถึงเก่งสุด
        7. ความยุติธรรม คำถามของแบบทดสอบต้องไม่มีช่องทางชี้แนะให้นักเรียนที่ฉลาดใช้ไหวพริบในการเดาได้ถูกต้องและไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่เกียจคร้านซึ่งดูตำราอย่างคร่าวๆตอบได้ และต้องเป็นแบบทดสอบที่ไม่ลำเอียงต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
        สรุปได้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ดี ต้องเป็นแบบทดสอบที่มีความเที่ยงตรงความเชื่อมั่น ความเป็นปรนัย ถามลึก มีความยากง่ายพอเหมาะ มีค่าอำนาจจำแนก และมีความยุติธรรม



หลักการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล


หลักการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
เรื่อง หลักการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
      1.การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์โดยใช้ทฤษฎีลำดับความต้องการ ของอับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นการบริหารที่มีเป้าหมายชัดเจนด้วยการเข้าถึงควรต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน ล้วนแล้วแต่มีความคาดหวังต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นลำดับความต้องการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารสถานต้องเข้าใจทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการเป็นอย่างดี โดยสมติฐานพฤติกรรมของคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในสถานศึกษาไว้ 3 ประการ ได้แก่
        ประการที่ 1 คนมีความต้องการ ไม่มีที่สิ้นสุด
        ประการที่ 2 ความต้องการของคนจะถูกเรียงลำดับความสำคัญ
        ประการที่ 3 คนที่จะก้าวไปสู่ความต้องการระดับต่อไป เมื่อความต้องการในระดับต่ำลงมาได้รับการตอบสนองอย่างดีแล้วเท่านั้น
อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) ได้แบ่งลำดับความต้องการของมนุษย์ไว้ 5 ลำดับ ดังนี้
ลำดับที่่ 1 ความต้องการทางกาย
ลำดับที่ 2 ความต้องการความปลอดภัย
ลำดับที่ 3 ความต้องการการยอมรับในสังคม
ลำดับที่ 4 ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง
ลำดับที่ 5 ความต้องการความสำเร็จในชีวิต
การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์โดยใช้ทฤษฎีลำดับความต้องการนั้นต้องมีการตอบสนองให้คนได้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ โดยผู้บริหารต้องมีกุศโลบายที่แนบเนียนและแยบยลพอสมควรที่จะทำให้คนได้ทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มศักยาภาพ เพื่อให้สถานศึกษามีผลสัมฤทธิ์ที่ดี่เยี่ยม ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการประยุกต์ใช้ดังนี้
        1.1   มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการทางกาย การสนองตอบความต้องการทางกายนั้น ซึ่งจะดำเนินการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในสถานศึกษาให้น่าอยู่ สร้างบรรยาศที่เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น สร้างสวนย่อมในที่ที่เหมาะสม ทำสนามฟุตบอลให้น่าเล่น พัฒนาสถานที่พักผ่อนให้ผู้เรียนและครูได้มีโอกาสได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติมจากในห้องเรียน จัดสถานที่รับประทานอาหารและน้ำดื่มที่สะอาดถูกสุขอนามัย จัดห้องพักครูที่มีมุมคลายเครียด มีน้ำดื่ม น้ำชา กาแฟ ไว้บริการสำหรับครูและผู้มาติดต่อราชการอย่างเพียงพอ จัดมุมความรู้ทุกที่ในโรงเรียนส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของผู้เรียนและครู ปรับปรุงห้องน้ำของผู้เรียนและครูให้เพียงพอ สะอาดถูกสุขลักษณะ จัดให้มีห้องพยาบาลสำหรับผู้เรียนและครู จัดให้มีสื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการเรียนรู้โลกไร้พรมแดนที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้เรียน ครู และผู้มาใช้บริการอย่างเพียงพอ
        1.2   มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการความปลอดภัย สิ่งสำคัญที่จะให้สถานศึกษาน่าอยู่คือการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารสถานที่ให้มั่นคงแข็งแรงปลอดภัยอยู่เสมอ ปรับปรุงภูมิทัศน์ ตรวจสอบสายไฟฟ้าภายในสถานศึกษา จัดให้มีถึงดับเพลิงไว้หลายๆ จุด พร้อมทั้งตรวจสภาพถังดับเพลิงให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา จัดให้มีที่จอดรถสำหรับครู และนักเรียน ตลอดจนผู้ที่มาติดต่อราชการ ปรับปรุงบ้านพักครูให้น่าอยู่และปลอดภัย จัดให้มียามรักษาการณ์ภายสถานศึกษาทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ติดต้องวงจรปิดภายในสถานศึกษาเพื่อป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น สร้างรั้วรอบโรงเรียน ติดไฟส่องสว่างในเวลากลางคืนให้คุ้มค่าและปลอดภัย มีการทำประกันภัยหมู่สำหรับผู้เรียน และครูทุกคน จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับครูและนักเรียน
        1.3   มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการการยอมรับในสังคม จัดให้มีกิจกรรมสานสัมพันธ์ของคณะครู ผู้บริหาร นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน เช่น กิจกรรมกีฬาสีสัมพันธ์ ร่วมกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น เป็นต้น ส่งเสริมให้ครูได้ถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน หรือต่างหน่วยงาน โดยการเป็นวิทยากร ส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนให้เข้าร่วมแข่งขันทักษะความสามารถต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะทางวิชาการ กีฬา ดนตรี หรือความสามารถพิเศษอื่นใดในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ อีกทั้งสร้างวัฒนธรรมการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสถานศึกษา เช่น การเยี่ยมบ้านผู้เรียน การเยี่ยมเยียนเมื่อเจ็บป่วย การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมต่างๆ เป็นต้น สร้างวัฒนธรรมการมีสัมมาคารวะ กาลเทศะ
       1.4   มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง ส่งเสริมให้ครูได้เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ความสามารถของตนเอง ส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนให้เข้าร่วมแข่งขันทักษะความสามารถต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะทางวิชาการ กีฬา ดนตรี หรือความสามารถพิเศษอื่นใดในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ พร้อมทั้งมีเวทีสำหรับการยกย่องชมเชยความดีงานของครูและผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในเกณฑ์ดีเยี่ยม ส่งเสริมให้ครูขอและมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น พิจารณาความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษสำหรับครูผู้มีผลงานที่สร้างเกียรติชื่อเสียงให้กับโรงเรียนและครูผู้เสียสละทุ่มเทประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเพื่อนครูและผู้เรียน
          1.5   มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการความสำเร็จในชีวิต ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนต่อระดับที่สูงขึ้นให้ครบทุกคน ส่งเสริมให้ครูขอและมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่น่าอยู่อย่างมีความสุข มีการให้ความรู้สำหรับครูก่อนวัยเกษียณ มีการแนะแนวทางการศึกษาต่อสำหรับผู้เรียน มีทุนการศึกษาให้ผู้เรียนที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยมและมีความประพฤติดี
         เมื่อสนองความต้องการให้กับคนได้อย่างครบถ้วนแล้วพวกเขาก็จะดึงศักยภาพของตนเองออกมาแสดงอย่างเต็มที่ การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์นั้นก็จะเป็นมรรคเป็นผลอย่างแท้จริงและยั่งยืนสืบไปอย่างแน่นอน แต่ผู้บริหารอย่าลืมไปว่า “ความต้องการของคนไม่มีที่สิ้นสุด

        2. การบริหารที่ยืดหยุ่นโดยใช้ทฤษฎีใบพัดองค์การ (POCCC) ของอองรี ฟาร์โยล์ (Henri Fayol) ซึ่งเป็นการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการประยุกต์ใช้ทฤษฎีดังนี้
       2.1   ประสิทธิภาพจากการวางแผน (P-Planning) ผู้บริหารจะต้องมีการวางแผนที่ดีด้วยแผนกลยุทธ์ นโยบาย แผนงาน โครงการ ที่ชัดเจนเข้าใจง่าย โดยการวางแผนนั้นต้องมีแนวปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษา และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วย ซึ่งจะเป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งต้องสามารถปรับปรุงยืดหยุ่นให้สอดรับกับนโยบายของรัฐและต้นสังกัด ทันกับสถานการณ์ของโลกปัจจุบันให้เป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ของสถานศึกษา
         2.2   ประสิทธิภาพจากการจัดองค์กร (O-Organizing) การจัดองค์กรถือเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าสิ่งใดเลย ผู้บริหารต้องมีการจัดโครงสร้างของสถานศกึษาอย่างชัดเจน ตามสายงาน จัดบุคคลากรตามสายบังคับบัญชา พร้อมทั้งแบ่งหน้าที่ของฝ่ายงานอย่างถูกต้อง เป็นระบบงาน อันได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป และแต่ละฝ่ายงานต้องมีทีมงานในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ที่ได้วางเอาไว้
          2.3   ประสิทธิภาพจากการบังคับบัญชา (C-Commanding) หลังจากการจัดองค์กรแล้วผู้บริหารก็ต้องมีการบังคับบัญชาตามตำแหน่งหน้าที่ได้รับมอบหมาย มีการตัดสินใจสั่งการที่เป็นกัลยาณมิตร ผู้บริหารต้องมีการสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบังคับบัญชาดูแลตรวจสอบและติดตามการสั่งการในแต่ละงาน
           2.4   ประสิทธิภาพจากการประสานงาน (C-Coordinating) ผู้บริหารจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือการประสานงานทั้งภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ดังนั้นผู้บริหารต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสื่อสารเพื่อประสานงานต่างๆ ด้วยความนุ่มนวล แนบเนียน หนักแน่น และแน่นอน ให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา ทั้งรูปแบบของคณะกรรมการสถานศึกษา และสมาคมผู้ปกครองและครู
            2.5   ประสิทธิภาพจากการควบคุม (C-Controlling) การบริหารสถานศึกษานั้น ผู้บริหารสถานศึกษาต้องจำเป็นต้องมีการควบคุม ดูแล ทรัพยากรทางการศึกษาที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า อันได้แก่ บุคลากร งบประมาณ เครื่องมือ การจัดการ เวลา และเทคโนโลยี ซึ่งต้องมีควบคุมติดตามทุกฝ่ายงานด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง
การบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพด้วยทฤษฎีใบพัดองค์การ (POCCC) นั้นสามารถใช้ได้ทุกยุกต์ทุกสมัย และเหมาะกับการบริหารการศึกษาที่ต้องคำนึงถึงคุณภาพของผลผลิต นั่นคือ ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป
           3.การบริหารให้เกิดประสิทธิผลเชิงวิทยาศาสตร์ ของเฟรเดอริค เทเลอ (Frederick W. Taylor) เป็นการบริหารแนวใหม่ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการที่ส่งเสริมวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กรซึ่งได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้นจะมีทั้งเหตุและผลมาอธิบายสมมติฐานที่วางเอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการประยุกต์ใช้ทฤษฎีดังนี้
           3.1   ประสิทธิผลจากการพัฒนาการวิเคราะห์งานเชิงวิทยาศาสตร์ จะต้องวางแผนกลยุทธ์สถานศึกษาตามนโยบายที่รัฐกำหนดให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เพื่อจัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิผลจากการพัฒนาการวิเคราะห์งานเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบของแต่ละงานใน 4 งาน โดยการทำ SWOT Analysis อันได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไปว่าแต่ละงานต้องมีขอบเขตงานอย่างไร มีโครงสร้างอย่างไร มีวิธีการดำเนินการอย่างไร และผลผลิตเป็นอย่างไร ต้องกำหนดให้ชัดเจนเป็นกลยุทธ์ แผนงาน โครงการ ที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ
          3.2   ประสิทธิผลจากการคัดเลือก การฝึกอบรม และการพัฒนาครูในเชิงวิทยาศาสตร์ จะต้องคัดเลือกให้ครูได้ปฏิบัติหน้าที่ตามความสมัครใจและความสามารถของตนเองอย่างเต็มศักยภาพ พัฒนาครูให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างเต็มที่ด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขั้นหรือการฝึกอบรมความรู้และทักษะที่สามารถเพิ่มพูนศักยภาพของครูให้สูงขึ้น ให้ครูสามารถพัฒนาตนเองเพื่อเปลี่ยตำแหน่งงานของตนส่งเสริมให้ครูได้ถ่ายทอดวิทยาการภายในสถานศึกษาและภายนอก พร้อมทั้งสนับสนุนให้ครูมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น ให้ครูได้แสดงศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพที่สูงขึ้นตามไปด้วยจึงถือได้ว่าการบริหารสถานศึกษาเกิดประสิทธิผล
          3.3   ประสิทธิผลจากความร่วมมือที่ใกล้ชิดของครูและผู้บริหาร จะต้องบริหารจัดการสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิผลจากความร่วมมือแบบกัลยาณมิตรด้วยการทำงานเป็นทีม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ต้องใช้มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน ครูทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาแบบบูรณาการ แบ่งเค้กตามสัดส่วนของคนด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อย่างยุติธรรมปราศจากอคติ
          3.4   ประสิทธิผลจากการแจกแจงงานและความรับผิดชอบที่เป็นรูปแบบเดียวกัน จะต้องจัดทำโครงสร้างฝ่ายงานที่ชัดเจน มีขอบเขตภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจนและเหมาะกับตนเองมากที่สุดทั้ง 4 งาน อันได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป ให้เป็นรูปแบบการสั่งการเดียวกันและเท่าเทียมกันตามภารกิจของแต่ละฝ่ายงาน พร้อมทั้งจัดคนเข้าทำงานในแต่ละตำแหน่งอย่างเหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล และจะไม่ใช่อำนาจโดยพลการต้องผ่านมติของที่ประชุมทุกครั้งไป


ตรวจสอบและทบทวน


ตรวจสอบและทบทวน
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการ เรียนรู้ด้วยใช้กระบวนการของทบทวนตนเองหลังสอนที่ช่วยให้เข้าใจการเรียนการสอนในการตอบสนอง ความต้องการ 4 ประการ คือ ด้านวัตถุประสงค์ ด้านค่านิยม ด้านประสิทธิผล และด้านความพึงพอใจในตนเอง
การประเมินผลเพื่อปรับปรุงการสอน
วิธีการวัดและประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิธีการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้
หมาย
เหตุ
       ๑.ด้านวัตถุประสงค์
             เด็กสามารถบอกส่วนประกอบของต้นกล้วยได้
             เด็กสามารถบอกลักษณะของต้นและผลของกล้วยได้
             เด็กสามารถบอกได้ว่าส่วนประกอบของต้นกล้วยแต่ละส่วนมีประโยชน์และโทษอย่างไร
             เด็กสามารถปฏิบัติตามกฎ กติกา ข้อตกลงได้
             เด็กสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่สนทนาได้
             เด็กสามารถทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้อย่างสนุกสนาน
สังเกต
แบบประเมิน
การสังเกต
      ๒. ด้านค่านิยม
       เด็กสามารถบอกส่วนประกอบของต้นกล้วยได้
      เด็กสามารถบอกลักษณะของต้นและผลของกล้วยได้
      เด็กสามารถบอกได้ว่าส่วนประกอบของต้นกล้วยแต่ละส่วนมีประโยชน์อย่างไร
      เด็กสามารถปฏิบัติตามกฎ กติกา ข้อตกลงได้
      เด็กสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่สนทนาได้
       เด็กสามารถทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้อย่างสนุกสนาน
สังเกต
แบบประเมิน
การสังเกต
     ๓.  ด้านประสิทธิผล
      ผู้เรียนสามารถต่อยอดความรู้ นำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตจริง และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้กับผู้อื่นได้ 
สังเกต
แบบประเมิน
การสังเกต
๔.  ด้านความพึงพอใจในตนเอง                 
      ผู้เรียนชอบและชื่นชมผลงานของตัวเอง             

สังเกต
แบบประเมิน
การสังเกต

                                                                                  ผู้ประเมิน
ลงชื่อ…………………………………
(นางสาวรัญญารณ์   บริบูรณ์)


วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เทคนิคการสอน


เทคนิคการสอน
เทคนิค คือ กลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำใดๆ เพื่อช่วยให้กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำนั้นๆ มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น เทคนิคการสอน จึงหมายถึง กลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน หรือการดำเนินการทางการสอนใดๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในการบรรยาย ผู้สอนอาจใช้เทคนิคต่างๆ ที่สามารถช่วยให้การบรรยายมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การยกตัวอย่าง การใช้สื่อ การใช้คำถาม เป็นต้น
ทักษะการสอน         ทักษะการสอน คือ ความสามารถในการปฏิบัติการสอนด้านต่างๆ อย่างชำนาญซึ่งครอบคลุมการวางแผนการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอน การใช้วิธีสอน เทคนิคการสอน รูปแบบการเรียนการสอน ระบบการสอน สื่อการสอนการประเมินผลการเรียนการสอน รวมทั้งการใช้ทฤษฎีและหลักการเรียนรู้และการสอนต่างๆ
นวัตกรรมการสอน 
      นวตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่ทำขึ้น ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ดังนั้น นวัตกรรมการสอนจึงหมายถึงแนวคิด วิธีการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งอาจเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เพียงบางส่วน หรืออาจเป็นสิ่งใหม่ในบริบทหนึ่งหรือในช่วงเวลาหนึ่ง หรืออาจเป็นสิ่งใหม่ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิสูจน์ทดสอบ หรือได้รับการยอมรับนำไปใช้แล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายหรือเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปกติ 
การวิจัยด้วยการเรียนการสอน         การวิจัยด้านการเรียนการสอน คือ การศึกษาหาคำตอบให้แก่ปัญหาหรือคำถามต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบที่น่าเชื่อถือต่อแปรที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบสำคัญของการเรียนการสอนครอบคลุมตัวแปร เกี่ยวกับผู้เรียนผู้สอน บริบทของการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอน และผลผลิตของการเรียนการสอน


การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)


การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
ความเป็นมาและความสำคัญ
      สืบเนื่องจากข้อสั่งการของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องเร่งรัดดำเนินการในประเด็นด้านการศึกษาเรื่องการขาดแคลนครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลรวมทั้งการ
เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็ก จึงได้พิจารณาให้มีการศึกษาและขยายผลโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไปยังพื้นที่อื่นๆโดยกำหนดให้ใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ในโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ จำนวน 15,369 โรงเรียน  นอกเหนือจากที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและได้ผล 
        การดำเนินการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ จะบรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพได้นั้น มีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมย่างต่อเนื่องและยั่งยืน  มีการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติทั้งในระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับโรงเรียน วัตถุประสงค์                 1. เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาวันที่ 5 ธันวาคม 2557                   2. เพื่อช่วยแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่ประสบปัญหาการมีครูไม่ครบชั้น ครูสอนไม่ตรงสาขาวิชาเอก                3. เพื่อขยายผลโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไปยังพื้นที่อื่นๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
เป้าหมาย
      1. ด้านปริมาณ
             1.1  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  จำนวน 183 เขต 
             1.2  โรงเรียนขนาดเล็ก  จำนวน  15,369 โรงเรียน 
      1. ด้านคุณภาพ
             2.1  นักเรียน
                    2.1.1  นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
                    2.1.2  นักเรียนมีทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
                    2.1.3  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา
                               ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓  หรือสูงกว่าค่าเฉลี่ยของสำนักงานคณะกรรมการ
                              การศึกษาขั้นพื้นฐาน
             2.3  ครูผู้สอน ร้อยละ 80  สามารถจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             2.4  ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก ร้อยละ 100 สามารถบริหารจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             2.5  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร้อยละ 100 มีการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมสู่การปฏิบัติในระดับโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการดำเนินงาน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับมอบหมายนโยบายและดำเนินกิจกรรมโครงการ ดังนี้          1. การจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม         2. อบรมผู้บริหารและครูปลายทาง         3. งานประชาสัมพันธ์         4. งานการนิเทศ ติดตาม ประเมินและรายงานผลโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม   
โรงเรียนปลายทาง
1.กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1) การจัดงานรวมพลังการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม 
2) กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
2.การพัฒนาผู้บริหารเขตพื้นที่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูปลายทาง
- การพัฒนาผู้บริหารเขตพื้นที่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูปลายทาง
- พัฒนาบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูปลายทางอย่างต่อเนื่องโดยผ่านช่องทางการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV14) หรือช่องทางอื่น
- พัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนในแต่ละสาระการเรียนรู้โดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ผ่านช่องทางการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV14) หรือช่องทางอื่น
3. การจัดกิจกรรมเสริมสร้างความยั่งยืน
จัดกิจกรรมกระตุ้นโรงเรียนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
-กิจกรรมเตรียมความพร้อมของครูก่อนเปิดภาคเรียน
-กิจกรรมสอนเสริม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ,6 ตลอดปีการศึกษา
4. การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล
- นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล
- จัดทำคู่มือ/แนวทางการนิเทศ
- จัดประชุมคณะกรรมการนิเทศของ สพฐ.ร่วมกับ สตผ.
- สพฐ.(คณะกรรมการนิเทศและสตผ.) นิเทศ  กำกับ ติดตามการดำเนินงานของสพป.
- สพป.นิเทศโรงเรียนในสังกัด
- รายผลการดำเนินงานระดับเขตและระดับประเทศ           1) ผ่านระบบ Online โดยบริษัท Feedback 180
          2) รายงานผลเชิงคุณภาพ
5. การสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนปลายทางการสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนปลายทาง
               -  การปรับปรุงบรรยากาศห้องเรียน             
               -  จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ Flash Drive ๓๒ GB สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก
      -  ซ่อมแซมอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
      - เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 5.5 k แบบแรงดันคงที่
      - จัดสรรงบสื่อ BBL Resource  corner  ให้   15,369  โรงเรียนๆละ 3 ชุด
6. การสร้างเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก           - จัดตั้งกลุ่มเครือข่าย/ชมรมโรงเรียนขนาดเล็ก/จัดตั้งกลุ่มโรงเรียนพี่ โรงเรียนน้อง
1) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้   
2) กิจกรรมช่วยเหลือแนะนำ                 
  3) การแก้ไขปัญหา
 4) การเป็นพี่เลี้ยง ฯลฯ
7. การจัดหาอุปกรณ์สนับสนุนการใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียมไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ  สพฐ.
8. การมีส่วนร่วมของชุมชนองค์กรต่างๆ และการขยายโอกาสการเรียนรู้สู่ชุมชน
9. การสื่อสารเพื่อการพัฒนารับฟังความคิดเห็นการสอบถามเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาให้กับครู
10. กิจกรรมการบริหารงานโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
             1. ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียน
                - ผู้บริหารระดับสูง และคณะทำงาน ทำการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียน
             2. ประชุมราชการเพื่อการบริหารงานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
                  - ประชุมราชการเพื่อการบริหารงานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
11. การดำเนินงานของโรงเรียนต้นทาง
             1) สนับสนุนอัตรากำลังครูที่ขาดแคลนของโรงเรียนต้นทาง
             2) การอบรมพัฒนาครู
             3) การคัดเลือกแบบเรียน หนังสือ แบบฝึก สื่อที่มีคุณภาพ แต่ละสาระการเรียนรู้
               4) การผลิตสื่อมัลติมีเดียการเรียนการสอนที่ทันสมัย การ์ตูน แอนนิเมชั่น
12. สนับสนุนมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

การศึกษาทางไกล (Distance Learning)


การศึกษาทางไกล (Distance Learning)

( รูปภาพที่1 จาก http://www.indiaeducation.net )
การศึกษาทางไกลเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้ใฝ่รู้และใฝ่เรียนที่ไม่สามารถสละเวลาไปรับการศึกษาจากระบบการศึกษาปกติได้เนื่องจากภาระทางหน้าที่การงานหรือทางครอบครัว และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนหรือปรับปรุงความรู้ที่มีอยู่ให้ทันสมัยเพื่อประโยชน์ใน การทำงาน
 การศึกษาทางไกล (Distance Education) หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ ไกลกัน แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสม กล่าวคือ การใช้สื่อต่างๆ ร่วมกัน เช่น ตำราเรียน เทปเสียง แผนภูมิ คอมพิวเตอร์ หรือโดยการใช้อุปกรณ์ทาง โทรคมนาคม และสื่อมวลชนประเภทวิทยุและโทรทัศน์เข้ามาช่วยในการแพร่กระจาย การศึกษาไปยังผู้ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกท้องถิ่น การศึกษานี้มีทั้งในระดับต้นจนถึงระดับสูงขั้นปริญญา
สาเหตุและปัจจัยสำคัญที่ทำก่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบของ "การศึกษาทางไกล หรือการศึกษาไร้พรมแดน" คือ การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี การผสมผสานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ก่อให้เกิดเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาวะการขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากร ทำให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ต้องขยายพื้นที่การจัดการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
ความสำคัญของdistance learning
การศึกษาทางไกล เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในสมัยศตวรรษที่ ๒๐ เพื่อสนองความต้องการของสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมข่าวสาร หรือสังคมของการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาไปสู่บุคคลกลุ่มต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ทำให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต ที่บุคคลสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง
    ความสำคัญของการศึกษาทางไกล
          1. เป็นการเพิ่มทางเลือกในการกระจายโอกาส และยกระดับการศึกษาของผู้เรียน
          2. เป็นตัวการเปลี่ยนแปลงกระบวนวิธีการเรียนรู้และการจัดการศึกษาของสังคมในปัจจุบันและอนาคต
          3. ช่วยสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันก็ช่วยลดอุปสรรคด้านทรัพยากร สถานที่ เวลา และบุคลากร
          4. ช่วยลดภาระของครูทั้งในด้านการเตรียมการ การใช้เวลา และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียน การสอนให้มีคุณภาพ
          5. การเรียนการสอนทางไกลสามารถ "แพร่กระจาย" และ "เข้าถึง" ตัวบุคคลได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง
องค์ประกอบหลักของการศึกษาทางไกล
         1. ผู้เรียน จะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนมีอิสระในการกำหนดเวลา สถานที่ และวิธีเรียนของตนเอง โดยสามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น จากการสอนโดยผ่านการสื่อสารทางไกล วีดีทัศน์ที่ผลิตเป็นรายการ วีดีทัศน์ที่บันทึกจากการสอน ตำรา หนังสือ เอกสารประกอบการสอนในรูปของบทเรียนด้วยตนเอง คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
         2. ผู้สอน จะเน้นการใช้สื่อการสอนที่มีคุณภาพและหลากหลายรูปแบบซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง หรือ
เรียนเสริมในภายหลัง เนื่องจากผู้สอนมีโอกาสพบผู้เรียนโดยตรงน้อยมาก คือมีโอกาสพบปะผู้เรียนแบบเผชิญหน้าในตอนแรกและตอนท้ายของภาคเรียน หรือไปสอนเสริมในบางบทเรียนที่พิจารณาเห็นว่ายากต่อการเข้าใจเท่านั้น
         3. การจัดระบบบริหารและบริการ เป็นการจัดโครงสร้างอื่นมาเสริมการสอนทางไกลโดยตรง เช่น อาจมีครูที่ปรึกษาประจำตัว ผู้เรียน มีศูนย์บริการการศึกษาที่ใกล้ตัวผู้เรียน รวมทั้งระบบการผลิตและจัดส่งสื่อให้ผู้เรียนโดยตรงอย่างมีประสิทธิภาพ
         4. การควบคุมคุณภาพ จะจัดทำอย่างเป็นระบบ และดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยเน้นการควบคุมคุณภาพในด้านองค์ประกอบของการสอนทางไกล เช่น ขั้นตอนการวางแผน กระบวนการเรียนการสอน วิธีการประเมินผล และการปรับปรุงกระบวนการ เป็นต้น
         5. การติดต่อระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และสถาบันการศึกษา เป็นการติดต่อแบบ ๒ ทาง โดยใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์  อิเล็กทรอนิกส์ หรือจดหมาย เป็นต้น
   ลักษณะของการศึกษาทางไกล
         1. การเรียน- การสอน การศึกษาทางไกลต้องอาศัยครู และอุปกรณ์การสอนที่สามารถใช้สอนนักเรียนได้มากกว่า ๑ ห้องเรียน และได้ในหลายสถานที่ เช่น วิชาพื้นฐาน ทำให้ไม่ต้องจ้างครูและซื้ออุปกรณ์สำหรับการสอนในวิชาเดียวกันของแต่ละแห่ง และครูสามารถเลือกให้นักเรียนแต่ละแห่งถามคำถามได้ เนื่องจากแต่ละห้องมีขนาดไม่ใหญ่นัก และจำนวนนักเรียนก็มีไม่มากนัก โดยมีอุปกรณ์ช่วยในการโต้ตอบ เช่น ไมโครโฟน กล้องวีดีทัศน์ และจอภาพ เป็นต้น
         2. การถาม - ตอบ หากนักเรียนมีปัญหาข้อสงสัย อาจสามารถถามครูได้โดยผ่านโทรศัพท์ หรือผ่านกล้องโทรศัพท์ หรือผ่านกล้องวีดีทัศน์ในระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ในขณะที่เรียน หรือส่งโทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ไปถามได้ในภายหลัง หรือครูอาจจะนัดเวลาเป็นการเฉพาะเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม การถามตอบในลักษณะนี้ จะทำให้ครูจะมีเวลามากขึ้นในการค้นคว้าเพื่อส่งคำตอบกลับไปให้ทำเรียนในภายหลัง
         3. การประเมินผล ผู้เรียนสามารถส่งการบ้านและการทดสอบได้ทางไปรษณีย์ โทรสาร หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ทั้งนี้รูปแบบและวิธีการประเมินผลจะต้องได้รับการออกแบบเฉพาะ หรืออาจจะใช้การประเมินผลในรูปแบบปกติในห้องเรียน (ให้ผู้เรียนไปทดสอบ ณ สถานที่ที่จัดไว้ไห้) เพื่อผสมผสานกันไปกับการเรียนทางไกล
สื่อและวิธีการศึกษาทางไกล
สื่อนับว่าเป็นหัวใจของการจัดการเรียนการสอนในการศึกษาทางไกล เพราะการถ่ายทอด ความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ จากผู้สอนไปยังผู้เรียนนั้น จะอาศัยสื่อประเภทต่าง ๆ ผู้เรียนหรือนักศึกษาจะเรียนด้วยตนเองอยู่ที่บ้านโดยอาศัยสื่อการสอนประเภทต่าง ๆ
          การเลือกหรือจัดสื่อเพื่อใช้ในการศึกษาทางไกลไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดก็ตาม จะต้องคำนึง ถึงหลักจิตวิทยาที่ว่า ถ้าผู้เรียนจะต้องมีปฏิสัมพันธ์อยู่กับสื่อชนิดเดียวนาน ๆ อาจเกิดความเบื่อหน่วย ได้ และอาจทำให้ผู้เรียนท้อถอยหมดกำลังใจในการเรียนรู้ ดังนั้นสื่อที่ใช้ควรเป็นสื่อที่หลากหลาย และเป็นสื่อที่มีการเสริมแรงให้กำลังใจผู้เรียน ซึ่งการใช้สื่อแบบนี้เรียกว่าสื่อประสม คือมีสื่อหนึ่งเป็นสื่อหลักและมีสื่อชนิดอื่นเป็นสื่อเสริม ทั้งนี้เนื่องจากสื่อแต่ละตัวมีทั้งข้อดีและข้อจำกัด การศึกษา จากสื่อเพียงตัวเดียวจะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ไม่สมบูรณ์จึงควรอาศัยสื่อชนิดอื่นประกอบเพื่อเสริมความรู้สื่อที่ใช้ในการศึกษาทางไกลนี้แยกได้เป็น

          1. สื่อหลัก คือสื่อที่ผู้เรียนสามารถใช้ศึกษาได้ด้วยตนเองตลอดเวลาและทุกสถานที่ สื่อหลัก ส่วนมากจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น ตำรา เอกสารคำสอน หรือคู่มือเรียน โดยผู้เรียนสามารถใช้สื่อเหล่านี้เป็นหลักในการเรียนวิชานั้น ๆ และมีโอกาสพลาดจากการเรียนได้น้อยมาก เพราะผู้เรียนมีสื่อหลักนี้อยู่กับตัวแล้ว

          2. สื่อเสริม คือ สื่อที่จะช่วยเก็บตก ต่อเติมความรู้ให้แก่ผู้เรียนให้มีความรู้กระจ่างสมบูรณ์ขึ้น หรือหากในกรณีที่ผู้เรียนศึกษาจากสื่อหลักแล้วยังไม่จุใจพอ หรือยังไม่เข้าใจได้ชัดเจนมีปัญหาอยู่ก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อเสริมได้ สื่อประเภทนี้จะอยู่ในรูปแบบของเทปสรุปบทเรียน วิทยุ เอกสารเสริม การสอนเสริมหรือการพบกลุ่ม เป็นต้น ในส่วนของวิธีการเรียนการสอนทางไกลนั้นนอก จากผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเองจากสื่อประเภทต่าง ๆ ทั้งสื่อหลักและสื่อเสริมแล้ว สถาบันการศึกษา ทางไกลในปัจจุบันจำนวนมากได้ใช้สื่อวิธีการต่าง ๆ เป็นสื่อเสริมอีกด้วย เช่น กระบวนการกลุ่ม การ สาธิต การทดลอง สถานการณ์จำลอง การศึกษารายกรณี ฯลฯ