ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะครุศาสตร์
1.รหัสและชื่อรายวิชา
การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
(Instructional and Classroom Management)
2. จำนวนหน่วยกิต
3
หน่วยกิต ( 2-2-5 )
3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต
หมวดวิชาเฉพาะกลุ่มวิชาชีพครู ( วิชาบังคับ )
4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.พิจิตรา ธงพานิช
e-mail
Phichittra.npu.ac.th
Mobile
Phone: 0884555839
5. ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา
ภาคการศึกษาที่
2 / 2561
6.รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน
(Pre - requisite) (ถ้า มี)
7.สถานที่เรียน คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยนครพนม
8.จุดมุ่งหมายของรายวิชารายวิชานี้ออกแบบเพื่อช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้และบรรลุจุดมุ่งหมายดังนี้
8.1.มีความรู้ในเรื่องหลักการแนวคิดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
8.2.ทักษะในการจัดทำแผนการเรียนรู้และนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลจริง
8.3.มีความสามารถคิดวิเคราะห์คิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาได้การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม
8.4.มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาศูนย์การ
เรียนในสถานศึกษา
8.5.มีเจตคติที่ดีและให้ความสำคัญต่อการจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้การสร้างบรรยากาศและการจัดการชั้นเรียนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
9. คำอธิบายรายวิชา
หลักการ แนวคิด
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำแผนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อม
เพื่อการเรียนรู้ ทฤษฎีและรูปแบบการจัดการเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และแก้ปัญหาได้
การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม การจัดการชั้นเรียน การพัฒนาศูนย์การ
เรียนในสถานศึกษา การจัดทําแผนการเรียนรู้และนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลจริง
การสร้างบรรยากาศการจัดการชั้นเรียนให้ผู้เรียนเกิดการเรียน
Principles, concepts and guideline for
learning plan development learning management and environment for learning;
theories and instructional management model for learners learn how to know the
critical thinking, creative thinking and solving problems; integration of
inclusive education: classroom management; learning center development in
schools; writing learning plans and implementing for authentic output; creating
a positive classroom atmosphere for learners
10.
จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
|
สอนเสริม
|
การฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม/การฝึกงาน
|
การศึกษาด้วยตนเอง
|
2 ชั่วโมง/สัปดาห์
|
-
|
2 ชั่วโมง/สัปดาห์
|
5 ชั่วโมง/สัปดาห์
|
11. แผนการสอน
|
|
|
|
|
สัปดาห์ที่
|
หัวข้อรายละเอียด
|
จำนวนชั่วโมง
|
จำนวนชั่วโมง
|
กิจกรรมการเรียนการสอนสื่อที่ใช้(ถ้ามี)
|
ชื่อผู้สอน
|
1
|
แนะนำรายวิชา ออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน
การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน : The STUDIES Model
|
2
|
2
|
-บรรยาย/อภิปราย/สรุป
-ประมวลการสอน
The STUDIES Model
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
|
2
|
กำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้
(Setting
Learning Goals)
|
2
|
2
|
-Power Point/หนังสือ
-จับคู่
ปฏิบัติกิจกรรม
- Assessment
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
|
3
|
วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis)
|
2
|
2
|
-Power
Point/หนังสือ
-จับคู่ ปฏิบัติกิจกรรม
- Assessment
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
|
4
|
การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
(Universal Design for Instruction)
|
2
|
2
|
-Power
Point/หนังสือ
-จับคู่ ปฏิบัติกิจกรรม
- Assessment
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
|
5
|
การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning)
|
2
|
2
|
-Power
Point/หนังสือ
-จับคู่ ปฏิบัติกิจกรรม
- Assessment
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
|
|
|
|
|
- Assessment
|
|
6
|
การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge)
|
2
|
2
|
-Power
Point/หนังสือ
-จับคู่ ปฏิบัติกิจกรรม
- Assessment
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
|
7
|
การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน (Evaluation to Improve Teaching)
|
2
|
2
|
-Power
Point/หนังสือ
-จับคู่ ปฏิบัติกิจกรรม
- Assessment
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
|
8
|
การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment)
|
2
|
2
|
-Power
Point/หนังสือ
-จับคู่ ปฏิบัติกิจกรรม
- Assessment
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
|
9
|
การประเมินระหว่างเรียน
สอบกลางภาค
|
2
|
-
|
-สอบข้อเขียนในชั้นเรียน
- Assessment
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
|
10
|
การออกแบบ
และการเขียนแผนจัดการเรียนรู้
การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
|
2
|
-
|
แผนการจัดการเรียนรู้
ผลิตภัณฑ์/สื่อการเรียนรู้
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
|
11
|
การออกแบบ
และการเขียนแผนจัดการเรียนรู้
การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
|
2
|
-
|
แผนการจัดการเรียนรู้
ผลิตภัณฑ์/สื่อการเรียนรู้
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
|
12
|
การออกแบบ
และการเขียนแผนจัดการเรียนรู้
การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
|
2
|
-
|
แผนการจัดการเรียนรู้
ผลิตภัณฑ์/สื่อการเรียนรู้
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
|
13
|
สาธิต/การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
(กลุ่ม 4-6 คน)
สองกลุ่ม
|
2
|
2
|
-การปฏิบัติตามแผนจัดการเรียนรู้
-จัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
|
14
|
สาธิต/การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
(กลุ่ม 4-6 คน)
สองกลุ่ม
|
2
|
2
|
-การปฏิบัติตามแผนจัดการเรียนรู้
-จัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
|
15
|
สาธิต/การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
(กลุ่ม 4-6 คน)
สองกลุ่ม
|
2
|
2
|
-การปฏิบัติตามแผนจัดการเรียนรู้
-จัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
|
16
|
-ประเมินผลปลายภาค
|
2
|
-
|
-ทดสอบ
-แบบทดสอบ
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
|
|
รวม
|
32
|
28
|
|
|
12. แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การจัดการเรียนและการจัดการชั้นเรียน (Instructional and Classroom Management) มีแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivist)
และการเรียนรู้แบบรู้ร่วมมือ
( Cooperative Learning ) รายละเอียดดังต่อไปนี้
12.1 กำหนดจุดหมายการเรียนรู้
( Setting Learning Goals )
12.2 วิเคราะห์ภาระงาน
( Task Analysis )
12.3 การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
( Universal Design for lnstruction)
12.4 การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล
(Digital Learning)
12.5 การบูรณาการความรู้
( Integrated Knowledge )
12.6 การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน
( Evaluation to Improve Teaching )
12.7 การประเมินอิงมาตรฐาน
(Standard based Assessment )
สรุปเป็น The STUDIES Model ดังภาพประกอบ
Ø
ใช้หลักการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามOutcome Driven Model ประกอบด้วย
1. หลักการจัดการการเรียนรู้
2. จุดมุ่งหมายของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
3. การสอน
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้
ขั้นที่ 2 การวางแผนการเรียนรู้
ขั้นที่ 3 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้
ขั้นที่ 4 การสรุปความรู้และการวิพากษ์ความรู้
ขั้นที่ 5 การประเมินการเรียนรู้
4.
การประเมินผล
รายวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
(Instructional
and Learning Management) จัดการเรียนรู้เป็น 8 หน่วย ดังนี้
หน่วยที่
|
เนื้อหาสาระ
|
1
|
การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
:
The STUDIES Model
|
2
|
กำหนดจุดหมายการเรียนรู้
(Setting
Learning Goals)
|
3
|
วิเคราะห์ภาระงาน
(Task
Analysis)
|
4
|
การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
(Universal
Design for Instruction)
|
5
|
การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล
(Digital
Learning)
|
6
|
การบูรณาการความรู้
(Integrated
Knowledge)
|
7
|
การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน
(Evaluation
to Improve Teaching)
|
8
|
การประเมินอิงมาตรฐาน
Standard
|
หลักการประเมินผลการเรียนรู้
จากผลการศึกษาวิจัยของ David
Nicol ( 2007 ) University of Strathclyde ) ได้เสนอหลักการ ประเมินผลการเรียนรู้และการให้ข้อเสนอแนะที่ดี
ทฤษฎีและหลักการที่ใช้เป็นแนวปฏิบัติ ในการประเมินผลการศึกษาระดับอุดมศึกษา 10
ข้อดังนี้
1. ให้ความชัดเจนว่าการปฏิบัติงานที่ดีเป็นอย่างไร
(เป้าหมายเกณฑ์การวัดเกณฑ์มาตรฐาน) ขอบเขตของสิ่งที่ผู้เรียนต้องทำในหลักสูตรมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายของเกณฑ์และมาตรฐานก่อนระหว่าง
และหลังการ ประเมินผลแค่ไหน
2. ให้
" เวลาและความพยายาม " กับการเรียนรู้สิ่งที่ท้าทายขอบเขตของงานที่มอบหมายมีส่วนกระตุ้น
การเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน อย่างลึกซึ้งแค่ไหน
3. ให้ข้อมูลย้อนกลับคุณภาพสูงที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตรวจสอบความถูกต้องได้ด้วยตนเองผู้
สอนให้ข้อมูลย้อนกลับแบบไหน
และความคิดเห็นดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และปรับปรุงด้วยตนเองได้อย่างไร
4. สร้างความเชื่อที่เป็นแรงบันดาลใจและความเคารพตนเองในทางบวกขอบเขตของการประเมินและการให้ข้อมูลย้อนกลับสามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนและความสำเร็จแก่ผู้เรียนได้แค่ไหนไหน
5 สนับสนุนให้มีการปฏิสัมพันธ์และการพูดคุยในเรื่องการเรียนการสอน
( เพื่อนและครู-นักเรียน ) โอกาสใดบ้างสำหรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผลในรายวิชาที่สอน
6. อำนวยความสะดวกในการพัฒนาการประเมินตนเองและการสะท้อนความคิดทางด้านการเรียนขอบเขตของโอกาสอย่างเป็นทางการสำหรับการให้ข้อมูลย้อนกลับ การประเมินตนเอง การประเมินโดยเพื่อนในวิชาที่เรียนมีแค่ไหน
7. ให้โอกาสผู้เรียนเลือกการประเมินผล - เนื้อหาและกระบวนการขอบเขตของผู้เรียนสำหรับการเลือก หัวข้อ วิธี การ เกณฑ์ การวัดผล ค่าน้ำหนักคะแนน กำหนดเวลา และงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผลงานที่ใช้ประเมินผล / การประเมินผลงานในรายวิชาที่สอน
มีแค่ไหน
8. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการประเมินผลและการปฏิบัติขอบเขตของข้อมูลที่ผู้เรียนได้รับ หรือมีการส่วนร่วมให้คำปรึกษาเพื่อการตัดสินใจเรื่องการประเมินผลมีแค่ไหน
9. สนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ขอบเขตของการประเมินผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับช่วยสนับสนุนการ พัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้แค่ไหน
10. ช่วยผู้สอนในการปรับการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนดังนั้นการประเมินผลจะมีหลักการที่จะควบคุมกระบวนการการประเมินมีดังต่อไปนี้
1. การประเมินผลตามแนวคิด Out - Come Driven Model มีจุดหมาย ( Goals ) การสอนที่ชัดเจน
2. ขั้นตอนและเทคนิคในการประเมินผลควรเลือกตามจุดประสงค์ในการประเมิน
3. การประเมินผลควรทำอย่างต่อเนื่องและการประเมินผลควรจะมีความละเอียดรอบคอบ
4. การประเมินผลควรระบุจุดอ่อนจุดแข็งและใช้งานได้
5. การประเมินผลควรเป็นความพยายามร่วมกัน
13. การประเมินผล
13.1 ประเด็นการประเมินผลของรายวิชาพร้อมค่าน้ำหนักเป็นร้อยละ
1 . ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการจัดการเรียน รู้และการจัดการชั้นเรียน ร้อยละ 10
2. การ ฝึกปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน ร้อยละ 20
3. สาธิตการจัดการเรียน รู้และการจัดการชั้นเรียน ร้อยละ 20
4. การเสนอภาคนิพนธ์ ร้อยละ 20
5. การประเมินความรอบรู้ปลายภาคเรียนรู้ ร้อยละ 30
13.2 การกำหนดค่าระดับเกรดแต่ละระดับช่วง(ร้อยละ)ของคะแนน
คะแนน(ร้อยละ)
|
เกรด
|
80 - 100
|
A
|
75 - 79
|
B+
|
70 – 74
|
B
|
65 - 69
|
C+
|
60 – 64
|
C
|
55 – 59
|
D+
|
50 – 54
|
D
|
ต่ำกว่า 50
|
F
|