วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562

รูปแบบ The STUDIES Model


รูปแบบ The STUDIES Model
รูปแบบ The STUDIES Model มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษาวิชีพครู มีความรู้ความเข้าใจบทบาทที่สำคัญในบานะผู้เรียนที่จะต้องศึกษาศาสตร์การสอน และมีบทบาทในฐานะผู้สอนที่จะนำความรู้ไปจัดการเรียนรู้ และจัดการชั้นเรียน รายละเอียดดังภาพประกอบที่ 2
ภาพประกอบที่ 2 รูปแบบ The STUDIES Model
ที่มา รัญญาภรณ์ บริบูรณ์
          รูปแบบ The STUDIES Modelมี 7 ขั้นตอน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
          S :กำหนดจุดหมายการเรียนรู้ ( Setting learning goals) การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้ ผู้เรียนต้องระบุจุดหมายการเรียนรู้ (goals) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ โดยการระบุความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) และระบุทักษะ การปฏิบัติ หรือกระบวนการ (procedural knowledge) จุดหมายการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยจำนวนของบทเรียน ปริมาณเนื้อหาสาระหรือความรู้สูงสุด แต่หมายถึงความคาดหวังที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้
          T :วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้ความรู้(knowledge) ทักษะ(skill) และเจตคติ(Attitude) ที่เกี่ยวข้องเพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนำทางผู้เรียนไปสู่จุดหมายการเรียนรู้ การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ Knowledge-Skill-Attitudes

          U :การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล ( Universal Design for Instruction UDI) เป็นการออกแบบ การสอนที่ครูมีบทบาทเป็นผู้ดำเนินการเชิงรุก (proactive) เกี่ยวกับการผลิตและจัดหาจัดทำหรือชี้แนะนำผลิตภัณฑ์การศึกษาและสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ที่จะระบุถึงในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน
          D :การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์(Social networking) การแชร์ภาพ และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆเกี่ยวกับเนื้อหา (content) จริยธรรม สังคม และการสะท้อน(Reflection) ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้ การทำงานและชีวิตประจำวัน
          I :การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge) การเชื่องโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ต่างๆ ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นกระบวนการจดประสบการณ์โดยเชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติ
          E :การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน ( Evaluation to Improve Teaching) การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง โดยกำหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้ ของบลูม (Bloom ‘s Taxonomy) การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน เป็นการตรวจสอบการบรรลุจุดหมายการเรียนรู้
          S :การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐานโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ มากำหนดระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการตรวจสอบคุณภาพการเรียนรู้ รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น