วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning)

D:การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล เป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networking) การแชร์ภาพ และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหา(Content) จริยธรรม ละการสะท้อน (Reflection) ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้ การทำงานและชีวิตประจำวัน
          พระธรรมปิฎก (..ปยุตโต 2546 : 9-10) กล่าวว่า สังคมข่าวสารข้อมูลหรือสังคมสารสนเทศโลกมีข่าวสารข้อมูลแพร่กระจายกว้างขวางทั่วถึงรวดเร็วมาก ก็คิดว่าคนจะฉลาด คนจะมีปัญญา หากว่าไม่พัฒนาคนให้รู้จักรับและใช้ข้อมูลนั้น และกล่าวสรุปไว้ว่าจำแนกคนได้เป็นสามประเภท ดังนี้
          1.คนที่ตกเป็นเหยื่อ ในกรณีที่คนไม่พัฒนาสติปัญญาอย่างถูกต้องให้สามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างแท้จริง และสามารถถือเอาประโยชน์จากข่าวสารข้อมูลได้ก็จะเป็นโทษอย่างมาก ข่าวสารข้อมูลจะกลายเป็นเครื่องมือล่อเร้าและหลอกลวงทำให้คนเป็นเหยื่อ
2.กลุ่มที่รู้เท่าทัน คนจำนวนมากมีความภาคภูมิใจว่าตนตามทันข่าวสารข้อมูล มีข่าวสารข้อมูลอะไรออกมาก็ตามทันหมด ปรากฏว่าตามทันทั้งนั้น แต่ไม่รู้เท่าทัน และก็ถูกกระแสข่าวสารข้อมูลท่วมทับ พัดพาไป กรณีเช่นนี้ถ้ามีปัญญารู้เท่าทันก็จะทำให้ดำรงอยู่ท่ามกลางกระแสได้ เป็นผู้ที่ยืนหยัดตั้งหลักอยู่ได้
3.กลุ่มที่อยู่เหนือกระแส การรู้เท่าทันยังไม่พอ ควรที่จะสามารถทำได้ดีกว่านั้นอีก คือขึ้นไปอยู่เหนือกระแส เป็นผู้ที่สามารถนำเอาข้อมูลข่าวสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง คนกลุ่มนี้สามารถจัดการกับกระแส โดยทำการเปลี่ยนแปลงในกระแสหรือนำกระแสให้เดินไปในทิศทางใหม่ที่ถูกต้อง
ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ (http://WWW.dlthailand.com/thima-khxng-khorngkar) อ้างอิงงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยว่าสาเหตุหลักส่วนหนึ่ง ของปัญหาคุณภาพการศึกษาไทย คือการที่ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันเป็นระบบที่ไม่เอื้อต่อการสร้างความรับผิดชอบ (Accountability) หลักสูตรและตำราเรียนของไทยไม่สอดคล้องกับ การพัฒนาทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21 (21 st Century Skills ) ซึ่งมีผลทำให้การเรียนการสอน ตลอดไปจนถึงการทดสอบยังคงเน้น การจดจำเนื้อหามากกว่าการเรียนเพื่อให้ มีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง อีกทั้งสภาพการจัดการศึกษาของ ประเทศไทยในปัจจุบัน กำลังประสบปัญหาในด้านคุณภาพของนักเรียน ปรากฏอยู่ในหลายพื้นที่ ซึ่งมีสาเหตุจาก การขาดครูหรือครูไม่ควบชั้น ไม่ครบสาระการเรียนรู้ ครูมีประสบการณ์หรือทักษะการเรียนรู้น้อย ขาดสื่อ อุปกรณ์ที่ทันสมัยและการเข้าถึงได้ลำบาก ครูมีเวลาในการจัดการเรียนการสอนน้อย กิจกกรมของโรงเรียนมีมาก ทรัพยากรที่มีกระจัดกระจายไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และการแก้ปัญหาต่างๆก็ทำได้ในวงจำกัด
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีกิจกรรมหลัก คือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล โดยแบ่งเป็น 2 กิจกรรมย่อย คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกล ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีทางไกล (Distance Learning) เป็นการจัดการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยี ในการจัดการเรียนการสอนในทุกห้องเรียนแก้ปัญหา การขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็กครูสามารถจัดการเรียนรู้ในทุกสาระได้อย่างมีประสิทธิภาพนักเรียนและครูได้เข้าถึงสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยนักเรียนและครูมีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนความรู้และทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาการนำเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล (Distance Learning) มายกระดับคุณภาพการศึกษาเป็น รูปแบบได้แก่การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมและการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance Learning viainformation Techology : DLIT) มาดำเนินงานโดยเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพทางการศึกษาโดยมีการจัดสภาพและการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างครบถ้วนทั้งกระบวนการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการสร้างความรู้การลงมือปฏิบัติเนื้อหาตลอดจนสื่อและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดการเรียนการสอนอันจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับประชาชนไทยทุกคนอันเป็นการดำเนินการตามรอยเบื้องพระยุคลบาทและสนองพระราชดำริในการที่จะพัฒนาการศึกษาไทยให้เจริญก้าวหน้า
เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ (การศึกษาจะถูกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล บทความไอที 24 ชั่วโมงวันที่ 25พฤศจิกายน  2016)  ได้เสนอบทความเรื่องการศึกษาจะถูกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลสรุปความว่าเทคโนโลยีที่โดดเด่นที่กำลังทำให้สิ่งของทุกสรรพสิ่งบนโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้นั้นคือ internet of Everything (IoE) IoEสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ที่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนมากกว่าในอดีตที่ผ่านมาเช่นนักศึกษาที่อาศัยอยู่ในลอนดอนสามารถร่วมรับฟังการบรรยายจากสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาได้โดยอาศัยอุปกรณ์สื่อสารที่ทำให้ระยะทางไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนโดยข้อมูลการเรียนรู้และข้อมูลทั้งหมดจะต้องให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดให้ตลอดเวลาข้อมูลในสื่อการสอนต่างๆที่มีอยู่จะถูกนำมาใช้ร่วมกันในรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะส่งผลกระทบต่อวิธีการและสถานที่ที่ใช้ในการเรียนรู้ดังนั้นผู้เรียนจะต้องเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้เศรษฐกิจที่เฟื่องฟูทำให้IoE มีความจำเป็นมากกว่าทักษะและจำนวนของผู้เชี่ยวชาญอีกทั้งการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นโดยIoE จะทำให้สามารถนำมาใช้ประเมินประสิทธิภาพของผู้เรียนสามารถออกแบบแบบฝึกหัดทดสอบเพื่อทดสอบจุดอ่อนและจุดแข็งของผู้เรียนและผู้เรียนสามารถประเมินศักยภาพได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ IoE อยากสามารถเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ของผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญาเช่นในประเทศออสเตรเลียนำเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ไปใช้ในโรงเรียนสอนผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายโดยเซ็นเซอร์จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้ภาษามือของผู้เรียนและใช้ในการปรับปรุงการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนสมาธิสั้นด้วยการตรวจเช็คการทำงานของสมองและการให้รางวัลสำหรับผู้เรียนที่มีพัฒนาการเรียนที่ดีขึ้น
คณะกรรมการอิสระการศึกษา( กอปศ สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษาข่าวประชาสัมพันธ์วันที่ 4พฤษภาคม 2561) ได้นำเสนอ Digital Learning Platformแนวทางการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์และการใช้สื่อดิจิทัล เพื่อการปฏิรูปการศึกษา ณ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาสรุปในเรื่องของการศึกษาสิ่งแรกที่ต้องกระทำคือปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm) ให้ชัดเจนชัยชนะเกิดขึ้นได้อยู่ที่ Big Data ซึ่ง Big Data  ในที่นี้ความหมายที่ถูกต้องคือข้อมูลที่เอามาวิเคราะห์ได้เอาไปใช้ประโยชน์ในการบริหารได้โดยสะดวกไม่ใช่หมายถึงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์แม่ข่าย  Big Data จิตวิทยาในการจัดการศึกษาเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ ต้องออกแบบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากเรียนไม่ใช่ออกแบบอย่างที่เราต้องการต้องสร้างความเข้มแข็งจากภายในเพราะที่ผ่านมาไม่ค่อยให้ความสนใจกับผู้ใช้ (User) และผู้เรียน (Learner)
กระทรวงศึกษาธิการต้องสร้างโจทย์และผู้เรียนอยากรู้อะไรที่ไม่เคยรู้และไม่เคยคิดว่าจะมีทางทำได้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนฐานสำคัญ ด้านได้แก่
          1 Digital  Infrastructure การวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ดำเนินการโครงการเน็ตประชารัฐเข้าถึงพื้นที่ระดับชุมชน
          2 คนกับดิจิทัล ต้องมีการฆ่าคนในระดับต่างๆการศึกษาต้องจัดคู่กับความต้องการของด้านแรงงานให้เหมาะสมและมีความต้องการคนทำงานที่มีคุณสมบัติอย่างไรและด้านใดบ้างเพราะจะเห็นได้ว่าในบางธุรกิจเช่นธุรกิจธนาคารหรืออุตสาหกรรมคนเริ่มถูก AI เข้ามาแทนที่
          3 Big Data ในภาครัฐต้องมีการบูรณาการ ข้อมูลระหว่างกันเพื่อนำมาวิเคราะห์ออกแบบและวางแผนด้านการเชื่อมโยงข้อมูลการผลิตกำลังคนในระบบการศึกษาตอบโจทย์ความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเป็นต้น
          4 Cyber Security ต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
          5 internet of things( IoT) มหาวิทยาลัยต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยี iot อย่างเร่งด่วน
อติพร เกิดเรือง (2560) ได้เสนอผลการศึกษาเรื่องการส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล (วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 173 - 184 ) สรุปดังนี้
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมในยุคดิจิทัลมี องค์ประกอบหลักคือ
1.1 การเรียนรู้เกี่ยวกับดิจิทัล
1.2 การคิดสร้างสรรค์
1.3 การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
1.4 ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง
การเรียนรู้จากจุดเดิมสู่ยุคดิจิทัลต้องจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนการทำงานและการดำรงชีวิตเน้นการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตส่งเสริมการค้นคว้าด้วยตนเองโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มากที่สุด ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะแนวทางในการเรียนรู้ตามหลักสูตรและการวัดผลประเมินผลพัฒนาการมากกว่าการวัดผลสัมฤทธิ์
 3 การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลต้องคำนึงถึงการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นการสร้างสรรค์ปรับแต่งการเรียนรู้การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนเป็นการใช้เครือข่ายออนไลน์ การจัดการเรียนรู้สร้างสถานการณ์จำลองให้ผู้เรียนพบประสบการณ์จริงเนื้อหาการเรียนรู้ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายออนไลน์สามารถสร้างองค์ความรู้แบ่งปันความรู้และเนื้อหาสารเครือข่ายออนไลน์และส่งเสริมความรู้ในเรื่องของการทำงานมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น