วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

กลยุทธ์การสอนที่มีประสิทธิภาพ ตามเเนวคิด ของมาร์ซาโน


 มาร์ซาโน (Marzano. 2001 : 30 – 60) ได้พัฒนารูปแบบจุดมุ่งหมายทางการศึกษารูปแบบใหม่ ประกอบด้วยความรู้สามประเภทและกระบวนการจัดกระทำข้อมูลระดับดังนี้
ประเภทของความรู้3ประเภท
1.  ข้อมูล   เน้นการจัดระบบความคิดเห็นจากข้อมูลง่ายสู่ข้อมูลยากเป็นระดับความคิด รวบยอด ข้อเท็จจริงลำดับเหตุการณ์ สมเหตุและผลเฉพาะเรื่องและหลักการ   
2.  กระบวนการ   เน้นกระบวนการเพื่อการเรียนรู้จากทักษะสู่กระบวนการอัตโนมัติอันเป็น ส่วนหนึ่งของความสามารถที่สั่งสมไว้   
3.  ทักษะ   เน้นการเรียนรู้ที่ใช้ระบบโครงสร้างกล้ามเนื้อจากทักษะง่ายสู่กระบวนการที่ซับซ้อนขึ้นกระกระบวนการจัดกระทำกับข้อมูลมี 6ระดับดังนี้
ระดับที่ 1 ขั้นรวบรวม  เป็นการคิดทบทวนความรู้เดิมรับข้อมูลใหม่และเก็บเป็นคลังข้อมูลไว้เป็นการถ่ายโยงความรู้จากความจำถาวรสู่ความจำนำไปใช้ปฏิบัติการโดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจโครงสร้างของความรู้นั้น
ระดับที่ 2 ขั้นเข้าใจ  เป็นการเข้าใจสาระที่เรียนรู้สู่การเรียนรู้ใหม่ในรูปแบบการใช้สัญลักษณ์ เป็นการสังเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานของความรู้นั้นโดยเข้าใจประเด็นสำคัญ
ระดับที่ขั้นวิเคราะห์  เป็นการจำแนกความเหมือนและความแตกต่างอย่างมีหลักการ การจัดหมวดหมู่ที่สัมพันธ์กับความรู้การสรุปอย่างสมเหตุสมผลโดยสามารถบ่งชี้ข้อผิดพลาดได้การประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่โดยใช้ฐานความรู้และการคาดการณ์ผลที่ตามมาบนพื้นฐานของข้อมูล
ระดับที่ขั้นใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์  เป็นการตัดสินใจในสถานการณ์ที่ไม่มีคำตอบชัดเจน การแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยาก การอธิบายปรากฏการณ์ที่แตกต่าง และการพิจารณาหลักฐานสู่การสรุป สถานการณ์ที่มีความซับซ้อน การตั้งข้อสมมุติฐานและการทดลองสมมุติฐานนั้นบนพื้นฐานของความรู้  
ระดับที่ขั้นบูรณาการความรู้  เป็นการจัดระบบความคิดเพื่อบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนด การกำ กับติดตามการเรียนรู้และการจัดขอบเขตการเรียนรู้
ระดับที่ 6 ขั้นจัดระบบแห่งตน  เป็นการสร้างระดับแรงจูงใจต่อภาวะการณ์เรียนรู้และภาระ งานที่ได้รับมอบหมายในการเรียนรู้รวมทั้งความตระหนักในความสามารถของการเรียนรู้ที่ตนมี   ขั้นการคิดวิเคราะห์ของมาร์ซาโน (Marzano. 2001 :อ้างอิงจาก ประพันธศิริ สุเสารัจ.  58) จำแนกเป็น   
1.  ทักษะการจำแนก  เป็นความสามารถในการแยกแยะส่วนย่อยต่างๆ ทั้งเหตุการณ์ เรื่องราวสิ่งของออกเป็นส่วน
ย่อย ๆ ให้เข้าใจง่ายอย่างมีหลักเกณฑ์สามารถบอกรายละเอียดของสิ่งต่างๆได้  
2.  ทักษะการจัดหมวดหมู่ เป็นความสามารถในการจัดประเภท จัดลำดับ จัดกลุ่มของสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเข้าด้วยกัน โดยยึดโครงสร้างลักษณะหรือคุณสมบัติที่เป็นประเภทเดียวกัน
3.  ทักษะการเชื่อมโยง  เป็นความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ ว่าสัมพันธ์กันอย่างไร  
4.  ทักษะการสรุปความ เป็นความสามารถในการจับประเด็นและสรุปผลจากสิ่งที่กำหนดให้   
5.  การประยุกต์เป็นความสามารถในการนำความรู้หลักการและทฤษฎีมาใช้ใน สถานการณ์ต่าง ๆ สามารถคาดการณ์ กะประมาณ พยากรณ์ ขยายความ คาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
          หลักการสอน  คือ  ผู้สอน  วิธีการสอน และการเรียนรู้ บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม  ต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ผู้สอนจะต้องมีจรรยาบรรณแห่งความเป็นครู วิธีการสอนคือกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียนจะต้องสอดคล้อง เหมาะสม  เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี    เพื่อให้การสอนบรรลุตามเป้าหมาย ผู้สอนต้องเตรียมการสอนมาอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทุกด้าน จัดการสอนอย่างมีกระบวนการ และให้ครบองค์ประกอบการสอน  ได้แก่ การตั้งจุดประสงค์การสอน การกำหนดเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อการสอน และการวัดผลประเมินผล ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์  ตรงตามจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตร  นอกจากนี้ผู้สอนควรได้คำนึงถึงหลักพื้นฐานในการสอน ลักษณะการสอนที่ดี และปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดจนรู้จักใช้หลักการสอนให้สอดคล้องกับหลักการเรียนรู้หลักจิตวิทยาบรรยากาศเป็นประชาธิปไตย  ก็จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
ลักษณะการสอนที่ดี  การสอนที่ดีต้องมีองค์ประกอบร่วมกันหลายประการ ที่เหมาะสมสอดคล้อง
กัน แยกลักษณะ ได้ดังนี้
 อาจารย์ผู้สอน
      1.มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพครู
             - อุทิศเวลาและเสียสละให้กับงานสอนด้วยความรับผิดชอบ
             - สอนอย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
             - ช่วยเหลือและปฏิบัติต่อศิษย์อย่างเป็นธรรม
             - เป็นตัวอย่างที่ดีของศิษย์
             - หมั่นศึกษาค้นคว้าติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการของตนให้ทันต่อเหตุการณ์เสมอ
       2.มีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นครู และ ตั้งใจสอน
       3.ลักษณะอาจารย์อาจารย์   ควรมีลักษณะท่าทางที่จริงใจ มีเมตตา สนใจต่อผู้เรียนให้ความ
      เป็นกันเอง
        4.ไม่ควรยึดมั่นในวิธีสอนวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียว ควรเสาะหาวิธีที่เหมาะสมกับการสอน
      แต่ละเนื้อหา
        5.ถ่ายทอดความรู้ได้อย่างชัดเจน  เข้าใจง่าย 
วิธีการสอน
  1..ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน ในด้านวัย ประสบการณ์เดิมและความแตกต่าง
    ระหว่างบุคคลเป็นหลัก
  2. ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีการเรียนด้วยการกระทำ (Learning by Doing) ให้มากที่สุด เพื่อ
    จะได้เกิดการเรียนรู้ที่ดี  และจำได้นาน
  3. ส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม  ได้แสดงความคิดเห็น ยอมรับความ
      คิดเห็นซึ่งกันและกัน
  4. มีการตอบสนองความต้องการของนักเรียน เรียนด้วยความสุข ความสนใจ กระตือรือร้น
      ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
  5. การจัดเตรียมกระบวนการเรียนการสอน  การจัดห้องเรียน  การเตรียมความรู้  ใช้ตำรา
      ประกอบการเรียน  มีทักษะในการสอนแบบต่าง ๆได้เหมาะสมกับเนื้อหา
  6. มีกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเร้าความสนใจ ผู้เรียนสนุกสนาน ได้ลงมือปฏิบัติจริงและดู
      ผลการปฏิบัติของตนเอง
  7. มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ ด้วยการซักถาม หรือให้แสดงความ
      คิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาง่าย ๆ  คิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ และพิจารณาความสัมพันธ์ของ
      สิ่งต่าง ๆ
   8. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดค้นหาเหตุผลความเป็นไปของสิ่งที่เรียน ไม่ใช่ข้อเท็จจริง
       จากตำราหรือคำบอกเล่าอย่างเดียว
   9.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินกิจกรรม และการประเมินผล
       การเรียนการสอน
  10. มีการส่งเสริมความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ส่งเสริมการคิดทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีมีประโยชน์ไม่
        เลียนแบบใคร ส่งเสริม กิจกรรมสุทรียภาพ ร้อยกรอง วาดภาพ และแสดงละคร
  11. มีการใช้การจูงใจ ในระหว่างเรียน เช่น รางวัล การชมเชย  คะแนนแข่งขัน การลงโทษ
        ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนใจ ตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรในการเรียนและทำกิจกรรม
  เนื้อหาวิชา
1. มีความสัมพันธ์กันระหว่างวิชาที่เรียนกับวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตรเป็นอย่างดี(การสอน
แบบบูรณาการ)
 สื่อการสอน
      1.อุปกรณ์การสอนและการเรียน  รวมถึงห้องปฏิบัติการ  การใช้เครื่องมือต่าง    มีห้องสมุดที่ สมบูรณ์  และตำราที่เป็นภาษาของตนเอง
      2. มีการใช้สื่อการสอน จำพวกโสตทัศนวัสดุ เพื่อเร้าความสนใจ ช่วย ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น
 สิ่งแวดล้อม
      1.ต้องสร้างบรรยากาศให้เหมาะแก่การเรียนรู้ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและอารมณ์ของผู้เรียน

.     2. มีการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแบบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นมีการ
  รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ยกย่องความ คิดเห็น ที่ดี นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกับครู
   
การเรียนการสอนของรูปแบบนี้ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ๆ 5 ขั้นดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำ
1.1 ผู้สอนแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียนและระดับการเรียนรู้ หรือพฤติกรรมการเรียนรู้ที่
คาดหวังแก่ผู้เรียน
1.2 ผู้สอนชี้แจงสาระของบทเรียน และความสัมพันธ์กับความรู้และประสบการณ์เดิม
ของผู้เรียนอย่างคร่าว ๆ
1.3 ผู้สอนชี้แจ้งกระบวนการเรียนรู้ และหน้าที่รับผิดชอบของผู้เรียนในการเรียนแต่ละ
ขั้นตอน
 ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอบทเรียน
2.1 หากเป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระ ข้อความรู้หรือมโนทัศน์ผู้สอนควรกลั่นกรองและกลัด
คุณสมบัติเฉพาะของมโนทัศน์เหล่านั้น และนำเสนออย่างชัดเจนพร้อมทั้งอธิบายและยกตัวอย่างประกอบให้ผู้เรียนเข้าใจ ต่อไปจึงสรุปคำนิยามของมโนทัศน์เหล่านั้น
2.2 ตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์ก่อนให้ผู้เรียนลงมือฝึกปฏิบัติ หากผู้เรียนยังไม่เข้าใจ ต้องสอนซ่อมเสริมให้เข้าใจก่อน
ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกปฏิบัติตามแบบ ( structured practice )
ผู้สอนปฏิบัติให้ผู้เรียนดูเป็นตัวอย่าง ผู้เรียนปฏิบัติตาม ผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับ ให้การเสริมแสงหรือแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียน
ขั้นที่ 4 ขั้นปฏิบัติภายใต้การกำกับของผู้ชี้แนะ ( guided practice )
ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยผู้สอนคอยดูแลอยู่ห่าง ๆ ผู้สอนจะสามารถประเมินการเรียนรู้และความสามารถของผู้เรียนได้จากความสำเร็จและความผิดพลาดของการปฏิบัติของผู้เรียน และช่วยเหลือผู้เรียน โดยให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ
ขั้นที่ 5 การฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ ( independent practice )
หลังจากที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นที่ 4 ได้ถูกต้องประมาณ 85-90 % แล้ว ผู้สอนควรปล่อยให้ผู้เรียนปฏิบัติต่อไปอย่างอิสระ เพื่อช่วยให้เกิดความชำนาญและการเรียนรู้อยู่คงทน ผู้สอนไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลป้อนกลับในทันที สามารถให้ภายหลังได้การฝึกในขั้นนี้ไม่ควรทำติดต่อกันในครั้งเดียว ควรมีการฝึกเป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยให้การเรียนรู้อยู่คงทนขึ้น
 ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
 การเรียนการสอนแบบนี้ เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ตรงไปตรงมา ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งทางด้านพุทธิพิสัย และทักษะพิสัยได้เร็วและได้มากในเวลาที่จำกัด ไม่สับสนผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตามความสามารถของตน จนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียน และมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
 ข้อเสีย
     การสอนวิธีนี้มีช่องโหว่อยู่ที่ว่า มุ่งจะให้นักเรียนพูดอย่างเดียว แต่ไม่ได้ระวังในเรื่องโครงสร้างของประโยคให้การสอนดำเนินไปตามลำดับขั้นของความยากง่าย บางทีครูอาจจะนำเอาประโยคที่ยาก ๆ สลับซับซ้อนมาสอนก่อนประโยคธรรมดา หรือมิฉะนั้นประโยคที่นักเรียนฝึกในชั่วโมงนั้น อาจจะไม่มีประโยคที่ซ้ำกันเลย นักเรียนจะไขว้เขวได้ง่ายที่สุด
     การใช้วิธีนี้สอน ครูจะต้องเป็นผู้พูดภาษาอังกฤษได้คล่องและถูกต้อง มิฉะนั้นแล้วนักเรียนก็จะเรียนแบบประโยคที่ผิด ๆ
     การเรียนวิธีนี้ให้ได้ผล นักเรียนที่มีอยู่ในชั้นจะต้องมีจำนวนไม่มากนัก และชั่วโมงที่เรียนไม่ควรจะน้อยกว่าสัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกหัดอย่างเพียงพอ และครูได้อยู่ใกล้ชิดกับนักเรียนอย่างทั่วถึง
     อนึ่ง ครูผู้สอนโดยวิธีนี้มักจะคิดว่า การเรียนไวยากรณ์นั้นไม่ทำให้การเรียนภาษาอังกฤษได้ผลขึ้น โดยเข้าใจว่า เวลาที่คนใช้ภาษาของตนเองจริง ๆ เช่น ภาษาไทยก็ไม่มีใครท่องกฎเกณฑ์ ครูพวกนี้จึงไม่สอนไวยากรณ์เอาเสียเลย ตามความจริงแล้วปรากฏว่าการเรียนภาษาต่างประเทศนั้นจะเรียนได้เร็วและง่ายเข้าถ้าผู้เรียนได้เข้าใจในเรื่องโครงสร้างของภาษาที่ตนเรียน
     เนื่องจากในการเรียน ครูอธิบายศัพท์ด้วยการใช้อุปกรณ์การสอนและท่าทางประกอบแต่ถ้าสิ่งใดที่ละเอียดลึกซึ้งและเป็นนามธรรมครูก็มักจะข้ามไปเสีย เพราะดังได้กล่าวมาแล้วว่า ในชั้นเรียนนั้นครูจะใช้เฉพาะภาษาอังกฤษ ครูจะไม่ใช้ภาษาไทยอธิบายเป็นอันขาด ดังนั้นจึงมีคำเป็นส่วนมากที่ครูอธิบายและปล่อยให้นักเรียนเข้าใจความหมายเอาเอง ซึ่งอาจจะผิดบ้าง ถูกบ้าง
     ข้อที่มีผู้ติวิธีสอนแบบนี้มากก็คือ บางที่การอธิบายเป็นภาษาอังกฤษนั้นเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ คำศัพท์คำเดียวกันนั้น ถ้าอธิบายเป็นภาษาของผู้เรียนเสียเลยนักเรียนก็จะเข้าใจทันทีไม่ต้องเสียเวลาให้นักเรียนเดา
ข้อดี
     ถึงแม้ว่าการสอนวิธีนี้จะมีข้อบกพร่องต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่เมื่อเทียบกับการสอนแบบแปลแล้วก็นับว่ามีประโยชน์กว่าแบบแปลมาก ในด้านที่ว่านักเรียนได้รับการฝึกให้พูด นักเรียนที่มีพื้นฐานในการพูดดีก็สามารถเรียนการอ่านและการเขียนได้ง่ายและละเอียดกว่านักเรียนที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น