หลักการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
เรื่อง
หลักการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
1.การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์โดยใช้ทฤษฎีลำดับความต้องการ ของอับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นการบริหารที่มีเป้าหมายชัดเจนด้วยการเข้าถึงควรต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน ล้วนแล้วแต่มีความคาดหวังต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นลำดับความต้องการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารสถานต้องเข้าใจทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการเป็นอย่างดี โดยสมติฐานพฤติกรรมของคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในสถานศึกษาไว้ 3 ประการ ได้แก่
ประการที่ 1 คนมีความต้องการ ไม่มีที่สิ้นสุด
ประการที่ 2 ความต้องการของคนจะถูกเรียงลำดับความสำคัญ
ประการที่ 3 คนที่จะก้าวไปสู่ความต้องการระดับต่อไป เมื่อความต้องการในระดับต่ำลงมาได้รับการตอบสนองอย่างดีแล้วเท่านั้น
อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) ได้แบ่งลำดับความต้องการของมนุษย์ไว้ 5 ลำดับ ดังนี้
ลำดับที่่ 1 ความต้องการทางกาย
ลำดับที่ 2 ความต้องการความปลอดภัย
ลำดับที่ 3 ความต้องการการยอมรับในสังคม
ลำดับที่ 4 ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง
ลำดับที่ 5 ความต้องการความสำเร็จในชีวิต
การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์โดยใช้ทฤษฎีลำดับความต้องการนั้นต้องมีการตอบสนองให้คนได้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ โดยผู้บริหารต้องมีกุศโลบายที่แนบเนียนและแยบยลพอสมควรที่จะทำให้คนได้ทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มศักยาภาพ เพื่อให้สถานศึกษามีผลสัมฤทธิ์ที่ดี่เยี่ยม ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการประยุกต์ใช้ดังนี้
1.1 มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการทางกาย การสนองตอบความต้องการทางกายนั้น ซึ่งจะดำเนินการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในสถานศึกษาให้น่าอยู่ สร้างบรรยาศที่เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น สร้างสวนย่อมในที่ที่เหมาะสม ทำสนามฟุตบอลให้น่าเล่น พัฒนาสถานที่พักผ่อนให้ผู้เรียนและครูได้มีโอกาสได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติมจากในห้องเรียน จัดสถานที่รับประทานอาหารและน้ำดื่มที่สะอาดถูกสุขอนามัย จัดห้องพักครูที่มีมุมคลายเครียด มีน้ำดื่ม น้ำชา กาแฟ ไว้บริการสำหรับครูและผู้มาติดต่อราชการอย่างเพียงพอ จัดมุมความรู้ทุกที่ในโรงเรียนส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของผู้เรียนและครู ปรับปรุงห้องน้ำของผู้เรียนและครูให้เพียงพอ สะอาดถูกสุขลักษณะ จัดให้มีห้องพยาบาลสำหรับผู้เรียนและครู จัดให้มีสื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการเรียนรู้โลกไร้พรมแดนที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้เรียน ครู และผู้มาใช้บริการอย่างเพียงพอ
1.2 มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการความปลอดภัย สิ่งสำคัญที่จะให้สถานศึกษาน่าอยู่คือการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารสถานที่ให้มั่นคงแข็งแรงปลอดภัยอยู่เสมอ ปรับปรุงภูมิทัศน์ ตรวจสอบสายไฟฟ้าภายในสถานศึกษา จัดให้มีถึงดับเพลิงไว้หลายๆ จุด พร้อมทั้งตรวจสภาพถังดับเพลิงให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา จัดให้มีที่จอดรถสำหรับครู และนักเรียน ตลอดจนผู้ที่มาติดต่อราชการ ปรับปรุงบ้านพักครูให้น่าอยู่และปลอดภัย จัดให้มียามรักษาการณ์ภายสถานศึกษาทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ติดต้องวงจรปิดภายในสถานศึกษาเพื่อป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น สร้างรั้วรอบโรงเรียน ติดไฟส่องสว่างในเวลากลางคืนให้คุ้มค่าและปลอดภัย มีการทำประกันภัยหมู่สำหรับผู้เรียน และครูทุกคน จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับครูและนักเรียน
1.3 มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการการยอมรับในสังคม จัดให้มีกิจกรรมสานสัมพันธ์ของคณะครู ผู้บริหาร นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน เช่น กิจกรรมกีฬาสีสัมพันธ์ ร่วมกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น เป็นต้น ส่งเสริมให้ครูได้ถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน หรือต่างหน่วยงาน โดยการเป็นวิทยากร ส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนให้เข้าร่วมแข่งขันทักษะความสามารถต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะทางวิชาการ กีฬา ดนตรี หรือความสามารถพิเศษอื่นใดในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ อีกทั้งสร้างวัฒนธรรมการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสถานศึกษา เช่น การเยี่ยมบ้านผู้เรียน การเยี่ยมเยียนเมื่อเจ็บป่วย การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมต่างๆ เป็นต้น สร้างวัฒนธรรมการมีสัมมาคารวะ กาลเทศะ
1.4 มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง ส่งเสริมให้ครูได้เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ความสามารถของตนเอง ส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนให้เข้าร่วมแข่งขันทักษะความสามารถต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะทางวิชาการ กีฬา ดนตรี หรือความสามารถพิเศษอื่นใดในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ พร้อมทั้งมีเวทีสำหรับการยกย่องชมเชยความดีงานของครูและผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในเกณฑ์ดีเยี่ยม ส่งเสริมให้ครูขอและมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น พิจารณาความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษสำหรับครูผู้มีผลงานที่สร้างเกียรติชื่อเสียงให้กับโรงเรียนและครูผู้เสียสละทุ่มเทประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเพื่อนครูและผู้เรียน
1.5 มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการความสำเร็จในชีวิต ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนต่อระดับที่สูงขึ้นให้ครบทุกคน ส่งเสริมให้ครูขอและมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่น่าอยู่อย่างมีความสุข มีการให้ความรู้สำหรับครูก่อนวัยเกษียณ มีการแนะแนวทางการศึกษาต่อสำหรับผู้เรียน มีทุนการศึกษาให้ผู้เรียนที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยมและมีความประพฤติดี
เมื่อสนองความต้องการให้กับคนได้อย่างครบถ้วนแล้วพวกเขาก็จะดึงศักยภาพของตนเองออกมาแสดงอย่างเต็มที่ การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์นั้นก็จะเป็นมรรคเป็นผลอย่างแท้จริงและยั่งยืนสืบไปอย่างแน่นอน แต่ผู้บริหารอย่าลืมไปว่า “ความต้องการของคนไม่มีที่สิ้นสุด”
2. การบริหารที่ยืดหยุ่นโดยใช้ทฤษฎีใบพัดองค์การ (POCCC) ของอองรี ฟาร์โยล์ (Henri Fayol) ซึ่งเป็นการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการประยุกต์ใช้ทฤษฎีดังนี้
2.1 ประสิทธิภาพจากการวางแผน (P-Planning) ผู้บริหารจะต้องมีการวางแผนที่ดีด้วยแผนกลยุทธ์ นโยบาย แผนงาน โครงการ ที่ชัดเจนเข้าใจง่าย โดยการวางแผนนั้นต้องมีแนวปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษา และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วย ซึ่งจะเป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งต้องสามารถปรับปรุงยืดหยุ่นให้สอดรับกับนโยบายของรัฐและต้นสังกัด ทันกับสถานการณ์ของโลกปัจจุบันให้เป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ของสถานศึกษา
2.2 ประสิทธิภาพจากการจัดองค์กร (O-Organizing) การจัดองค์กรถือเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าสิ่งใดเลย ผู้บริหารต้องมีการจัดโครงสร้างของสถานศกึษาอย่างชัดเจน ตามสายงาน จัดบุคคลากรตามสายบังคับบัญชา พร้อมทั้งแบ่งหน้าที่ของฝ่ายงานอย่างถูกต้อง เป็นระบบงาน อันได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป และแต่ละฝ่ายงานต้องมีทีมงานในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ที่ได้วางเอาไว้
2.3 ประสิทธิภาพจากการบังคับบัญชา (C-Commanding) หลังจากการจัดองค์กรแล้วผู้บริหารก็ต้องมีการบังคับบัญชาตามตำแหน่งหน้าที่ได้รับมอบหมาย มีการตัดสินใจสั่งการที่เป็นกัลยาณมิตร ผู้บริหารต้องมีการสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบังคับบัญชาดูแลตรวจสอบและติดตามการสั่งการในแต่ละงาน
2.4 ประสิทธิภาพจากการประสานงาน (C-Coordinating) ผู้บริหารจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือการประสานงานทั้งภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ดังนั้นผู้บริหารต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสื่อสารเพื่อประสานงานต่างๆ ด้วยความนุ่มนวล แนบเนียน หนักแน่น และแน่นอน ให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา ทั้งรูปแบบของคณะกรรมการสถานศึกษา และสมาคมผู้ปกครองและครู
2.5 ประสิทธิภาพจากการควบคุม (C-Controlling) การบริหารสถานศึกษานั้น ผู้บริหารสถานศึกษาต้องจำเป็นต้องมีการควบคุม ดูแล ทรัพยากรทางการศึกษาที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า อันได้แก่ บุคลากร งบประมาณ เครื่องมือ การจัดการ เวลา และเทคโนโลยี ซึ่งต้องมีควบคุมติดตามทุกฝ่ายงานด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง
การบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพด้วยทฤษฎีใบพัดองค์การ (POCCC) นั้นสามารถใช้ได้ทุกยุกต์ทุกสมัย และเหมาะกับการบริหารการศึกษาที่ต้องคำนึงถึงคุณภาพของผลผลิต นั่นคือ ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป
3.การบริหารให้เกิดประสิทธิผลเชิงวิทยาศาสตร์ ของเฟรเดอริค เทเลอ (Frederick W. Taylor) เป็นการบริหารแนวใหม่ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการที่ส่งเสริมวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กรซึ่งได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้นจะมีทั้งเหตุและผลมาอธิบายสมมติฐานที่วางเอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการประยุกต์ใช้ทฤษฎีดังนี้
3.1 ประสิทธิผลจากการพัฒนาการวิเคราะห์งานเชิงวิทยาศาสตร์ จะต้องวางแผนกลยุทธ์สถานศึกษาตามนโยบายที่รัฐกำหนดให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เพื่อจัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิผลจากการพัฒนาการวิเคราะห์งานเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบของแต่ละงานใน 4 งาน โดยการทำ SWOT Analysis อันได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไปว่าแต่ละงานต้องมีขอบเขตงานอย่างไร มีโครงสร้างอย่างไร มีวิธีการดำเนินการอย่างไร และผลผลิตเป็นอย่างไร ต้องกำหนดให้ชัดเจนเป็นกลยุทธ์ แผนงาน โครงการ ที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.2 ประสิทธิผลจากการคัดเลือก การฝึกอบรม และการพัฒนาครูในเชิงวิทยาศาสตร์ จะต้องคัดเลือกให้ครูได้ปฏิบัติหน้าที่ตามความสมัครใจและความสามารถของตนเองอย่างเต็มศักยภาพ พัฒนาครูให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างเต็มที่ด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขั้นหรือการฝึกอบรมความรู้และทักษะที่สามารถเพิ่มพูนศักยภาพของครูให้สูงขึ้น ให้ครูสามารถพัฒนาตนเองเพื่อเปลี่ยตำแหน่งงานของตนส่งเสริมให้ครูได้ถ่ายทอดวิทยาการภายในสถานศึกษาและภายนอก พร้อมทั้งสนับสนุนให้ครูมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น ให้ครูได้แสดงศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพที่สูงขึ้นตามไปด้วยจึงถือได้ว่าการบริหารสถานศึกษาเกิดประสิทธิผล
3.3 ประสิทธิผลจากความร่วมมือที่ใกล้ชิดของครูและผู้บริหาร จะต้องบริหารจัดการสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิผลจากความร่วมมือแบบกัลยาณมิตรด้วยการทำงานเป็นทีม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ต้องใช้มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน ครูทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาแบบบูรณาการ แบ่งเค้กตามสัดส่วนของคนด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อย่างยุติธรรมปราศจากอคติ
3.4 ประสิทธิผลจากการแจกแจงงานและความรับผิดชอบที่เป็นรูปแบบเดียวกัน จะต้องจัดทำโครงสร้างฝ่ายงานที่ชัดเจน มีขอบเขตภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจนและเหมาะกับตนเองมากที่สุดทั้ง 4 งาน อันได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป ให้เป็นรูปแบบการสั่งการเดียวกันและเท่าเทียมกันตามภารกิจของแต่ละฝ่ายงาน พร้อมทั้งจัดคนเข้าทำงานในแต่ละตำแหน่งอย่างเหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล และจะไม่ใช่อำนาจโดยพลการต้องผ่านมติของที่ประชุมทุกครั้งไป
1.การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์โดยใช้ทฤษฎีลำดับความต้องการ ของอับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นการบริหารที่มีเป้าหมายชัดเจนด้วยการเข้าถึงควรต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน ล้วนแล้วแต่มีความคาดหวังต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นลำดับความต้องการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารสถานต้องเข้าใจทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการเป็นอย่างดี โดยสมติฐานพฤติกรรมของคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในสถานศึกษาไว้ 3 ประการ ได้แก่
ประการที่ 1 คนมีความต้องการ ไม่มีที่สิ้นสุด
ประการที่ 2 ความต้องการของคนจะถูกเรียงลำดับความสำคัญ
ประการที่ 3 คนที่จะก้าวไปสู่ความต้องการระดับต่อไป เมื่อความต้องการในระดับต่ำลงมาได้รับการตอบสนองอย่างดีแล้วเท่านั้น
อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) ได้แบ่งลำดับความต้องการของมนุษย์ไว้ 5 ลำดับ ดังนี้
ลำดับที่่ 1 ความต้องการทางกาย
ลำดับที่ 2 ความต้องการความปลอดภัย
ลำดับที่ 3 ความต้องการการยอมรับในสังคม
ลำดับที่ 4 ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง
ลำดับที่ 5 ความต้องการความสำเร็จในชีวิต
การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์โดยใช้ทฤษฎีลำดับความต้องการนั้นต้องมีการตอบสนองให้คนได้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ โดยผู้บริหารต้องมีกุศโลบายที่แนบเนียนและแยบยลพอสมควรที่จะทำให้คนได้ทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มศักยาภาพ เพื่อให้สถานศึกษามีผลสัมฤทธิ์ที่ดี่เยี่ยม ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการประยุกต์ใช้ดังนี้
1.1 มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการทางกาย การสนองตอบความต้องการทางกายนั้น ซึ่งจะดำเนินการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในสถานศึกษาให้น่าอยู่ สร้างบรรยาศที่เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น สร้างสวนย่อมในที่ที่เหมาะสม ทำสนามฟุตบอลให้น่าเล่น พัฒนาสถานที่พักผ่อนให้ผู้เรียนและครูได้มีโอกาสได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติมจากในห้องเรียน จัดสถานที่รับประทานอาหารและน้ำดื่มที่สะอาดถูกสุขอนามัย จัดห้องพักครูที่มีมุมคลายเครียด มีน้ำดื่ม น้ำชา กาแฟ ไว้บริการสำหรับครูและผู้มาติดต่อราชการอย่างเพียงพอ จัดมุมความรู้ทุกที่ในโรงเรียนส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของผู้เรียนและครู ปรับปรุงห้องน้ำของผู้เรียนและครูให้เพียงพอ สะอาดถูกสุขลักษณะ จัดให้มีห้องพยาบาลสำหรับผู้เรียนและครู จัดให้มีสื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการเรียนรู้โลกไร้พรมแดนที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้เรียน ครู และผู้มาใช้บริการอย่างเพียงพอ
1.2 มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการความปลอดภัย สิ่งสำคัญที่จะให้สถานศึกษาน่าอยู่คือการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารสถานที่ให้มั่นคงแข็งแรงปลอดภัยอยู่เสมอ ปรับปรุงภูมิทัศน์ ตรวจสอบสายไฟฟ้าภายในสถานศึกษา จัดให้มีถึงดับเพลิงไว้หลายๆ จุด พร้อมทั้งตรวจสภาพถังดับเพลิงให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา จัดให้มีที่จอดรถสำหรับครู และนักเรียน ตลอดจนผู้ที่มาติดต่อราชการ ปรับปรุงบ้านพักครูให้น่าอยู่และปลอดภัย จัดให้มียามรักษาการณ์ภายสถานศึกษาทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ติดต้องวงจรปิดภายในสถานศึกษาเพื่อป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น สร้างรั้วรอบโรงเรียน ติดไฟส่องสว่างในเวลากลางคืนให้คุ้มค่าและปลอดภัย มีการทำประกันภัยหมู่สำหรับผู้เรียน และครูทุกคน จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับครูและนักเรียน
1.3 มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการการยอมรับในสังคม จัดให้มีกิจกรรมสานสัมพันธ์ของคณะครู ผู้บริหาร นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน เช่น กิจกรรมกีฬาสีสัมพันธ์ ร่วมกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น เป็นต้น ส่งเสริมให้ครูได้ถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน หรือต่างหน่วยงาน โดยการเป็นวิทยากร ส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนให้เข้าร่วมแข่งขันทักษะความสามารถต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะทางวิชาการ กีฬา ดนตรี หรือความสามารถพิเศษอื่นใดในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ อีกทั้งสร้างวัฒนธรรมการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสถานศึกษา เช่น การเยี่ยมบ้านผู้เรียน การเยี่ยมเยียนเมื่อเจ็บป่วย การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมต่างๆ เป็นต้น สร้างวัฒนธรรมการมีสัมมาคารวะ กาลเทศะ
1.4 มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง ส่งเสริมให้ครูได้เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ความสามารถของตนเอง ส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนให้เข้าร่วมแข่งขันทักษะความสามารถต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะทางวิชาการ กีฬา ดนตรี หรือความสามารถพิเศษอื่นใดในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ พร้อมทั้งมีเวทีสำหรับการยกย่องชมเชยความดีงานของครูและผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในเกณฑ์ดีเยี่ยม ส่งเสริมให้ครูขอและมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น พิจารณาความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษสำหรับครูผู้มีผลงานที่สร้างเกียรติชื่อเสียงให้กับโรงเรียนและครูผู้เสียสละทุ่มเทประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเพื่อนครูและผู้เรียน
1.5 มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการตอบสนองความต้องการความสำเร็จในชีวิต ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนต่อระดับที่สูงขึ้นให้ครบทุกคน ส่งเสริมให้ครูขอและมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่น่าอยู่อย่างมีความสุข มีการให้ความรู้สำหรับครูก่อนวัยเกษียณ มีการแนะแนวทางการศึกษาต่อสำหรับผู้เรียน มีทุนการศึกษาให้ผู้เรียนที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยมและมีความประพฤติดี
เมื่อสนองความต้องการให้กับคนได้อย่างครบถ้วนแล้วพวกเขาก็จะดึงศักยภาพของตนเองออกมาแสดงอย่างเต็มที่ การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์นั้นก็จะเป็นมรรคเป็นผลอย่างแท้จริงและยั่งยืนสืบไปอย่างแน่นอน แต่ผู้บริหารอย่าลืมไปว่า “ความต้องการของคนไม่มีที่สิ้นสุด”
2. การบริหารที่ยืดหยุ่นโดยใช้ทฤษฎีใบพัดองค์การ (POCCC) ของอองรี ฟาร์โยล์ (Henri Fayol) ซึ่งเป็นการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการประยุกต์ใช้ทฤษฎีดังนี้
2.1 ประสิทธิภาพจากการวางแผน (P-Planning) ผู้บริหารจะต้องมีการวางแผนที่ดีด้วยแผนกลยุทธ์ นโยบาย แผนงาน โครงการ ที่ชัดเจนเข้าใจง่าย โดยการวางแผนนั้นต้องมีแนวปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษา และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วย ซึ่งจะเป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งต้องสามารถปรับปรุงยืดหยุ่นให้สอดรับกับนโยบายของรัฐและต้นสังกัด ทันกับสถานการณ์ของโลกปัจจุบันให้เป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ของสถานศึกษา
2.2 ประสิทธิภาพจากการจัดองค์กร (O-Organizing) การจัดองค์กรถือเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าสิ่งใดเลย ผู้บริหารต้องมีการจัดโครงสร้างของสถานศกึษาอย่างชัดเจน ตามสายงาน จัดบุคคลากรตามสายบังคับบัญชา พร้อมทั้งแบ่งหน้าที่ของฝ่ายงานอย่างถูกต้อง เป็นระบบงาน อันได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป และแต่ละฝ่ายงานต้องมีทีมงานในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ที่ได้วางเอาไว้
2.3 ประสิทธิภาพจากการบังคับบัญชา (C-Commanding) หลังจากการจัดองค์กรแล้วผู้บริหารก็ต้องมีการบังคับบัญชาตามตำแหน่งหน้าที่ได้รับมอบหมาย มีการตัดสินใจสั่งการที่เป็นกัลยาณมิตร ผู้บริหารต้องมีการสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบังคับบัญชาดูแลตรวจสอบและติดตามการสั่งการในแต่ละงาน
2.4 ประสิทธิภาพจากการประสานงาน (C-Coordinating) ผู้บริหารจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือการประสานงานทั้งภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ดังนั้นผู้บริหารต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสื่อสารเพื่อประสานงานต่างๆ ด้วยความนุ่มนวล แนบเนียน หนักแน่น และแน่นอน ให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา ทั้งรูปแบบของคณะกรรมการสถานศึกษา และสมาคมผู้ปกครองและครู
2.5 ประสิทธิภาพจากการควบคุม (C-Controlling) การบริหารสถานศึกษานั้น ผู้บริหารสถานศึกษาต้องจำเป็นต้องมีการควบคุม ดูแล ทรัพยากรทางการศึกษาที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า อันได้แก่ บุคลากร งบประมาณ เครื่องมือ การจัดการ เวลา และเทคโนโลยี ซึ่งต้องมีควบคุมติดตามทุกฝ่ายงานด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง
การบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพด้วยทฤษฎีใบพัดองค์การ (POCCC) นั้นสามารถใช้ได้ทุกยุกต์ทุกสมัย และเหมาะกับการบริหารการศึกษาที่ต้องคำนึงถึงคุณภาพของผลผลิต นั่นคือ ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป
3.การบริหารให้เกิดประสิทธิผลเชิงวิทยาศาสตร์ ของเฟรเดอริค เทเลอ (Frederick W. Taylor) เป็นการบริหารแนวใหม่ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการที่ส่งเสริมวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กรซึ่งได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้นจะมีทั้งเหตุและผลมาอธิบายสมมติฐานที่วางเอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการประยุกต์ใช้ทฤษฎีดังนี้
3.1 ประสิทธิผลจากการพัฒนาการวิเคราะห์งานเชิงวิทยาศาสตร์ จะต้องวางแผนกลยุทธ์สถานศึกษาตามนโยบายที่รัฐกำหนดให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เพื่อจัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิผลจากการพัฒนาการวิเคราะห์งานเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบของแต่ละงานใน 4 งาน โดยการทำ SWOT Analysis อันได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไปว่าแต่ละงานต้องมีขอบเขตงานอย่างไร มีโครงสร้างอย่างไร มีวิธีการดำเนินการอย่างไร และผลผลิตเป็นอย่างไร ต้องกำหนดให้ชัดเจนเป็นกลยุทธ์ แผนงาน โครงการ ที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.2 ประสิทธิผลจากการคัดเลือก การฝึกอบรม และการพัฒนาครูในเชิงวิทยาศาสตร์ จะต้องคัดเลือกให้ครูได้ปฏิบัติหน้าที่ตามความสมัครใจและความสามารถของตนเองอย่างเต็มศักยภาพ พัฒนาครูให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างเต็มที่ด้วยการศึกษาต่อในระดับที่สูงขั้นหรือการฝึกอบรมความรู้และทักษะที่สามารถเพิ่มพูนศักยภาพของครูให้สูงขึ้น ให้ครูสามารถพัฒนาตนเองเพื่อเปลี่ยตำแหน่งงานของตนส่งเสริมให้ครูได้ถ่ายทอดวิทยาการภายในสถานศึกษาและภายนอก พร้อมทั้งสนับสนุนให้ครูมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น ให้ครูได้แสดงศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพที่สูงขึ้นตามไปด้วยจึงถือได้ว่าการบริหารสถานศึกษาเกิดประสิทธิผล
3.3 ประสิทธิผลจากความร่วมมือที่ใกล้ชิดของครูและผู้บริหาร จะต้องบริหารจัดการสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิผลจากความร่วมมือแบบกัลยาณมิตรด้วยการทำงานเป็นทีม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ต้องใช้มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน ครูทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาแบบบูรณาการ แบ่งเค้กตามสัดส่วนของคนด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อย่างยุติธรรมปราศจากอคติ
3.4 ประสิทธิผลจากการแจกแจงงานและความรับผิดชอบที่เป็นรูปแบบเดียวกัน จะต้องจัดทำโครงสร้างฝ่ายงานที่ชัดเจน มีขอบเขตภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจนและเหมาะกับตนเองมากที่สุดทั้ง 4 งาน อันได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป ให้เป็นรูปแบบการสั่งการเดียวกันและเท่าเทียมกันตามภารกิจของแต่ละฝ่ายงาน พร้อมทั้งจัดคนเข้าทำงานในแต่ละตำแหน่งอย่างเหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล และจะไม่ใช่อำนาจโดยพลการต้องผ่านมติของที่ประชุมทุกครั้งไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น