วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

แบบการสอน

   แบบการสอน (Styles of teaching) เป็นการแสดงคุณค่าของครูแต่ละคน เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่ ทําให้ครูคนหนึ่งแตกต่างไปจากครูคนอื่นๆ ประกอบด้วยการแต่งกาย ภาษา เสียง กริยาท่าที ระดับพลัง การแสดงออกทางสีหน้า แรงจูงใจ ความสนใจในบุคลอื่น ความสามารถในการแสดงเชาว์ปัญญาและความคงแก่เรียน
          ครูมีความพร้อมที่จะปรับสไตล์การสอนแบบใดแบบหนึ่งโดยที่รู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ได้ครูเป็น เสมือนผู้ช่วยเหลือ ผู้กวดขันวินัย นักแสดง เพื่อน ภาพลักษณ์ของพ่อหรือแม่ ผู้ปกครองที่มีอํานาจ จิตรกรพี่ชายใหญ่ หรือพี่สาวใหญ่ หรือแสดงหรือเป็นตัวอย่างของรูปแบบการสอนสไตล์การสอนเป็น “คุณภาพที่ แผ่ซ่านอยู่ในพฤติกรรมของแต่ละบุคคล เป็นคุณภาพที่คงอยู่แม้ว่าเนื้อหาจะเปลี่ยนแปลง” (Fischer and Fischer, 1976 : 245) หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นคุณภาพตามเนื้อหาจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร คุณภาพของจะคงอยู่ฟีสเชอรทั้งสองได้สังเกตว่าครูมีความแตกต่างกันในรูปแบบการสอน เช่นเดียวกับประธานาธิบดีของรัฐบาลอเมริกาแต่ละบุคคลที่มีรูปแบบการพูดที่แตกต่างกัน นักวาดภาพที่มีชื่อเสียงที่มีความแตกต่างกันในรูปแบบ ของกิจกรรมหรือนักเทนนิสที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางก็มีรูปแบบการเล่นที่เป็นของตัวเองไม่เหมือนใคร
          ครูที่มีเสียงสูงและเสียงแบนจะมีความยากในการใช้วิธีสอนแบบบรรยาย ครูที่แต่งเครื่องแบบหรือมี ท่าทางที่เป็นทางการจะสามารถจัดการกับห้องเรียนที่อีกทีกได้ ครูที่ขาดความเชื่อมั่นในทักษะการจัดการ อาจจะรู้สึกไม่ชอบใจกับความเป็นอิสระอย่างไม่มีขอบเขตของผู้เรียนไม่ชอบใจกับการอภิปรายชนิดที่เป็น ปลายเปิด และถ้าครูระดับต่ำมีแนวจูงใจต่ำที่จะปฏิเสธการอ่านเรียงความหรือรายงานประจําภาคของผู้เรียน อย่างระมัดระวังแล้ว วิธีเช่นนี้จะมีประโยชน์น้อยมาก
          ครูที่มีใจชอบความคงแก่ผู้เรียน ชอบที่จะรวมเอาวิธีสอนหลากหลายที่ได้จากผลการวิจัยมาใช้ ครูที่ ให้ความสนใจกับประชาชนจะเลือกวิธีสอนที่ครูและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันและนักเรียนไม่เพียงแต่จะมี ปฏิสัมพันธ์กับคนทั่วๆ ไปทั้งในและนอกโรงเรียนด้วย
          ครูที่มีความเชื่อมั่นกับงานของตนเอง จะเชื้อเชิญให้ผู้อื่นมาเยี่ยมชมชั้นเรียนจะใช้ทรัพยากรบุคคล โสตทัศนูปกรณ์ วีดีทัศน์ เป็นกิจกรรมในชั้นเรียน ครูที่มีความเป็นประชาธิปไตยจะออกแบบกิจกรรมการ เรียนการสอนที่ยอมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
          ครูบางคนปฏิเสธที่จะใช้โสตทัศนูปกรณ์ เพราะรู้สึกว่าไม่มีสมรรถนะเพียงที่จะใช้เครื่องมือ และมี เจตคติว่าการใช้สื่อทําให้เสียคุณค่าของเวลา
          แบบการสอนของผู้สอน มีความสัมพันธ์บางอย่างกับแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ผู้เรียนบางคนมีความสามารถในการแสดงออกด้วยการพูดดีกว่าการเขียน บางคนสามารถที่จะเข้าใจเกี่ยว เรื่องของนามธรรม ในขณะที่คนอื่นๆ เพียงแต่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น บางคน ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้เทคนิคการฟังและการดูมากกว่าการอ่าน บางคนสามารถทํางาน ความกดดันได้ ผู้เรียนที่มีแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างในแบบการสอนด้วย ในความจริงแล้วจํานวน มากขึ้นเท่าไรความแตกต่างของผู้เรียนยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น ผู้สอนต้องรับรู้ว่าแบบการสอนสามารถให้ความกระทบอย่างแรงกล้าต่อสัมฤทธิ์ผลของผู้เรียน แบบการสอนแต่ละครั้งสามารถที่จะผสมผสานให้เข้ากับจุดหมายของผู้เรียนได้
          แบบการสอนไม่สามารถเลือกในลักษณะเดียวกันกับการเลือกกลวิธีการสอนได้ แบบการสอนไม่ใช่สิ่งที่จะเปิดปิดสวิตซ์ได้ ไม่ใช่สิ่งที่ง่ายที่จะเปลี่ยนการมุ่งงานไปเป็นการมุ่งให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  เรื่องทํานองนี้เป็นเรื่องค่อนข้างยากที่จะทําได้ เหนือสิ่งอื่นใด ผู้สอนที่ไม่มีการตื่นเต้นทางอารมณ์ จะเปลี่ยนเป็นผู้สอนที่มีความตื่นเต้นทางอารมณ์ได้หรือไม่ มีคําตอบอยู่สองคําถามเกี่ยวกับแบบการสอนว่า ผู้สอนสามารถเปลี่ยนแบบการสอนได้หรือไม่ และผู้สอนควรเปลี่ยนแบบการสอนหรือไม่
          บางที่จะพบว่า คําถามที่ยิ่งใหญ่ คือ ผู้สอนควรเปลี่ยนแปลงแบบการสอนหรือไม่ มีคําตอบอยู่สามข้อต่อคำถามที่ตั้งสมมติฐานไว้ก่อนว่าผู้สอนสามารถเปลี่ยนแบบการสอนได้ คือ ประการแรก แนวคิดที่ว่า แบบการสอนตรงกับแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงได้มีความพยายามที่จะวิเคราะห์แบบการสอนและแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างถูกต้องสมควร และจัดกลุ่มผู้เรียนและผู้สอนที่มีแบบการเรียนและแบบการสอนที่สอดคล้องกัน
          ประการที่สอง ตามแนวความคิดที่ว่า มีคุณความดีบางอย่างในการที่จะเผยให้ผู้เรียนทราบถึงแบบ การเรียนรู้ของบุคคลที่มีความหลากหลายแตกต่างกันอย่างมากในระหว่างที่พบเห็นในโรงเรียน เพื่อให้ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในแบบต่างๆ แม้ว่าผู้เรียนบางคนอาจจะชอบมากกว่าที่จะให้มี โครงสร้างแต่เพียงเล็กน้อย ไม่เป็นทางการ ใช้วิธีการผ่อนคลายในขณะที่อยู่ในโรงเรียน ผู้เรียนที่จบจาก มัธยมตอนปลายที่มุ่งงาน และผู้สอนที่ยึดวิชาเป็นศูนย์กลางจะเป็นคนที่เรียกว่า เท้าอุ่น จะมีหลัก มีความ มั่นคงช่วยให้ประสบผลสําเร็จ
          ประการที่สามต่อคําถามว่า ผู้สอนควรจะเปลี่ยนแบบการสอนหรือไม่ มีแนวคิดว่า ครูควรจะยืดหยุ่น ใช้แบบการสอนให้มากว่าหนึ่งแบบ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าหลากวิธีการสอนให้ผู้เรียนกลุ่ม เดียวกัน หรือกับผู้เรียนต่างกลุ่มกันคําตอบนี้รวมถึงลักษณะของการตอบประการแรกประการที่สองด้วย ผู้สอนจะมีหลากหลายแบบการสอนสําหรับกลุ่มผู้เรียนพิเศษด้วยสัญลักษณ์ที่เหมือนกัน ถ้าผู้สอนสามารถทําได้ ทําให้ผู้เรียนพบกับแบบการสอนที่หลากหลายของผู้สอน อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ที่รับเลือกต้องอนุโลมให้มี แบบการสอนที่สามารถเรียนแบบได้ด้วย นั่นคือ เหตุผลที่แสดงว่า ทําไมเป็นเรื่องสําคัญสําหรับผู้สอนที่ต้องรู้ ว่าผู้เรียน เป็นใคร เป็นอะไร และเชื่อถืออะไรบ้าง ดันน์และดันน์ ได้กล่าวว่า เกี่ยวกับผลของเจตคติความเชื่อ ของครูต่อแบบการสอนว่า
          เจตคติของครูต่อโปรแกรมการเรียนการสอน วิธีการสอนและแหล่งวิทยาการที่หลากหลาย ตลอดจนลักษณะของเด็กๆ หรือผู้เรียนที่ผู้สอนชอบทํางานด้วยผสมผสานหลอมหล่อกันเป็นส่วนหนึ่งของ “แบบการสอนอย่างไรก็ตามมีความจริงอยู่ว่า ผู้สอนบางคนเชื่อในรูปแบบของการเรียนการสอนพิเศษซึ่ง ไม่ใช่การปฏิบัติอื่นๆ ซึ่งผู้สอนไม่ได้ให้ความเชื่อถือ (อํานาจในการบริหารหรืออํานาจของชุมชน ความไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงหรืออดทนต่อแรงกดดัน) และความเป็นจริงด้วยเหมือนกันอีกว่า ผู้สอนอาจจะชอบผู้เรียนที่มีความแตกต่างไปจากที่สอนอยู่มากกว่าก็เป็นได้
          ฟีชเชอร์และฟิชเชอร์ ได้บ่งชี้แบบการสอนที่ประกอบด้วย การรอบรู้ภาระการงาน การา การร่วมมือกัน การให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการให้ความตื่นเต้นทางอารมณ์และเป็นแบบอย่าง    การมุ่งงาน ครูจะกําหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้และบอกถึงความต้องการในการปฏิบัติงานของนักเรียน การที่จะประสบผลสําเร็จอาจจะเฉพาะเจาะจงไปที่พื้นฐานของนก จะให้นักเรียนแต่ละคนเป็นไปตามความคาดหวังอย่างชัดเจนมั่นคง
          การวางแผนการร่วมมือกัน ครูร่วมกันวางแผนวิธีการและจุดหมายปลายทางของการเรียนการสอน ด้วยความร่วมมือของนักเรียน ครูไม่เพียงแต่จะรับความคิดเห็นเท่านั้น แต่ครูต้องกระตุ้นให้การสนับสน การมีส่วนร่วมของนักเรียนทุกระดับชั้นด้วย
          การให้นักเรียนเป็นจุดศูนย์กลาง ครูจัดหาจัดเตรียมโครงสร้างต่างๆ สําหรับนักเรียนเพื่อให้ติดตาม แสวงหาความรู้ตามที่ต้องการหรือตามความสนใจ สไตล์แบบนี้ไม่เพียงแต่จะพบว่ามีน้อย แต่เกือบจะเป็นไป ไม่ได้ที่จะจินตนาการให้เป็นไปตามที่คาดหวัง เพราะว่าชั้นเรียนที่มีอัตราส่วนระหว่างนักเรียนกับครู และ นักเรียนกับสิ่งแวดล้อมในความรับผิดชอบจะกระตุ้นส่งเสริมความสนใจของนักเรียนบางคน และทําให้ นักเรียนบางคนเกิดความท้อแท้ใจโดยอัตโนมัติ
          การให้เนื้อหาวิชาเป็นศูนย์กลาง วิธีการนี้ครูจะเน้นไปที่เนื้อหาวิชาที่จัดไว้ดีแล้ว โดยกับผู้เรียน ออกไป และคิดว่าเนื้อหาวิชาที่จัดนั้น ครอบคลุมรายวิชาครูจะพึ่งพอใจแม้ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นน้อย
          การให้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง วิธีการนี้ครูจะให้ความสําคัญเท่าๆ กันระหว่างนักเรียนและ จุดประสงค์ของหลักสูตร ตลอดจนสิ่งที่จะใช้ในการเรียน ครูจะปฏิเสธการเน้นอย่างมากเกินไปทั้งในด้าน การให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการให้เนื้อหาเป็นศูนย์กลางแทนการช่วยเหลือนักเรียน โดยไม่คํานึงว่า นักเรียนมีความสามารถหรือไม่มีความสามารถ เพื่อที่จะพัฒนาไปสู่เป้าประสงค์ที่มีความเป็นไปได้ให้ดีเท่าๆ กับอิสรภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน
          ให้มีการตื่นเต้นทางอารมณ์และเป็นแบบอย่าง วิธีการนี้ครูจะแสดงอารมณ์ที่เกี่ยวกับการสอนอย่าง เข้มข้น ครูจะเข้าไปอยู่ในกระบวนการสอนอย่างใจจดใจจ่อ และโดยปกติแล้วจะก่อให้เกิดบรรยากาศของ ชั้นเรียนที่ตื่นเต้นและมีอารมณ์ร่วมสูง
          ไม่มีข้อสงสัยเลยที่จะพบว่าประเภทของการสอนบางอย่างชวนให้ใช้และได้รับการยอมรับมากกว่า ประเภทอื่นๆ เราอาจจะบ่งชี้ได้ว่าการสอนบางประเภทเป็นลบ (ตัวอย่างคือ พฤติกรรมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย) บางประเภทเป็นบวก (เช่น การคํานึงถึงนักเรียน) เราซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิต คงจะยอมรับประเภทของการสอนซึ่งเป็นแบบอย่างของตน ดังที่ ฟีชเชอร์และฟิชเชอร์ ได้กล่าวว่า
          เราไม่ได้พิจารณาว่าสไตล์การสอนและการเรียนรู้ทั้งหมดมีความเหมาะสมเท่าเทียมกัน มีอยู่บ่อยครั้งที่การสอนนั้นๆ เป็นสิทธิของการปฏิบัติที่ไม่สามารถจะโต้แย้งได้ “เอาล่ะนั้นมันเป็นวิธีการของผม/ฉัน ผมมีวิธีการของผม คุณมีวิธีการของคุณ และแต่ละวิธีการก็ดีเหมือนๆ กับวิธีการอื่นๆ " …ถ้าทุกความคิดของวิธีการนั้นๆ อยู่บนพื้นฐานของความผูกพันต่อการเรียนการสอนรายบุคคล และพัฒนาการของอิสรภาพ เราไม่ยอมรับการสอนประเภทที่ส่งเสริมการบังคับให้ปฏิบัติตามและขึ้นอยู่กับผู้อื่น (Fisher and fisler, 1976 : 409 – 401)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น