นวัตกรรมการพัฒนาคุณลักษณ์ที่ดี
การพัฒนานวัตกรรมคุณลักษณ์ศึกษาซึ่งสามารถจำแนกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
1.
นวัตกรรมหลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated
Curriculum Innovation) การจัด กิจกรรมบูรณาการแบบเน้นคุณธรรม (moral-focused
activity) โดยการสอดแทรกการพัฒนาคุณธรรมระหว่างการพัฒนาทักษะ
ความสมารถของนักเรียนตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดในหลักสูตร
2.
นวัตกรรมกระแสนิยม (In
Trend Innovation) การจัดกิจกรรมใช้การสร้างกระแส
หรือการนำค่านิยมที่เกิดขึ้นตามกระแสในช่วงนั้นมาใช้เป็นสื่อในการออกแบบกิจกรรมเพื่อดึงความสนใจของนักเรียน
หรือการกำหนดกิจกรรมที่มีลักษณะการแข่งขัน
เพื่อลดช่องว่างระหว่างสถานภาพของบุคคลหรือชนชั้น
3. นวัตกรรมขบวนการบูรณาการ (Integrated Process Innovation) การจัดกิจกรรมที่มี
การบูรณาการกระบวนการดำเนินงานของนักเรียนในกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ
มิใช่จัดกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งแล้วหยุด
แล้วเริ่มทำกิจกรรมอื่นต่อไปไม่สัมพันธ์กับกิจกรรมเดิม
4.
นวัตกรรมเริ่มจากนักเรียนร้อยแปดแบบ (108 Student Initiations Innovation) การ
จัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนเป็นผู้คิดริเริ่มและออกแบบกิจกรรม
เพื่อให้ได้กิจกรรมและการขยายผลที่นำไปสู่การพัฒนาคุณลักษณ์
5.
นวัตกรรมที่ทำให้เข้าระบบสถาบัน (Institutionalized Innovation) การจัดกิจกรรมที่
กำหนดเป้าหมายของการดำเนินงานในระดับสูง
และทำให้เป็นภารกิจปกติของโรงเรียนโดยกำหนดเป็นแผนงานหลัก
6.
นวัตกรรมอิงการเรียนรู้จากการบริหาร (Service Learning-Based Innovation) การจัด
กิจกรรมที่จัดโอกาสให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการทำงานที่เป็นการให้บริการแก่สังคม
7.
นวัตกรรมการประชุม (Forum
Innovation) การจัดกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนเกิดการ
เรียนรู้ผ่านการประชุมในรูปแบบของสมัชชาหรือการเสวนา
เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน
8.
นวัตกรรมคุณค่าเพื่อชีวิต (Living
Values Innovation) การจัดกิจกรรมโดยใช้แนวคิด “คุณค่าเพื่อชีวิต”
ซึ่งพัฒนาโดยนักวิชาการชาวตะวันตก
บนพื้นฐานแนวคิดของการพัฒนาจิตใจของนักเรียนให้มีความสงบ
และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า
9.
นวัตกรรมที่เป็นนิสัยประจำ (Routine
Habit Innovation) การจัดกิจกรรมโดยครูเป็น ผู้กำหนดคุณลักษณ์ที่จำเป็นต้องพัฒนาในตัวนักเรียนและฝึกปฏิบัติเป็นนิสัยในชีวิตประจำวัน
10. นวัตกรรมการพัฒนาตนเอง (Self-Development Innovation) การจัดกิจกรรมโดยการ ฝึกให้นักเรียนรู้จักประเมินตนเอง
และมีการพัฒนาตนเองในรูปแบบต่างๆ เช่น กิจกรรมการเผากิเลส ให้นักเรียนเขียนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ตนเองได้ปฏิบัติบนกระดาษ
11.
นวัตกรรมการประยุกต์ในโลกแห่งความเป็นจริง (Real World Application Innovation) การจัดกิจกรรมโดยการนำพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงมาใช้กับการแสดงพฤติกรรมในโรงเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น