สาระที่ ๗
ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว ๗.๒ เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ
ด้านการเกษตรและการสื่อสาร
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
|
ผู้เรียนรู้อะไร
|
ผู้เรียนทำอะไรได้
|
๑. สืบค้นอภิปรายความก้าวหน้าและประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ
|
๑. ความก้าวหน้าของจรวด ดาวเทียมและยานอวกาศ
๒. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ ได้นำมาใช้ในการสำรวจข้อมูลของวัตถุในท้องฟ้า
ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสุริยะทั้งในและนอกระบบสุริยะเพิ่มขึ้นอีกมากมาย และยังมีประโยชน์ในการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การสื่อสาร การสำรวจสภาพอากาศ ด้านการแพทย์
และด้านอื่น ๆ อีกมากมาย
|
ตั้งคำถาม สังเกต
วางแผนการสืบค้น สืบค้นข้อมูล รวบรวมข้อมูล บันทึกข้อมูล
อภิปรายเกี่ยวกับความก้าวหน้าและประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศในด้านต่าง ๆ จัดทำรายงานนำเสนอ
|
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
ดาราศาสตร์และอวกาศ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เรื่อง ข้างขึ้น ข้างแรม
กิจกรรมการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้มี 6
ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นเกริ่นนำ ให้นักเรียนร้องเพลง เล่านิทาน เล่นเกม หรือทำกิจกรรมเกี่ยวกับปรากฏการณ์ข้างขึ้น ข้างแรม เช่น ให้นักเรียนร้องเพลง จันทร์ แล้วร่วมกันแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกที่มีต่อเพลง เพลง จันทร์ จันทร์คืนแรมวับแวมอยู่บนปลายฟ้า คงล้าอ่อนแรงทอแสง อ่อนเว้าครึ่งดวง คืนเหงามันเศร้า มันซึมในทรวง จันทร์เพียงครึ่งดวง คล้ายจันทร์เจ้ารอใคร จันทร์คืนแรมวับแวมอยู่เพียงครึ่งใบ คงยังกับใจฉันมีอยู่เพียงครึ่ง ดวง คอยรักที่จะเติมเต็มในทรวง โอ้ใจครึ่งดวง เฝ้ารอมาเนิ่นนาน จันทร์เอ๋ยจันทร์ที่ลอยเด่นฟ้า จะมีน้ำตาหลั่งมาเหมือนฉันบ้างไหม ความรักมันช่างห่างไกลแสนไกล ไม่รู้วันไหน หัวใจถึงจะเต็มดวง คงมีวันที่จันทร์เจ้าจะเต็มใบ แต่ว่าหัวใจฉันจะมีไหมวันนั้น ฤารักฉันจะเป็นเพียงความฝัน ไม่มีวันนั้น วันที่ใจเต็มดวง 2. ขั้นประสบการณ์ ให้นักเรียนทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ข้างขึ้น ข้างแรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 เรื่อง ปรากฏการณ์ข้างขึ้น ข้างแรม 1. ครูให้ตัวแทนนักเรียนออกมาเล่าประสบการณ์จากการสังเกตดวงจันทร์ว่า แต่ละคืนลักษณะและตำแหน่งของดวงจันทร์ที่มองเห็นเป็นอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร พร้อมกับวาดภาพแสดงลักษณะและตำแหน่งของดวงจันทร์ บนกระดาน 2. ครูตั้งคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ เช่น - เพราะเหตุใด ลักษณะของดวงจันทร์จึงแตกต่างกันในแต่ละคืน - เราเรียกปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์มีรูปร่างแตกต่างกันในแต่ละคืนว่าอะไร - คืนที่มองไม่เห็นดวงจันทร์เลย ท้องฟ้าจะมีลักษณะอย่างไร 3. ให้นักเรียนทดลองเพื่อศึกษาการเกิดปรากฏการณ์ข้างขึ้น ข้างแรม โดยใช้ไม้เสียบดินน้ำมันขนาดเท่าลูกปิงปอง ให้นักเรียนคนหนึ่งถือและยกชูขึ้นไปข้างหน้า เหนือศีรษะเล็กน้อย หันหน้าเข้าไฟฉายที่เพื่อนถือไว้ หมุนตัวไปทางซ้ายอย่างช้าๆ แล้วสังเกตแสงที่ผิวดินน้ำมันขณะหมุนตัว บันทึกผลพร้อมกับวาดภาพประกอบ จากนั้นช่วยกันตอบคำถามหลังการทดลอง สรุปผลการทดลองจัดทำเป็น ผลงานชิ้นที่ 13.1 ข้างขึ้น ข้างแรมจำลอง หน้า 275 4. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปปรากฏการณ์ที่มองเห็นดวงจันทร์ มีส่วนสว่างเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละคืน เรียกว่า ข้างขึ้น ข้างแรม ซึ่งช่วงที่มองเห็นดวงจันทร์ เรียกว่า ข้างขึ้น ส่วนช่วงที่มองเห็นดวงจันทร์น้อยลงจนมองไม่เห็นพระจันทร์เลย เรียกว่า ข้างแรม กิจกรรมที่ 2 เรื่อง ปรากฏการณ์ข้างขึ้น ข้างแรม 1. ครูทบทวนปรากฏการณ์ข้างขึ้น ข้างแรมจากการทดลอง โดยครูตั้งคำถามให้นักเรียนตอบ เช่น - การที่ตำแหน่งและลักษณะของดวงจันทร์บนท้องฟ้าเปลี่ยนไป เป็นเพราะเหตุใด - ตำแหน่งของดวงจันทร์บนท้องฟ้าเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของโลกหรือไม่ อย่างไร - ข้างขึ้น ข้างแรม เกิดขึ้นได้อย่างไร 2. ให้นักเรียนศึกษาแผนภาพการเกิดข้างขึ้น ข้างแรมจากใบความรู้ที่ 13 และศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการหมุนรอบตัวเองและการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ แล้วให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มออกแบบแสดงการเกิดข้างขึ้น ข้างแรม จากการหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ 3. ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาแสดงการหมุนตามที่ออกแบบ จากนั้นร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปว่า ปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์มีส่วนสว่างเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละคืน เนื่องจากดวงจันทร์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ที่เรามองเห็นแสงจากดวงจันทร์ได้ เพราะแสงจากดวงอาทิตย์ส่องมากระทบดวงจันทร์แล้วสะท้อนมาสู่โลก ดังนั้นเรามองเห็นดวงจันทร์ได้เพราะดวงจันทร์สะท้อนแสงดวงอาทิตย์มายังโลก แต่การโคจรรอบโลกทำให้การมองเห็นแสงสะท้อนจากดวงจันทร์ในแต่ละเวลาไม่เหมือนกัน 4. ให้นักเรียนศึกษาลักษณะแสงสะท้อนจากดวงจันทร์ในช่วงวันที่ต่างกัน โดยดูปฏิทินว่า วันข้างขึ้น ข้างแรมที่กำหนดให้ตรงกับวันที่เท่าไร แล้วสังเกตลักษณะของดวงจันทร์ที่สะท้อนแสงมายังโลกในวันดังกล่าว วาดภาพดวงจันทร์ตามที่สังเกตเห็น สรุปผลการทำกิจกรรม จัดทำเป็น ผลงานชิ้นที่ 13.2 ดวงจันทร์เปลี่ยนไป หน้า 276 กิจกรรมที่ 3 เรื่อง ปรากฏการณ์ข้างขึ้น ข้างแรม 1. ครูตั้งคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบเกี่ยวกับระยะเวลาในการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ และลักษณะแสงสะท้อนจากดวงจันทร์ในวันต่างๆ ดังนี้ - ดวงจันทร์ใช้เวลาในการโคจรรอบโลกนานเท่าใด - ขณะดวงจันทร์อยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก จะมองเห็นดวงจันทร์หรือไม่ เพราะอะไร - ขณะดวงจันทร์อยู่ตรงกับโลกและดวงอาทิตย์ จะมองเห็นดวงจันทร์ลักษณะใด 2. ครูให้นักเรียนสังเกตดวงจันทร์ต่อเนื่องกันทุกคืน แล้ววาดภาพดวงจันทร์ที่สังเกตเห็นตามความเป็นจริง บันทึก วัน เดือน ปี ที่สังเกต พร้อมกับบอกประโยชน์ที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้ สรุปผลการทำกิจกรรม จัดทำเป็น ผลงานชิ้นที่ 13.3 สังเกตดวงจันทร์ หน้า 276 กิจกรรมที่ 4 เรื่อง ปรากฏการณ์ข้างขึ้น ข้างแรม 1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มผลัดกันบอกข้อความที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลา เพื่อให้อีกกลุ่มวาดภาพลักษณะของดวงจันทร์ในช่วงเวลานั้น แล้วช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน 2. ให้นักเรียนอ่านข้อความที่กำหนดให้ แล้ววาดภาพลักษณะของดวงจันทร์ พร้อมกับระบายสีให้ตรงกับความเป็นจริง จัดทำเป็น ผลงานชิ้นที่ 13.4 ดวงจันทร์ในช่วงเวลาต่างๆ หน้า 277 3. ขั้นสะท้อนความคิด 1. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ส่งตัวแทนออกมารายงานผลการทำกิจกรรมที่ 1 – 4 2. ให้นักเรียนนำเสนอ ผลงานชิ้นที่ 13.1 - 13.4 จากนั้นนำผลงานมาจัดป้ายนิเทศ 4. ขั้นทฤษฎี 1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมที่ 1 - 4 (ผลงานชิ้นที่ 13.1 - 13.4)ถ้านักเรียนรายงานผลการทำกิจกรรมในขั้นสะท้อนความคิดไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ให้ครูเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง 2. ครูให้นักเรียนศึกษาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมจาก ใบความรู้ที่ 13 บทที่ 1 ข้างขึ้น ข้างแรม และสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษา 5. ขั้นนำไปใช้ กิจกรรมที่ 5 เรื่อง ข้างขึ้น ข้างแรม 1. ให้นักเรียนอภิปรายกลุ่มว่า จะนำความรู้ที่ได้จากการเรียนเรื่อง ข้างขึ้น ข้างแรม ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร 2. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคติความเชื่อของคนเกี่ยวกับดวงจันทร์ เลือก 1 เรื่อง แล้วนำเสนอในรูปแบบต่างๆ ตามความคิดสร้างสรรค์ เช่น หนังสือเล่มเล็ก บทความ สมุดภาพจัดทำเป็น ผลงานชิ้นที่ 13.5 คติความเชื่อจากดวงจันทร์ หน้า 277 6. ขั้นสรุป 1. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบ บทที่ 1 ข้างขึ้น ข้างแรม จากนั้นครูตรวจแบบทดสอบพร้อมกับเฉลยคำตอบ 2. ให้นักเรียนสรุปบทเรียนโดยเขียนเป็นแผนผังความคิด 3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการทำกิจกรรมในขั้นที่ 1 – 5 4. ให้นักเรียนร่วมกันร้องเพลง จันทร์ 5. ให้นักเรียนอภิปรายและซักถามเพิ่มเติม แล้วเก็บ ผลงานชิ้นที่ 13.1 - 13.5 ในแฟ้มผลงานนักเรียน จากนั้นครูนัดหมายการเรียนครั้งต่อไป |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น