วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ตรวจสอบและทบทวน


ตรวจสอบและทบทวน
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้นการบูรณาการความรู้ ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน หรือกระบวนการเรียนการสอนขึ้นจากความรู้ ความคิดและ ประสบการณ์ของตน หรือประยุกต์จากทฤษฎีและหลักการทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนา ความสามารถของผู้เรียนในการคิด การเผชิญสถานการณ์ การตัดสินใจและการแก้ปัญหา การพัฒนาทางด้าน ค่านิยม จริยธรรม เจตคติต่างๆ การพัฒนาทางด้านการคิด การปฏิสัมพันธ์และการทํางานเป็นกลุ่ม รวมทั้งการ ปฏิบัติและการแก้ปัญหาต่างๆ รวมทั้งพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1
วิเคราะห์ความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้
. 2.2 ( 1 ) . 2.2 ( 2 )
. 1.1 ( 1 ) . 2.2 ( 1 ) . 1.1 ( 3 ) . 1.1 ( 14) . 1.1 ( 5 )
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1)          ใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างประหยัด  คุ้มค่า ได้แก่  น้ำ  ดิน  และอากาศ
2)          บอกประโยชน์ของ ดิน  น้ำ  และอากาศได้
3)          ปฏิบัติตนในการอนุรักษ์ ดิน  น้ำ และอากาศ
สาระการเรียนรู้
1.  การใช้ ดิน  น้ำ  และอากาศ
2.  ประโยชน์ของ ดิน  น้ำ  และอากาศ
3.  การอนุรักษ์ ดิน  น้ำ  และอากาศ
การบูรณาการกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.  ความพอประมาณ
สำรวจสภาพการใช้  ดิน  น้ำ  อากาศ ในชุมชนใกล้บ้านได้
2.  ความมีเหตุมีผล 
รู้จักประโยชน์ และความจำเป็นในการอนุรักษ์ ดิน  น้ำ  และอากาศ
3.  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
รู้วิธีการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ดิน   น้ำ  และอากาศให้มีคุณภาพและใช้ได้นาน ๆ
4.  เงื่อนไขความรู้
มีความรอบรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่  ดิน   น้ำ  อากาศ   และมีความรอบคอบในการอนุรักษ์ ดิน  น้ำ  และอากาศ ให้ใช้ได้นานๆ
5.  เงื่อนไขคุณธรรม
รักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติให้มีใช้ได้นาน ๆ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1)     ครูพานักเรียนไปสำรวจ  ดิน  น้ำ  และอากาศ ภายในบริเวณโรงเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ไปสำรวจ
2)     สนทนาร่วมกันว่า  อากาศใต้ร่มไม้ เป็นอย่างไร   ดินบริเวณโรงเรียนมีลักษณะอย่างไร เราใช้ทำอะไร น้ำ มีประโยชน์ต่อเราอย่างไร
ขั้นให้ประสบการณ์
1)         นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ การใช้  ดิน   น้ำ  และอากาศ ที่มีอยู่ในชุมชนใกล้ตัว
2)         ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม แล้วร่วมกันคิดประโยชน์ ของดิน  น้ำ และอากาศ
3)         ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ ของ ดิน  น้ำ  และอากาศ แล้วเขียนข้อความบนกระดานดำ
แล้วให้นักเรียนร่วมกันอ่านตามครู
4)         ให้ตัวแทนกลุ่มออกมารับใบงานแล้วร่วมวาดภาพเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้จาก  ดิน  น้ำ 
และอากาศพร้อมทั้งเขียนคำอธิบายใต้ภาพสั้น ๆ
5)         ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน และร่วมกันจัดป้ายนิเทศ
ขั้นสรุป
      นักเรียนและครูร่วมกันสรุปว่า ทรัพยากรธรรมชาติ  ดิน  น้ำ และอากาศ มีประโยชน์ต่อมนุษย์ 
ทุกคนควรช่วยกันประหยัด และใช้ให้คุ้มค่า ตลอดจนช่วยกันอนุรักษ์และหาแนวทางในการแก้ไขไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นเสื่อมโทรม เพื่อให้ทุกคนมีใช้ไปนาน ๆ เช่น  น้ำ นักเรียนควรรู้จักการใช้น้ำให้พอเพียง ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้  ไม่ควรทิ้งขยะลงในแม่น้ำ ลำคลอง เพราะจะทำให้แม่น้ำเน่าเสีย  เป็นต้น
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
1)     ของจริง  ดิน  น้ำ  และอากาศ ภายในบริเวณโรงเรียน
2)     ใบงานกลุ่ม
3)     แบบสังเกตพฤติกรรม
การวัดและประเมินผล
1)     สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม  การซักถาม การตอบคำถาม การนำเสนอผลงานหน้าชั้น
2)     ตรวจผลงาน

ชื่อกลุ่ม………………………………………………………………………………………………
ใบงานสาระวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
คำชี้แจง  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม วาดภาพเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้จาก  ดิน  น้ำ  และอากาศแล้วเขียนคำอธิบายใต้ภาพสั้น ๆ

ประโยชน์ของดิน
                                                                                             
………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………



ประโยชน์ของน้ำ                                               
                                                                                                                                      

…………………………………………………...…………………………………………………

………………………………………………………………………………...……………………

………………………………………………………………………………………………………

ประโยชน์ของอากาศ                                                                                           

…………………………………………………………………...…………………………………

…………………………………...…………………………………………………………………

………………………………………………………………...……………………………………
แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน        
ชั้นประถมศึกษาปีที่  1
ให้ทำเครื่องหมาย หน้าข้อความข้างล่างนี้


เลขที่
ชื่อ - สกุล
ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม
การซักถาม-ตอบคำถาม
ความถูกต้องและความสมบูรณ์ของงาน
ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
1


1
2
3
1
2
3
1
2
3
1
2
3
2


























3


























4


























5


























6


























7


























8


























9



























เกณฑ์การให้คะแนน
0 – 4    คะแนน พอใช้
5 – 8    คะแนน ดี
9 – 12  คะแนน ดีมาก

เกณฑ์ระดับคุณภาพ     
1        หมายถึง     พอใช้
2        หมายถึง     ดี
3        หมายถึง     ดีมาก





แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับชีวิต
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
วิเคราะห์ความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้
        2.1(1) ว2.2(1,2) ส3.1(3,4) ส4.1(2) ง1.1(4,5) ง1.2(2,5) ง3.1(3) ศ1.1(1) ศ1.1(5,6) ศ2.1(2) ศ3.1(1,2,3,5) พ4.1(1,2,6) ค6.2(1) ท1.1(3) ท3.1(1,2) ท4.1(3) ท4.2(1,3)
ผลเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.         นักเรียนสามารถแยกสิ่งแวดล้อมที่ดีและไม่ดีได้
2.         มีความชื่นชมภูมิใจในการทำให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวดีได้
3.         นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นต่อภาพที่กำหนดให้ได้
สาระการเรียนรู้
สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต เราควรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและสังคม
การบูรณาการกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1. ความพอประมาณ
รู้จักสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว ว่ามีอะไรบ้าง คุณภาพเป็นอย่างไร
2. ความมีเหตุผล          
รู้ว่าการดำเนินชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีจะมีสุข  รู้สาเหตุที่ทำให้เกิดสภาพเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และรู้วิธีการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ดี
3. การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
สร้างนิสัยในการรู้จักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
4. เงื่อนไขความรู้
รอบรู้วิธีการและรอบคอบในการรักษาสิ่งแวดล้อม
5. เงื่อนไขคุณธรรม
รักษาสิ่งแวดล้อม ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยการมีส่วนร่วมดูแลรักษา
สิ่งแวดล้อม
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.              อ่านแผนภูมิเพลง ช่วยกันเก็บ ตามครูแล้วอ่านพร้อมกัน 1 เที่ยว
2.              ครูร้องเพลงให้ฟัง 1 เที่ยว นักเรียนร้องตามครู 1 เที่ยว
3.              ทุกคนคิดท่าประกอบเพลง ช่วยกันเก็บ ตามความคิดของตนเอง ตามเพลงที่ร้องพร้อม
           กัน
ขั้นให้ประสบการณ์
1.              ครูนำแผนภูมิภาพให้นักเรียนดู 2 ภาพ (เป็นภาพที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายและภาพบ้านเรือนที่แออัด รถยนต์ สัญจรมากมาย)
2.              แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มแสดงความคิดเห็นที่มีต่อภาพ ว่าเกิดผลเสียต่อตัวเราอย่างไรบ้าง
3.              ส่งตัวแทนของกลุ่มนำเสนอความคิดเห็นของกลุ่มหน้าชั้นเรียน
ขั้นสรุป
1.              นักเรียนและครูร่วมกันสรุป ถึงการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อชีวิตประจำวันของคนเราทำให้มีสุขภาพอนามัยที่ดีต่อตนเองและสังคมบ้านเมืองสะอาดน่าอยู่

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1.            แผนภูมิภาพ
2.            เพลง ช่วยกันเก็บ
3.            ใบงาน ที่ 1 2
การวัดผลประเมิน
ตรวจใบงานที่ 1
เกณฑ์การประเมินเรื่องการแยกสิ่งแวดล้อมถูกต้อง
ร้อยละ              80      =        4
ร้อยละ              60      =        3
ร้อยละ              40      =        2
ต่ำกว่า     ร้อยละ           40      =        1
เกณฑ์การประเมินใบงานที่ 1
เกณฑ์การประเมินการวาดภาพตามใบงานที่ 1
วาดภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีได้สวยงามเกินกว่าร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ความคิดเห็นผู้บริหาร
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

                                                  ลงชื่อ
                                                            (นายสหพล   แสนปากดี)
                                                  ผู้อำนวยการโรงเรียนสมเด็จประชานุเคราะห์

บันทึกหลังสอน
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

                                                  ลงชื่อ
                                                            (นางศรีอนงค์  ภูชำนิ)
                                                  ตำแหน่ง  ครู  โรงเรียนสมเด็จประชานุเคราะห์
 ใบงานที่ 1
เรื่อง ภาพสิ่งแวดล้อม
ชื่อ...................................................................ชั้น.................................................................
คำชี้แจง    ให้นักเรียนวาดภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี สวยงาม ลงในกรอบสี่เหลี่ยมนี้


แผนภูมิเพลง
ช่วยกันเก็บ

(ทำนองคุณลำไย)
ยังจำไม่เคยลือเลือน  ทั้งเพื่อนและฉันถูกใช้  ผู้คนนำพวกฉันไปทิ้งฉันไว้  ไม่เคยเหลียวแล
(พูด) กระป๋อง ถุงพลาสติก  หลอดกาแฟ  ตัวฉันแทบแย่  เกลื่อนกลาดมากมาย  เด็กๆเก็บกันเร็วไว  บ้านเมืองจะได้สดใสสะอาดตา
แบบสังเกตพฤติกรรมขณะทำงานกลุ่มและการอภิปรายในชั้นเรียน

ชั้น.....................................................ภาคเรียนที่..................................ปีการศึกษา..................................
กลุ่มสาระการเรียนรู้.................................................................
หน่วยการเรียนรู้..........................................................................
สถานภาพของผู้ประเมิน
¨    ตนเอง      ¨   เพื่อน    ¨      ผู้ปกครอง        ¨      ผู้สอน   ¨      ผู้สนใจ
คำชี้แจง   ให้กรอกคะแนนการประเมินตามเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนดไว้ตามความเป็นจริงเกณฑ์การให้คะแนน
ปฏิบัติอยู่ในระดับดีเยี่ยม ให้       5        คะแนน
ปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก           ให้       4        คะแนน
ปฏิบัติอยู่ในระดับดี                ให้       3        คะแนน
ปฏิบัติอยู่ในระดับพอใช้            ให้       2        คะแนน
ปฏิบัติอยู่ในระดับต้องปรับปรุง    ให้       1        คะแนน


เลขที่
ชื่อ-สกุล
รายการประเมิน
รวม 20 คะแนน
ผ่าน/ไม่ผ่าน
การแสดงความคิดเห็น
การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ความร่วมมือกับกลุ่ม
ความตั้งใจในการทำงาน
















































































































































ลงชื่อ.........................................................ผู้ประเมิน
                                                   (นางศรีอนงค์  ภูชำนิ)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น