วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ตรวจสอบและทบทวน


ตรวจสอบและทบทวน (Review and Reflect on your learning)

ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล ปฏิบัติการเขียนแผน จัดการเรียนรู้ด้วยเขียนแผนการสอนตามรูปแบบ the STUDIES Model ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้อง กับสาขาวิชาเอกที่เรียน โดยกําหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้และจัดหาหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ประกอบบทเรียน
การออกแบบที่เป็นสากลในการเรียนการสอน (Universal Design for Instruction :UDI)
การนําแนวคิด UD มาใช้โดยเป็นการประยุกต์เพื่อการตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนที่มี ความต้องหลากหลาย โดยมีหลักการว่า UD นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจว่า ผู้เรียนแต่ละคนมี ลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน และมีความต้องการที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งการนํา UD ไปใช้ในการศึกษากเพื่อ สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนในแต่ละคน และส่งเสริมให้ ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองได้เต็มที่ตามศักยภาพ (Eagleton, 2008)
Scott, Shaw and McGuire (2001) ได้เสนอหลักการในการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล ไว้ 9 ประการ ในการออกแบบการสอนที่เป็นสากล (Universal Design of Instruction หรือ UDI) ได้รับการ พัฒนามาจากการศึกษาค้นคว้างานเขียนและงานวิจัยเกี่ยวกับหลักการในการออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design หรือUD) และการเรียนการสอนที่มีประสิทธิผลเพื่อเป็นบรรทัดฐานให้ครูผู้สอนใช้ในการครุ่นคิด ไตร่ตรอง โดยนําไปใช้ได้หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบหลักสูตรใหม่ ๆ หรือใช้เพื่อพิจารณาการ สิ่งที่ทําอยู่แล้ว ณ ปัจจุบันก็ได้ แล้วแต่ความจําเป็นของผู้สอนแต่ละท่าน หลักการทั้ง 9 ประการนี้จะแสดงให้ เห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับการสอน หรือเป็นแนวทางในการสอน ไม่ว่าจะเป็นการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน หรือการขยายประสบการณ์การเรียนรู้ หรือการพิจารณาว่าจะสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เหมาะสมกับเด็ก ทุกคนได้อย่างไร ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้สอนจะใช้หลักการทุกข้อกับการเรียนการสอนทุกด้านพร้อม ๆ กันได้ แต่เมื่อดูชั้นเรียนโดยองค์รวม จะพบว่าหลักการแต่ละข้อจะเข้ามามีบทบาท หลักการทั้งหมดนี้มี ประโยชน์สําหรับผู้สอนทุกท่าน ไม่เว้นแม้แต่ผู้มีประสบการณ์ชําชองจากสาขาวิชาต่าง ๆ และมีประโยชน์ สูงสุดสําหรับผู้สอนมือใหม่หรือครูผู้ช่วยสอนที่ต้องการคําแนะนําและแนวทางในการสอน
Scot, Shaw and McGuire (2003 : 369 - 379) ได้นําเสนอหลักการในการออกแบบการเรียนการ สอนที่เป็นสากลไว้ 9 ประการ ดังนี้
   1. ความเสมอภาคในการใช้งาน (EQUITABLE USE)
เป็นการออกแบบเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้สําหรับคนทุกคน ข้อมูลและอุปกรณ์ต้องใช้ งานได้อย่างราบรื่นโดยกลุ่มนักเรียนที่เยอะขึ้นและมีความหลากหลายมากขึ้น หมายถึงการใช้อุปกรณ์การ เรียนการสอนที่เหมือนกัน "เมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้ และใช้อุปกรณ์ที่เทียบเท่าเมื่อใช้อุปกรณ์ที่เหมือนกัน ไม่ได้" ตัวอย่างเช่นข้อความดิจิทัลในรูปแบบที่ใช้ได้กับซอฟต์แวร์อ่านข้อความหลาย ๆ ชนิด และมีลิงก์ เชื่อมโยงไปยังข้อมูลเบื้องหลังสําหรับนักเรียนทุกคน
   2. ความยืดหยุ่นในการใช้ (FLEXIBILITY IN USE)
เป็นการออกแบบที่ทําให้ผู้เรียนแต่ละคนที่มีความหลากหลายได้ใช้ได้เช่นเดียวกัน ต้องมี ตัวเลือกหากผู้เรียนต้องการฟังเนื้อหาต้องทําได้ หรือจะพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารที่จับต้องได้ก็ต้องทําได้ และยังต้องปรับขนาดและความคมชัดของตัวอักษรได้เพื่อประโยชน์ต่อผู้เรียนที่มีปัญหาด้านสายตา ผู้สอนควร จัดเตรียมวิธีการสอนที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้เกี่ยวกันในหลายรูปแบบ
   3. ง่ายและเป็นธรรมชาติ (SIMPLE AND INTUITIVE)
เป็นการออกแบบที่ทําให้ผลิตภัณฑ์นั้นใช้งานง่าย สิ่งสําคัญในการเรียนรู้คือความเข้าใจเนื้อหาที่ เรียน ไม่ใช่วิธีในการทําความเข้าใจ (วิธี ไม่สําคัญ สําคัญคือเข้าใจ) เมื่อผู้สอนจะนําหลักการนี้ไปใช้จึงต้องใช้ ตารางคะแนนช่วย (ในตารางจะเขียนว่าต้องเข้าใจอะไรอย่างไร)
   4. สารสนเทศที่ช่วยให้รับรู้ได้ (PERCEPTIBLE INFORMATION)
เป็นการออกแบบที่ทําให้ผู้เรียนแต่ละคนเข้าถึงข้อมูลได้เหมือนกัน ข้อมูลสารสนเทศความรู้จะ ถูกนําเสนอแก่ผู้เรียนในลักษณะที่สามารถเข้าถึงได้ (ตัวอย่างเช่นเมื่อพูดถึงกราฟิกจะมีการอธิบาย หรือใช้ แท็กสําหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสายตา ส่วนคําบรรยายมีไว้สําหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการได้ยิน และเอกสารการอ่านทั้งหมดจะมีให้ในรูปแบบดิจิทัลที่เข้าถึงได้)
   5. การยอมรับว่าจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น (TOLERANCE FOR ERROR)
เป็นการออกแบบที่คํานึงความปลอดภัยของผู้เรียน (ในฐานะใช้) ผู้สอนต้องเข้าใจว่าผู้เรียนมี ประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และมีแหล่งเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ผลก็คือประสิทธิภาพของการสอนก็ย่อมแปรผัน ไปเช่นเดียวกัน ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนแบ่งโครงงานใหญ่ ๆ ออกเป็นส่วนเล็ก ๆ มาส่งก่อน เพื่อจะได้นํา ข้อเสนอจากผู้สอนไปปรับปรุงโครงงานโดยรวม
   6. ความสามารถทางกายภาพที่ต่ํา (LOW PHYSICAL EFFORT)
เป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้มีความเมื่อยล้าในการใช้น้อยที่สุด เมื่อความพยายามทางกายภาพ ไม่ได้เป็นส่วนสําคัญของหลักสูตรายวิชา ความพยายามทางกายภาพควรจะขจัดให้หายไปเพื่อที่ผู้เรียนจะ "เพิ่มความสนใจในการเรียนรู้" ดังนั้นการลดอุปสรรคการเรียนรู้ในทางกายภาพก็เป็นดีในการเรียนรู้สําหรับ ผู้เรียนบางคน
   7. ขนาดและพื้นที่สําหรับการประยุกต์ใช้และการใช้ (SIZE AND SPACE FOR APPROACH AND USE)
เป็นการออกแบบเพื่อผู้ใช้ที่มีขนาดร่างกายที่แตกต่างกันใช้ได้อย่างสะดวก พิจารณาความ ต้องการของผู้เรียนภายในพื้นที่ที่กําหนดไว้ โดยให้ความสําคัญกับการเปลี่ยนแปลงในขนาดร่างกาย ท่าทาง การเคลื่อนไหว และความต้องการของนักเรียน
   8. ชุมชนของผู้เรียน (A COMMUNITY OF LEARNERS)
เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ สร้างสภาพแวดล้อม (ทั้งทางกายภาพและทางออนไลน์) ที่รู้สึกปลอดภัยและสนับสนุนการโต้ตอบระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง รวมทั้งระหว่างนักเรียนและผู้สอน
   9. บรรยากาศในการสอน ( INSTRUCTIONAL CLIMATE)
เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ที่สภาพแวดล้อมได้รับการออกแบบมาเพื่อผู้เรียนทุกคน สื่อสารให้นักเรียนรับรู้ว่าผู้สอนมีตั้งความคาดหวังไว้สูงสําหรับผู้เรียนทุกคน อาจารย์ผู้สอนสามารถเริ่มต้นกระบวนการนี้ได้ทั้งในหลักสูตรกับคําแถลงเกี่ยวกับความคาดหวังในการเคารพต่อความแตกต่างและความหลากหลายรวมถึงข้อความกระตุ้นให้นักเรียนเปิดเผยตนเองเกี่ยวกับปัญหาการเรียนรู้ที่ได้รับการรับรองหรือสงสัย
รูปแบบ the STUDIES Model
รูปแบบ The STUDIES Model มี 7 ขั้นตอน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
S : กําหนดจุดหมายการเรียนรู้ (Setting learning goals) การกําหนดจุดหมายการเรียนรู้ ผู้เรียนต้อง ระบุจุดหมายการเรียนรู้(goals) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ โดยการระบุ ความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) และระบุทักษะ การปฏิบัติ หรือกระบวนการ(procedural knowledge) จุดหมาย การเรียนรู้ไม่ได้ถูกจํากัดด้วยจํานวนของบทเรียน ปริมาณเนื้อหาสาระหรือความรู้สูงสุด แต่หมายถึงความ คาดหวังที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้
T : วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้ ความรู้ (knowledge) ทักษะ (Skill) และเจตคติ(Attitude) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนําทางผู้เรียนไปสู่ จุดหมายการเรียนรู้ การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ Knowledge-Skill
Attitudes
U : การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction UDI) เป็นการ ออกแบบการสอนที่ครูมีบทบาทเป็นผู้ดําเนินการเชิงรุก (proactive) เกี่ยวกับการผลิตและหรือจัดหาจัดทําหรือ ชี้แนะผลิตภัณฑ์การศึกษา(educational products (computers, websites, Software, textbooks, and lab equipment) และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้(dormitories, classrooms, student union buildings, libraries, and distance learning courses) ที่จะระบุถึงในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน
D : การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networking) การแชร์ภาพ และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหา(content) จริยธรรม สังคม และการสะท้อน (Reflection) ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้ การทํางาน และชีวิตประจําวัน
I : การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ ต่าง ๆ ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ในการ จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated learning Management) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์โดย เชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติ
E : การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน (Evaluation to Improve Teaching) การประเมินการเรียนรู้ ของตนเอง โดยกําหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้ (Cognitive Domain) ของบลูม (Bloom's Taxonomy) การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน เป็นการ ตรวจสอบการบรรลุจุดหมายการเรียนรู้
S : การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment ) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้ อิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐาน โครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (Structure of Observed Learning Outcomes : SOLO Taxonomy) มากําหนดระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการตรวจสอบคุณภาพ การเรียนรู้ รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก

แผนการจัดประสบการณ์บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
เรื่อง น้ำ
กิจกรรม ไหลแรงหรือค่อย

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
จุดประสงค์
          1.  สามารถเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะได้
          2.  สามารถเคลื่อนไหวตามสัญญาณได้
3.  สามารถเรียนรู้ สังเกต เกี่ยวกับ กิจกรรมไหลแรงหรือค่อย
4.  สามารถจำแนกและเปรียบเทียบ แสดงความคิดเห็นจากการทดลองได้
5.  สามารถคิดและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
6.  สามารถบริหารร่างกายตามที่กำหนดได้
7.  ประดิษฐ์เชือกเป็นรูปขวดน้ำ การไหลแรงหรือค่อย

สาระการเรียนรู้
1.       สาระที่ควรเรียนรู้ 
น้ำมีแรงดัน ที่บริเวณน้ำลึกจะมีความดัน มากกว่าน้ำตื้น การไหลของน้ำจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีอากาศเข้าไปแทนที่ ดังนั้นถ้าภาชนะปิดหมด มี รู 1 รู น้ำก็ไม่สามารถ ไหลออกจากรูได้

2.       ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
ด้านอารมณ์จิตใจ
ด้านสังคม
ด้านสติปัญญา
1.การเคลื่อนไหวร่างกายอยู่กับที่ เคลื่อนที่
1. การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
1. การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น
1. การแสดงความคิดเห็น
2. เล่นเครื่องเล่น สัมผัส
2. การแสดงออกอย่างสนุกสนาน
2. รู้จักการรอคอย
2. การพูดเกี่ยวกับประสบการณ์
3. การปั้นดินน้ำมัน
3. การเล่นนอกห้องเรียน
3. การแบ่งปัน
3. การสร้างความคิดรวบยอด
4.การรู้จักระมัดระวังตนเองให้ปลอดภัยจากการเล่น

4.การมีประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น






กิจกรรมการจัดประสบการณ์
    กิจกรรมเคลื่อนไหว และจังหวะ ร่างกายของคนเรา สามารถเคลื่อนไหว เคลื่อนที่  และหยุดตามสัญญาณได้
1.    ให้เด็กกระจายพื้นที่ของตัวเอง ฝึกบริหารปอดและหัวใจ โดยการหายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกช้า ๆ
2.    ให้เด็กร้องเพลง “เป็ดอาบน้ำในคลอง” “เป็ดอาบน้ำฝักบัว” และทำท่าประกอบ
3.    เด็กฟังคำบรรยายของครู แล้วทำตามคำบรรยาย “เด็ก ๆ เดินไปพบแม่น้ำแห่งหนึ่ง เด็ก ๆ ถอดเสื้อผ้า แล้วกระโดดลงไปว่ายน้ำไปมา ดำน้ำ แล้วขึ้นจากน้ำใส่เสื้อผ้า รีบวิ่งกลับบ้านไปอาบน้ำ อีกครั้ง เด็ก ๆ ตักน้ำราดตัว ถูตัว ฟอกสบู่ เสร็จแล้วตักน้ำราดให้ทั่วตัว แล้วเช็ดตัว แต่งตัว” ให้เด็กๆ ทำกิจกรรมซ้ำอีก
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
1.   ขั้นนำ
          นักเรียนเมื่อเปิดก๊อกน้ำไหลออกจากถังเก็บน้ำในที่สูง ๆ น้ำจะค่อยๆไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
2.      ขั้นจัดกิจกรรม
2.1   ครูบอกชื่อกิจกรรมการทดลอง “ไหลแรงหรือค่อย” และจุดประสงค์การเรียนรู้
2.2   ครู ชี้แจง แนะนำสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ และอธิบายวิธีใช้พร้อมซักถามเกี่ยวกับสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ที่เด็กเคยเห็นและรู้จักว่านำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
-          เทปใส
-          กรรไกร
-          ปากกาเมจิกกันน้ำ
-          เข็มหมุด
-          ขวดพลาสติก
-          กรวย
-          กะละมังพลาสติก
-          ถ้วยตวงบรรจุน้ำ
-          ตะกร้าใส่ของ

2.3   ครูอธิบาย และสาธิตการทดลองร่วมกับเด็กตามลำดับ ขั้นตอน ดังนี้
1.     แบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ  5 คน
2.     ใช้ตะปูตัวเล็กเจาะรูที่ขวดน้ำอย่างน้อย 2  รู โดยให้ รูแรก อยู่ใกล้ก้นขวด รูที่สอง อยู่กลางขวด บริเวณที่เจาะรู ควรใช้ปากกาเมจิก กันน้ำทำสัญลักษณ์ไว้เพื่อให้เห็นง่าย
3.    ใช้เทปใสบิดรูทั้งรูบนรูล่าง แล้วนำขวดน้ำไปวางในกะละมังพลาสติก และเป่าน้ำ ผ่านกรวยลงในขวดให้เต็ม
4.    ให้เด็กจับขวดไว้ แล้วดึงเทปใสออกไม่ให้ขวดล้มน้ำจะไหลออกจากรูด้านล่าง แรงกว่ารูด้านบน
2.4  เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บสื่อ อุปกรณ์ การเรียนต่าง ๆ เข้าที่ให้เรียบร้อย
2.5  อภิปรายผล ครูถามเด็ก ๆ ว่าเห็นอะไรบ้างและสนทนากับเด็กถึงการเปลี่ยนแปลงที่เห็นและที่สังเกตได้แล้วให้เด็ก ๆ แสดงความคิดเห็น
3.    ขั้นสรุป  ครูและเด็ก ๆ ร่วมกันสรุปผลที่เกิดจากการทดลองเรื่อง “ไหลแรงหรือค่อย”  น้ำจะไหลออกจากรูด้านล่าง แรงกว่ารูด้านบน เพราะความดันน้ำเพิ่มขึ้น เมื่อความลึกมากขึ้น
ให้เด็ก ๆ วาดภาพระบายสี บันทึกผลการทดลองออกมาเล่าให้เพื่อนๆ และครูฟัง
กิจกรรมสร้างสรรค์ / กิจกรรมเสรี
1.    จัดโต๊ะสำหรับปฏิบัติกิจกรรมสร้างสรรค์ไว้ 3 ฐาน ดังนี้
ฐานที่ 1    การประดิษฐ์เชือกเป็นรูปขวดน้ำ
ฐานที่ 2    ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปขวดน้ำ ไหลแรกงหรือค่อย
ฐานที่ 3    วาดภาพตามจินตนาการ
2.    อธิบาย / สาธิต ให้คำแนะนำในการปฏิบัติกิจกรรมทุกฐาน เพื่อเป็นการทบทวน การจัดประสบการณ์ที่เคยปฏิบัติมาแล้ว
3.    ให้เด็ก ๆ นั่ง ครูแจกเชือกให้เด็ก ๆ คนละ 1 เส้นให้เด็กทำเชือกให้เป็นรูปขวดน้ำ ครูใช้คำถามกระตุ้น
4.    ให้เด็กเลือกทำกิจกรรมด้วยความสนใจอย่างอิสระ ในฐานที่ 2 และ 3 พร้อมทั้งเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย
5.    กิจกรรมเสรี เมื่อเด็กปฏิบัติกิจกรรมสร้างสรรค์ เสร็จให้เลือกเล่นตามมุมต่าง ๆ ตามความสนใจ โดยครูจัดมุมประสบการณ์ ดังนี้
    มุมเสริมประสบการณ์          อุปกรณ์น้ำไหลแรง ไหลค่อย
    มุมหนังสือ                      หนังสือนิทานเกี่ยวกับน้ำ
    มุมบทบาทสมมุติ               อุปกรณ์เกี่ยวกับน้ำ
กิจกรรมกลางแจ้ง  การเล่นเกมตบแผะ  เป็นการฝึกสมรรถภาพทางกลไกด้านกล้ามเนื้อเล็กและประสาทสัมผัส และฝึกการปรับตัวเมื่ออยู่ร่วมกับเพื่อน
อธิบายวิธีเล่น
1.    ให้เด็กเข้าแถวตอนลึกและอบอุ่นร่างกาย ดังนี้
-  กระโดดตบ 10 ครั้ง
-  วิ่งอยู่กับที่
            2. ครูแนะนำพร้อมสาธิตการเล่นเกมตบแผะ
วิธีเล่น 
ให้เด็กนั่งขัดสมาธิหันหน้าเข้าหากัน เมื่อเริ่มเล่นทั้งสองคนแบมือประสาน เมื่อดึงมือออกจากกัน (ผละมือออกจากกัน) แต่ละคนยกมือตบมือคู่เล่นของตนเอง 1 ครั้งตบลงบนตักตัวเอง 1 ครั้งสลับกันไปเรื่อย ๆ การเล่นช่วงต่อไปเล่นซ้ำวิธีการดังกล่าวพร้อมกันเร่งจังหวะให้เร็วขึ้น คู่เล่นคู่ใดตบพลาดถือว่าเป็นผู้แพ้ (การตบมืออาจเปลี่ยนเป็นตบไขว้มือ สลับซ้ายขวาทีละข้างก็ได้
  3.  ให้เด็กทดลองเล่นเมื่อเข้าใจแล้วจึงเล่นจริง
  4.  ให้เล่นอิสระ 5 นาที
6.    พักคลายกล้ามเนื้อ สรุปตอบคำถามครู เล่นเกมนี้แล้วชอบหรือไม่เพราะเหตุใด นำเด็กไปทำความสะอาดร่างกาย
            กิจกรรมเกมการศึกษา การเล่นเกมจับคู่ภาพเหมือน ฝึกการสังเกต เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์
1.     แบ่งกลุ่มเด็ก กลุ่มละ 5 คน
2.     ครูสนทนาเกี่ยวกับเกมจับคู่ภาพเหมือน
3.     แนะนำวิธีเล่นเกมจับคู่ภาพเหมือน ดังนี้
-   เด็กจับมือเป็นวงกลมใหญ่
-   ครูแจกภาพเหมือนกันให้เด็ก ๆ ทุกคน
-   เด็กสังเกตภาพของตน
ครูเปิดเพลงที่เด็ก ๆ ชอบ ให้เด็ก เต้นรำตามจังหวะไปรอบ ๆ วง ครูปิดเครื่องเสียง เด็ก ๆ วิ่งหาคู่ของตนเองที่มีรูปภาพเหมือนกันจับคู่ได้แล้วไปหาที่นั่ง ครูตรวจว่าถูกต้องหรือไม่
ทำกิจกรรมซ้ำ ๆ จนเด็กมีทักษะการสังเกต และจับคู่ได้ถูกต้อง   ให้เด็กเก็บเกมเข้าที่ เมื่อเล่นเสร็จ
          
สื่อการจัดแระสบการณ์
1.    เครื่องเคาะจังหวะ ฉิ่ง กลอง
2.    เชือก
3.    ดินน้ำมัน
4.    กระดาษ A4
5.    คำคล้องจองน้ำไหลริน
6.    อุปกรณ์การทดลอง
7.    อุปกรณ์เล่นเกมการศึกษา
ประเมินผล
วิธีการสังเกต / บันทึกพฤติกรรมตามแบบประเมินพัฒนาการ

ภาคผนวก

คำคล้องจอง น้ำ
              
                              คนพืชสัตว์                 ร้อนจัดร้อง                 ต้องการน้ำ
          เพื่อใช้ทำ                            สวน ไร่ นา                 ทั้งอาหาร
          น้ำสะอาด                            ควรประหยัด               ดื่มได้นาน
                   น้ำสำคัญ                            ต่อชีวิต                     นิจนิรันดร์

เพลง น้ำ
                   น้ำมีประโยชน์มากมาย    พวกหนูทั้งหลายโปรดจำให้ดี
        ใช้ดื่มใช้กินเต็มที่ (ซ้ำ)               หนู หนู คนดี ประหยัดน้ำช่วยกัน
   
เพลง พายเรือ
                 พายเรือไปตามธารา       มองเห็น ปู ปลา แหวกว่ายเวียนวน
พายเรือกันมาสองคน (ซ้ำ)                 เห็นคน ........ คน มาจับมือกัน( ..........)



















 









     












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น