วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

แผนการจัดการเรียนรู้


1.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นระหว่างรูปดอกบัวกับรูปเพชร 
รูปดอกบัว ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์คู่กับศาสนาพุทธที่เปรียบบัวเป็น 4 เหล่า คือ
บัวก้นบึ้ง ซึ่งเปรียบเทียบถึงบุคคลที่เกิดมาสูญเปล่า ไม่รู้ผิดชอบ ไม่เกรงกลัวต่อบาป
บัวใต้น้ำ เปรียบเทียบถึงบุคคลที่รู้ผิดชอบชั่วดีบ้าง ได้เป็นกัลยาณมิตรทำให้มีแต่ความเจริญ
บัวปริ่มน้ำ เปรียบเทียบถึง บุคคลรู้จักศีล 5  รักษาถึงจะไม่ครบ สามารถเป็นผู้เจริญได้
บัวพ้นน้ำ เปรียบเทียบ รักษาศีล 5ได้ครบ  เพียรความดี เป็นผู้เจริญ
บัวจึงเปรียบเสมือนสิ่งที่สื่อถึงความเพียรพยายามความดีของคน และความสวยงามของแต่ละคนแสดงถึงกาเป็นผู้เจริญ
รูปเพชร เป็นแก้วที่แข็งที่สุด ที่เป็นสิ่งหายากในปัจจุบันของตัวเราซึ่งเปรียบเสมือนกับเพชรที่มีความแข็งแกร่ง และสวยงาม และมีความอดทน สีของเพชรบ่งบอกความเป็นตัวเราได้  ชาวกรีกโรมันจึงเชื่อว่าเพชรคือหยาดน้ำตาของเทพเจ้า ซึ่งสามารถชนะได้ทุกสิ่งทำให้ผู้ที่ไปรบหรือทำศึกสงครามสามารถเอาชนะข้าศึกได้โดยง่าย จึงได้มีการให้ความหมายของเพชรผ่านคุณสมบัติของมันว่าคือพลังอันมากล้นจนชนะข้าศึกได้อย่างไร้พ่าย
สี เพชรที่ไม่มีสีหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าเพชรสีขาวนั้น จะบ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ ชาวฮินดูมักจะใช้สีที่แตกต่างกันของเพชรนั้นเป็นตัวกำหนดวรรณะของเขา นอกจากนั้นแล้วศาสนาฮินดูยังเชื่ออีกว่า เพชรแต่ละสีจะมีเทพสิงสถิตย์ด้วยดังนี้
เพชรสีขาว      เทพแห่งท้องทะเล
เพชรสีเหลือง   เทพแห่งสรวงสวรรค์
เพชรสีทองแดง เทพแห่งสายลม
เพชรสีเขียว     เทพแห่งตะวัน
เพชรสีน้ำตาล  เทพแห่งเพลิง
เพชรสีฟ้า       เทพแห่งบรรพบุรุษ
ส่วนชาวฮินดูนั้นจะสักการบูชาและจะฝังเพชรเอาไว้ที่ดวงตาเทพเจ้าหรือก็คือในเทวรูปต่างๆ นั่นเอง
2.ให้อิสระในการเลือกภาพว่าชอบภาพไหนเพราะอะไรให้เหตุผล
เลือก ดอกบัว เพราะ ดอกบัวเปรียบเสมือนความเพียรพยายามของคนที่แต่ละคน ที่เป็น บัวก้นบึ้ง บัวใต้น้ำ บัวปิ่มน้ำ บัวพ้นน้ำ และบ่งบอกความสวยงามของแต่ละบุคคลที่สวยงามในยามบัวบ่งบาน และคนที่เป็นบัวพ้นน้ำได้ต้องเป็นคนที่ต้องใช้ความพยายามและอดทน กว่าที่จะมาเป็นบัวพ้นน้ำได้ เสมือนกับบัณฑิตที่กว่าจะประสบความสำเร็จได้ต้องใช้ความพยายามอย่างมากและความตั้งใจ ความสำเร็จคือการบ่งบานนั้นเอง

ความรู้เพิ่มเติม 8


สรุป

          ประเมินอิงมาตรฐานระดับที่มีความสำคัญที่สุดคือการจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนนั้นประสบผลสำเร็จโดยดูจากผู้เรียนมีความรู้และทักษะเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้กล่าวได้ว่าโปรแกรมการเรียนการสอนมีประสิทธิผลระดับใดอีกประเด็นหนึ่งคือการจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดกล่าวได้ว่าการจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพระดับใดการประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินให้ความสำคัญที่กระบวนการ process การประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินในระหว่างจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้และปรับปรุงสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนส่วนการประเมินคุณภาพภายนอก เหมือนที่มุ่งตอบคำถามว่าการจัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามที่หลักสูตรกำหนดไว้หรือไม่คำถามหลักคือผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานหลังจากการเรียนการสอนได้หรือไม่กระบวนการมีขั้นตอนใดที่มีปัญหาอุปสรรคเพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหารได้พัฒนาในโอกาสต่อไป

การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้

 The  Solo taxonomy
          The Solo taxonomy  เป็นการจัดระดับเพื่อประโยชน์ในการแสดง คุณสมบัติในระดับต่างๆของคำถามและคำตอบที่คาดว่าจะได้รับจากผู้เรียนเป็นชุดของเกณฑ์ประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นระบบนำมาช่วยอธิบายว่าผู้เรียนมีพัฒนาการปฏิบัติที่สําคัญอย่างไรในการเรียนเพื่อรวบรู้ที่มีความปฏิบัติเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
 การใช้Solo taxonomyในการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
Solo taxonomyคือการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งไม่มุ่งเน้นเฉพาะการสอนและการให้คะแนนจากผลงานเท่านั้นแต่เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญว่าผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งคือผู้จะมีวิธีการอย่างไรที่ผู้เรียนได้ใช้ปัญญาที่มีความซับซ้อนและก่อให้เกิดการพัฒนามากขึ้น เป็นชุดของเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นผลงานของ Biggs and collis (1982)เป็นระบบที่นำมาช่วยอธิบายว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการการปฏิบัติที่สําคัญอย่างไรในการเรียนเพื่อร่วมหรือที่มีความหลากหลายของเข้าหน้างานทางวิชาการโดยมีนิยามจุดประสงค์ของหลักสูตรในสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิบัติงานผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
การใช้Solo taxonomya จะช่วยให้ทั้งครูและผู้เรียน ตระหนักถึงองค์ประกอบที่หลากหลายจากหลักสูตรได้อย่างแจ่มชัดขึ้น แนวคิดดังกล่าวถูกนำไปกำหนดเป็นนโยบายใช้ในการประเมินในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง สืบเนื่องจากสามารถนำไปใช้ได้ในหลายสาขาวิชา การประเมินความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียนอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาผู้เรียนในแง่ของความเข้าใจที่ซับซ้อน ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวแบ่งให้เป็น ระดับ (1)  ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน (Pre-structural) (2) ระดับโครงสร้างเดี่ยว(Uni-structural) (3)  ระดับโครงสร้างหลาย(Multi-structural) (4) ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง (Relational) และ (5)  ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract Level)
โครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Biggs and Collis เสนอวิธีการไว้ดังต่อไปนี้
          1 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนปฏิบัติในบทเรียน
          2 ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนเมื่อเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ต้องมั่นใจว่าคำกริยาที่นำมาใช้เพื่อการประเมินมีความถูกต้องเหมาะสมในแต่ละระดับดังนี้
·       ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐานนักเรียนได้รับข้อมูลเป็นส่วนส่วนที่ไม่ปะติดปะต่อกันไม่มีการจัดการข้อมูลและความหมายโดยรวมของข้อมูลไม่ปรากฏ
·       ระดับโครงสร้างเดี่ยวผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐานง่ายต่อการเข้าใจแต่ไม่แสดงความหมายของความเกี่ยวโยงของข้อมูล
·       ระดับโครงสร้างหลากหลายผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลหลายๆชนิดเข้าด้วยกันความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างความเกี่ยวโยงของข้อมูลไม่ปรากฏ
·       ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้างผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลได้ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลและภาพรวมทั้งหมดได้
·       ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาพขยายผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลนอกเหนือจากหัวข้อเรื่องที่ได้รับผู้เรียนสามารถสรุปและส่งผ่านความสำคัญและแนวคิดที่ซ่อนอยู่ภายใต้กรณีตัวอย่าง
ตารางที่ 24 การจัดระดับ SOLO Taxonomy คำถามและการตอบสนองที่คาดหวังจากผู้เรียน
เพื่อความเข้าใจและการนำมโนทัศน์ SOLO Taxonomy ไปใช้ บิกส์ได้สรุปไว้ดังตาราง 25

ตารางที่ 25 ระดับความเข้าใจ ระยะของการเรียนรู้ และคำกิริยาที่ใช้


          ประเด็นสำคัญที่พึงระมัดระวังในการใช้  Solo taxonomy
           การปรับใช้ Solo taxonomy กับแนวคิดการสร้างสรรค์องค์ความรู้ต้องนึกอยู่เสมอว่าปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้มีอยู่มากมายอาทิ
          ในการสอนครูผู้สอนมีวิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างไรครูผู้สอนต้องมีความรู้เกี่ยวกับแรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน
          ในการเรียนรู้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้มากน้อยเพียงใดจะต้องมีสิ่งสนับสนุนอะไรจึงจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้
          การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะนี้เป็นการให้ความสำคัญที่การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนตามความสามารถและการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเพื่อจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดีการปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าวนี้สรุปได้ว่า
ทำให้ ILO ชัดเจนยิ่งขึ้น(ความมุ่งมั่น/เจตนา) (การเรียนรู้) (ผลผลิต)\
การทดสอบสมรรถนะ =>ILO’s =>การสอน
ครูผู้สอนต้องบอกกระบวนการILOในการบรรลุผลการเรียนรู้ให้นักเรียนได้รับทราบด้วย
          Solo taxonomy เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการให้เหตุผลในการกำหนดสมรรถนะในหลักสูตรและรายวิชาต่างๆดังตัวอย่างต่อไปนี้
          การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด Solo taxonomy การเรียนรู้อย่างลุ่มลึกไม่ใช่เรียนแบบผิวเผิน
           Solo  4:  การพูดอภิปรายสร้างทฤษฎีทำนายหรือพยากรณ์
           Solo  3:  อธิบายวิเคราะห์เปรียบเทียบ
           Solo  2:  บรรยายรวมกันจัดลำดับ
           Solo  5:  ท่องจำระบุคำนวณ
          บทบาทของการสอบ
          การสอบไม่ใช่สิ่งที่ตามมาแต่ต้องคิดไว้ก่อนแนวคิดสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรเมื่อต้องการทดสอบสมรรถภาพหรือผลผลิตของการสอนนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้
          ทฤษฎีการวางแผน(ตลอดโปรแกรมของหลักสูตร)
          ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ(และสิ่งที่กระตุ้นแรงจูงใจ)
          ทั้งนี้เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดการสอบคล้ายกับการปรับเปลี่ยนจากความชั่วร้ายเป็นการสร้างแรงจูงใจและแนวทางในการเรียนรู้ที่เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้การจัดการสอนของครูผู้สอน
          การจัดลำดับขั้นของจุดประสงค์การเรียนรู้ของบลูม( bloom's taxonomy 1956 ) เมื่อนำมาสัมพันธ์กับแนวคิด Solo taxonomy ของBiggs and Collis  1982
            Solo  1 และ สอดคล้องกับแนวคิดของบลูมในขั้นความรู้(จำ)ความเข้าใจและการนำไปใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ
           Solo  3 และ 4  สอดคล้องกับแนวคิดของบลูมในขั้นการวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินค่าข้อมูลเชิงคุณภาพ
          ตัวอย่างการกำหนดค่าระดับคุณภาพการเขียนแผนจัดการเรียนรู้
          ระดับ  Solo 1 หมายถึงการเรียนแบบและคงไว้ซึ่งของเดิมการเขียนแผนจะยึดตำราเป็นหลักธรรมแบบฝึกหัดตามหนังสือจัดกิจกรรมซ้ำๆใช้อุปกรณ์สำเร็จรูปไม่มีการประเมินการใช้จริง
          ระดับ  Solo 2 หมายถึงการปรับประยุกต์ใช้การนำแผนการสอนที่มีอยู่ให้ดีขึ้นมีการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริงมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาเล็กน้อยคำนึงสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เน้นที่จะดีมากกว่าการปฏิบัติ
          ระดับ  Solo 3 หมายถึงการสร้างสรรค์สิ่งใหม่การเขียนแผนที่คำนึงถึงพฤติกรรมใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้การเขียนแผนแนวทางมหภาคใช้ผลงานการวิจัยประกอบการสอนเน้นมโนทัศน์ของวิชานั้นๆและบูรณาการแบบข้ามกลุ่มสาระ
          การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย
          ค่าเฉลี่ย 1.00 ถึง 1.49 หมายความว่ามีความสามารถในการเขียนแผนและการนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The studies model  ระดับต่ำ/ปรับปรุง
          ค่าเฉลี่ย 1.50 ถึง 2.49 หมายความว่ามีความสามารถในการเขียนแผนและนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบThe studies model  ระดับปานกลาง/พอใช้
          ค่าเฉลี่ย 2.50 ถึง 3.00 หมายความว่ามีความสามารถในการเขียนแผนและนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบThe studies model  ระดับสูง/ดี

การประเมินคุณภาพภายนอก

การประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอกคือการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาการติดตามการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาซึ่งกระทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชนสมศหรือผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรอง โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสมศเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอกมีความสำคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนดังต่อไปนี้
          1 เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานและพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
          2 เพิ่มความมั่นใจและคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาให้มั่นใจได้ว่าสถานศึกษาจัดการศึกษามุ่งสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีความสามารถและมีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
          3 สถานศึกษาและหน่วยงานที่กำกับดูแลเช่นคณะกรรมการสถานศึกษาหน่วยงานต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจในการวางแผนและดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการเรียนรู้เป้าหมายตามที่กำหนด
          4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสำคัญในภาพรวมเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายทางการศึกษาและการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักงานรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชนกำหนดหลักการสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอกซึ่งมีหลักการสำคัญ ประการดังต่อไปนี้
          1 เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการตัดสินการจับผิดหรือการให้คุณให้โทษ
          2 ยึดจากความเที่ยงตรงเป็นธรรมมีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงและมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้   
มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับควบคุม
          4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
          5 ทุ่มสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพศ. 2542 ให้เอกภาพเชิงนโยบายแต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติโดยสถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นตามสภาพของสถาบันและผู้เรียน
วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา
การประเมินสภาพภายนอกมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชน 2550)
          1 เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพดีในการดำเนินงานของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่นจุดที่ควรพัฒนาของสถานศึกษาสาเหตุของปัญหาและเงื่อนไขของความสำเร็จ
          3 เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงประเภทหนังสือภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
          4 เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
เพื่อรายงานการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานเกี่ยวข้องและสาธารณชน
ผู้ประเมินภายนอก หมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดและได้รับการรับรองจากสมศให้ทำการประเมินคุณภาพภายนอก
มาตรฐานการศึกษา คือข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และเป็นเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมกำกับดูแลตรวจสอบประเมินผลและการประกันคุณภาพการศึกษา
การประเมินคุณภาพภายใน
clark (2005:2)กล่าวว่า การประเมินคุณค่าภายในโปรแกรมการเรียนการสอนวิธีการประเมินที่นำไปใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอนในระหว่างดำเนินการถ้าประเมินเน้นที่กระบวนการประเมินคุณภาพภายในมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบแก้ไขและปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นและนำไปใช้กับผู้เรียนโดยทั่วไปในการประเมินจัดเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนโดยกำหนดจุดมุ่งหมายคือการจัดการเรียนรู้นั้นหรือการเรียนการสอนนั้นประสบผลสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้หรือไม่ข้อมูลต้องถูกเก็บรวบรวมอย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจสอบว่าการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการชั้นเรียนและพัฒนาผู้เรียนได้จริงถ้าพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในการเรียนการสอนแก้ไขกันอาจสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้หรือเกรียนการสอนนั้นมีบางอย่างที่ไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายดังนั้นการประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินเพื่อปรับปรุงดำเนินการได้ทันท่วงทีการประเมินนี้จะมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอน  Kemp : 1971เสนอแนะการประเมินไว้ดังนี้
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับที่เป็นที่ยอมรับตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ผู้เรียนมีข้อบกพร่องใดบ้าง
          2 ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ความรู้หรือทักษะในระดับที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่ผู้เรียนมีข้อบกพร่องใดบ้าง
          3 ผู้เรียนใช้เวลานานเพียงใดเพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้และเป็นที่ยอมรับของผู้สอนหรือไม่
          4 กิจกรรมต่างๆเหมาะสมสำหรับผู้เรียนและผู้สอนหรือไม่
          5 วัสดุต่างๆสะดวกและง่ายต่อการติดตั้งการหยิบการใช้หรือการเก็บรักษาหรือไม่
          6  ผู้เรียนมีปฏิกิริยาต่อวิธีการเรียนการสอนกิจกรรมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้และวิธีการประเมินผลอย่างไรบ้าง
          7 ข้อสอบเพื่อการประเมินตนเองและข้อสอบหลังการเรียนแล้วใช้วัดจุดมุ่งหมายของการเรียนได้หรือไม่
          8 ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมในส่วนใดบ้างเพื่อหารูปแบบและอื่นๆ
การประเมินภายนอก
          clark (2005:2) กล่าวว่าประเมินคุณภาพภายนอกเป็นการประเมินหลังการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอนผู้นำผลการประเมินเพื่อใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอนให้ความสำคัญที่ผลลัพธ์โดยสรุปการประเมินเพื่อศึกษาประสิทธิผลของระบบโดยรวมเป็นการประเมินที่ตอบคำถามว่าการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่การออกแบบการเรียนการสอนตลอดจนการมีขั้นตอนใดที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนบ้างเพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับผู้ออกแบบการเรียนการสอนได้พัฒนาต่อไป Kemp : 1971เสนอแนะแนวคิดการประเมินไว้ดังนี้
            1 จุดมุ่งหมายทั้งหมดได้รับการบรรลุผลในระดับใดบ้าง
          2 หลังจากการเรียนการสอนผ่านไปแล้วการปฏิบัติงานของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้ความรู้ทักษะและการสร้างเจตคติมีความเหมาะสมหรือไม่
การใช้วัสดุต่างๆง่ายต่อการจัดการสำหรับผู้เรียนจำนวนมากๆหรือไม่
สิ่งอำนวยความสะดวกกำหนดการและการนิเทศมีความเหมาะสมกับโปรแกรมหรือไม่มี
การระวังรักษาการหยิบการใช้เครื่องมือและวัสดุต่างๆหรือไม่ถูกวัสดุต่างๆที่เคยใช้แล้วถูกนำมาใช้อีกหรือไม่
ผู้เรียนมีเจตคติอย่างไรบ้างต่อวิชาที่เรียนวิธีการสอนกิจกรรมและเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้สอนและผู้เรียนคนอื่นๆ

การประกันคุณภาพการศึกษา


          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพศ. 2542  มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าทำการคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
          การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ได้มาตรฐานทั้งในระดับอุดมศึกษาและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งแนวคิดที่เกี่ยวข้อมีดังต่อไปนี้
การประกันคุณภาพเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
          การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างมาตรฐานและเสริมสร้างคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับในอาเซียนที่ตระหนักถึงความสำคัญของประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาและความจำเป็นในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพแบบองค์รวมเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้แก่มหาวิทยาลัยในเครือข่าย Aun เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนซึ่งระบบประกันคุณภาพการศึกษาในอาเซียนเป็นกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาและสร้างฐานการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกให้เป็นไปในทางทิศเดียวกันการรับรองมาตรฐานระดับหลักสูตรจะเริ่มต้นจากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและนำมากำหนดไว้ในผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดว่าจะได้รับซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสูตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ ASEAN University Network  Quality Assurance:AUN-QA โดยมีเกณฑ์พิจารณา 11 หมวดได้แก่
           1 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้
           2 ข้อกำหนดหลักสูตร
           3 โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหา
           4 แนวทางการสอนและการเรียนรู้
           5 การประเมินผลนักศึกษา
           6 คุณภาพบุคลากรสายวิชาการ
           7 คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน
           8 คุณภาพของนักศึกษาและการสนับสนุน
           9 สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน
           10 การเพิ่มคุณภาพ
           11 ผลผลิต
มหาวิทยาลัยในเครือข่าย Aun ได้มีเกมดังกล่าวมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรโดยหลักสูตรที่มีความพร้อมมหาวิทยาลัยจะยื่นขอรับรองโดย Aun qa ต่อไป

การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สํานักทดสอบทางการศึกษากลุ่มวิชาการศึกษา 2545 ศึกษาและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากผลการศึกษากระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเป็นกฎกระทรวงกำหนดระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและเอกสารการดำเนินงานตามระบบดังกล่าวได้แก่
 1 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
 2 แนวทางการจัดทำระบบสารสนเทศสถานศึกษา
 3 แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา
 4 แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในของสถานศึกษา
แนวทางการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีของสถานศึกษา
 7 แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยเขตพื้นที่การศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา:กรอบแนวการดำเนินงานเขียนแสดงความสัมพันธ์ได้ดังภาพประกอบที่ 13

ภาพประกอบที่ 13 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มา (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ 2545:3)

หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน

หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน ( How to use Standard in the classroom)
           การเชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้กับหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญการเชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้ระดับขั้นพื้นฐานการเรียนรู้และท้องถิ่นไปสู่เป้าหมายการเรียนการสอนของนักเรียนและครู Harris, Douglas E and Carr,ludy (1996 : 18) ได้นำเสนอแผนภูมิแสดงความสอดคล้องเชื่อมโยงของหลักสูตรการเรียนการสอนและการประเมินแบบอิงมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ดังแผนภาพประกอบที่ 11

          จากแผนภาพประกอบที่ 11 สรุปได้ว่า
กรอบหลักสูตรมลรัฐเชื่อมโยงและสะท้อนสิ่งที่พึงประสงค์ในมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ
หลักสูตรและการประเมินระดับท้องถิ่นและโรงเรียนสะท้อนถึงมาตรฐานที่กำหนดในกรอบหลักสูตรมลรัฐ
          กิจกรรมการเรียนการสอนและหน่วยการเรียนเชื่อมโยงและสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ม หลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษาในขณะเดียวกันก็ต้องสนองต่อความต้องการสนใจของนักเรียนและชุมชนด้วยเหตุผลดังกล่าวกิจกรรมการเรียนการสอนและหน่วยการเรียนจึงควรสร้างจากแหล่งข้อมูลของท้องถิ่นหรือเหตุการณ์ประเด็นปัญหาต่างๆในท้องถิ่นการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งในระดับชั้นเรียนท้องถิ่นและมลรัฐควรใช้ข้อมูลจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักเรียนที่เกิดขึ้นในแต่ละหน่วยการเรียนรู้สิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลที่จะบอกได้อย่างดีว่าผลการเรียนของนักเรียนถึงมาตรฐานหรือไม่
มาตรฐานสู่ความสำเร็จ : หลักสูตร การประเมินผล และแผนปฏิบัติการ
          เมื่อโรงเรียนหรือสถานศึกษาต้องใช้มาตรฐานใดแล้วทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจว่ามาตรฐานของโรงเรียนคืออะไรและจะนำไปใช้อย่างไรคณะกรรมการสถานศึกษาจะต้องใช้แผนการประเมินที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนสำคัญคือการประเมินสภาพปัจจุบันของหลักสูตรการเรียนการสอนและการประเมินที่สอดคล้องกับมาตรฐานการได้ข้อมูลว่ามาตรฐานใดบ้างที่จะนำมาจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลนักเรียนจะบรรลุตามที่ระบุไว้ในวิสัยทัศน์นั้นจะต้องเตรียมวิธีปฏิบัติกระบวนการและหลักสูตรการเรียนการสอนต่างๆให้พร้อม การตัดสินใจว่าจะสอนและประเมินมาตรฐานใด จะสอนมาตรฐานดังกล่าวในระดับชั้นใดรายวิชาใดสิ่งเหล่านี้โดยใช้ฐานข้อมูลว่าใครจะสอนและประเมินมาตรฐานใด และจำเป็นต้องมีการทบทวนแผนว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้เหมาะสมหรือไม่จุดเน้นของหลักสูตรสถานศึกษาเป็นการปฏิบัติตามมาตรฐานที่ถูกกำหนดหมายคำถามเดิมที่ว่าใครสอนหัวข้อใดหรือครูจะใช้สื่อการสอนอะไรจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นใครสอนมาตรฐานอะไรการเรียนการสอนใช้รูปแบบใดและใครเป็นผู้ประเมินมาตรฐานโดยวิธีการใด เป็นต้น
          กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและแผนการประเมิน Carr,ludy F and Harris, Douglas E. (2001:45 - 49) เสนอคำถามที่เกี่ยวข้องคือจะสร้างการประเมินระดับชั้นเรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานอย่างไรซึ่งการประเมินชั้นเรียนไม่ได้เป็นเพียงการทดสอบการวัดหรือการให้คะแนนการประเมินเป็นตัวการของการสอนเป็นกระบวนการของการวัดปริมาณ การอธิบายการรวบรวมข้อมูลหรือการให้ผลย้อนกลับเกี่ยวกับการเรียนรู้เพื่อให้รู้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจุดมุ่งหมายเบื้องต้นของการประเมินชั้นเรียนโดยใช้มาตรฐานเป็นฐานคือบอกให้รู้เกี่ยวกับการสอนและการปรับปรุงการเรียนรู้ยิ่งไปกว่านั้นการประเมินยาสะท้อนสิ่งต่างๆดังนี้
          ให้แนวทางเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงการศึกษา
          เห็นความสำคัญของนักเรียนแต่ละคนหลักสูตรเฉพาะและการปฏิบัติในสถานศึกษา
          ชี้ให้เห็นว่านักเรียนมีความรู้และทักษะแบบบูรณาการตลอดหลักสูตรหรือไม่
          เสนอวิธีการและข้อมูลเพื่อสื่อถึงผลการประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ
          การประเมินประสิทธิผลของชั้นเรียนต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์กับการเรียนรู้ในขณะนั้นรวมทั้งมีลักษณะรวบยอดตรวจสอบผลลัพธ์ได้จากหลักสูตรเดียวกันหรือข้ามหลักสูตร
          มีลักษณะหลากหลายเชื่อถือได้เชิงเทคนิค
          การวางแผนการประเมินต้องมองในมุมกว้างแผนการประเมินคือเครื่องมือออกแบบเป็นชุดของตัวเลือกที่คำนึงถึงเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนจะได้รับการประเมินให้สัมพันธ์กับมาตรฐานได้อย่างไรการใช้แผนการประเมินนี้ทำให้มั่นใจได้ว่า จากการนำผลการประเมินไปใช้จะชี้แนะกระบวนการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการเรียนการสอน
          นักเรียนมีโอกาสหลากหลายที่จะแสดงผลสำเร็จตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
          นักเรียนให้คำตอบที่สร้างสรรค์ได้หลายแบบเช่นผลงานและการปฏิบัติ
          แนวการให้คะแนนแบบต่างๆใช้เพื่อกำหนดผลป้อนกลับด้านการเรียนรู้ของนักเรียน

การประเมินผลและการนิเทศ


          Carr,ludy F and Harris, Douglas E. (2001:153)กล่าวสรุปไว้ว่า การพัฒนาวิชาชีพการนิเทศและการประเมินผลมีจุดหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการเรียนรู้ตามมาตรฐานและได้นำเสนอหลักการดำเนินการพัฒนาด้านวิชาชีพที่อิงมาตรฐาน ประการดังนี้
          หลักการที่ ประสบการณ์และพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพเกิดจากภาพลักษณ์ที่ดีด้านการเรียนการสอนการพัฒนาวิชาชีพตามระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานมีคำถามที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะบรรลุมาตรฐานดังต่อไปนี้
                   ใครจะรับผิดชอบมาตรฐานใด
                   แนวทางการเรียนการสอนจะเป็นอย่างไรในชั้นเรียนผู้สอนและผู้เรียนจะมีบทบาทอย่างไร
                   ระดับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้ตั้งไว้เท่าใดใช้เกณฑ์ใดในการกำหนดผลสัมฤทธิ์ของมาตรฐานและจะประเมินมาตรฐานอย่างไร
                   ใช้ข้อมูลใดบ่งบอกว่าบรรลุมาตรฐานและอะไรบ้างที่นำไปใช้ในการเรียนการสอน
          หลักการที่ ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพให้โอกาสผู้สอนได้สร้างองค์ความรู้และทักษะของตนเองเป้าหมายของการวางแผนการสอนมีขอบข่ายเนื้อหาที่จะปรับปรุงผลการเรียนรู้ผู้เรียนอย่างชัดเจนโดยเชื่อมโยงลำดับความสำคัญของการพัฒนาวิชาชีพกับแผนการสอนกรณีตัวอย่างสถานศึกษากำหนดแผนการพัฒนาประกอบด้วยประเด็นหลัก ประเด็นคือการวิเคราะห์ผลงานของผู้เรียนและการจัดทำแฟ้มสะสมงานการพัฒนาวิธีการวัดผลหลังจบหลักสูตรในแต่ละประเด็นเน้นการพัฒนาความสามารถของผู้สอนในด้านการสอนและประเมินการแก้ปัญหาโดยเปิดโอกาสให้จัดทำแผนพัฒนาวิชาชีพระยะยาว
          หลักการที่ ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพใช้หรือเป็นตัวแบบกลยุทธ์การสอนที่ผู้สอนจะใช้กับผู้เรียนการสร้างตัวแบบเริ่มโดยเน้นที่มาตรฐานโดยคาดหวังว่าผู้สอนจะต้องสอนให้เป็นไปตามมาตรฐานการกำหนดโครงการพัฒนาวิชาชีพจึงต้องยึดมาตรฐานตัวอย่างเช่น  การใช้ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาครู ครูต้องร่วมกันวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของนักเรียนทบทวนสิ่งที่นำไปปฏิบัติที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนรวมทั้งศึกษาวิจัยเนื้อหาสาระและวิธีการสอนตามความต้องการของนักเรียนสิ่งต่างๆเหล่านี้สะท้อนให้เห็นการปฏิบัติการสอนที่ดีที่สุดในชั้นเรียนที่ยึดมาตรฐานเป็นเกณฑ์
          หลักการที่ ประสบการพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้หลักการสำคัญของยุโรปที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ได้ดังนี้
                   มาตรฐานเน้นการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทุกคนและทุกวัย
                   ผู้เรียนทุกคนสรรค์สร้างการเรียนรู้ใหม่ๆได้
                   ผู้เรียนเรียนรู้จากผู้อื่นและเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้โดยการค้นคว้าและการฝึกคิดทบทวน
                   การประเมินผล ก็ให้เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้
          หลักการที่ ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพส่งเสริมครูให้มีบทบาทเป็นผู้นำกล่าวคือครูต้องมีภาวะความเป็นผู้นำในระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานบทบาทผู้นำอย่างเป็นทางการของครูคือบทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษาครูควรเป็นผู้ตัดสินใจในการคัดเลือกทีมงานวางแผนการสอนคัดเลือกเนื้อหาโดยเน้นผลการเรียนรู้ของผู้เรียนครูควรเป็นผู้นำในการกำหนดมาตรฐานกำหนดกลยุทธ์การสอนและการประเมินผลวิเคราะห์ผลงานของนักเรียน
          หลักการที่ ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพสร้างความเชื่อมโยงกับหน่วยงานการศึกษาอื่นการเชื่อมโยงด้วยมาตรฐานคือวิธีการดำเนินงานที่เป็นระบบฉะนั้นองค์ประกอบและการตัดสินใจล้วนส่งผลต่อส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
          หลักการที่ ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพเพื่อประเมินและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานความมีประสิทธิผลวัดได้จากพัฒนาการของนักเรียนความมีประสิทธิผลรวมถึงความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนทุกคนและความเสมอภาค(ลดช่องว่างผลสัมฤทธิ์ที่แตกต่างกันระหว่างผู้เรียน) หรือทั้งสองอย่าง ผลการวางแผนการสอนจะต้องพิจารณาความก้าวหน้าของนักเรียนอย่างต่อเนื่องและปรับปรุงโดยใช้ผลการเรียนรู้ของนักเรียน