BLOOM’S TAXONOMY(บลูมส์)
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของบลูม
ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning
theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง
การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ
โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน
หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข
และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน
รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge)
ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
ความเข้าใจ (Comprehend)
การประยุกต์ (Application)
การวิเคราะห์ ( Analysis)
สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
การสังเคราะห์ ( Synthesis)
สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม
เน้นโครงสร้างใหม่
การประเมินค่า ( Evaluation)
วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด
ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
Bloom กล่าวว่า เมื่อเกิดการเรียนรู้ในแต่ละครั้งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
3 ประการ จึงจะเป็นการเรียนรู้ที่สมบูรณ์
คือ
1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้
ความคิด ความเข้าใจ (Cognitive Domain)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมอง
เช่น การเรียนรู้ความคิดรวบยอด
2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์
หรือความรู้สึก (Affective Domain) หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ เช่น ความเชื่อ
ความสนใจ เจตคติ
ค่านิยม
3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย
(Psychomotor Domain ) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายเพื่อให้เกิดความชำนาญ หรือทักษะ เช่น การว่ายน้ำ เล่นกีฬาต่างๆ เล่นดนตรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น