วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การปรับปรุงจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม



ตาราง 1 เปรียบเทียบ Bloom’s Taxonomy 1956 และ 2001

New Version(Bloom’s Taxonomy 2006)
Old Version(Bloom’s Taxonomy1956)
Creating(สร้างสรรค์)
Evaluation(ประเมินค่า)
Evaluating(ประเมินค่า)
Synthesis(การสังเคราะห์)
Analysing(วิเคราะห์)
Analysis(การวิเคราะห์)
Applying(นำไปใช้)
Application(การนำไปใช้)
Understanding(เข้าใจ)
Comprehension(ความเข้าใจ)
Remembering(จำ)
Knowledge(ความรู้ความจำ)

          สรุปการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงในระดับคำศัพท์และระดับโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับคำศัพท์ เป็นดังนี้
          จุดประสงค์การศึกษาของหลักสูตรที่อิงมาตรฐาน(standards – based curriculum) จะระบุ ในลักษณะว่า ผู้เรียนควรรู้และทำอะไรได้(เป็นกริยาในสิ่งใด(เป็นคำนามแต่ในปี 1956 บลูม
(Bloom)ใช้คำนามในการอธิบายความรู้ประเภทต่าง ๆ ต่อมาในฉบับปรับปรุง ปี 2006 พฤติกรรม
ย่อยจึงระบุเป็นกริยา และมีการปรับเปลี่ยนคำว่าความรู้ (knowledge) เป็น ความจำ(remember)
ในฉบับปรับปรุงได้จัดความรู้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 
1.ข้อเท็จจริง (factual) 
2.มโนทัศน์ (concept) 
3.กระบวนการ(procedural) 
4.ความรู้ที่เกิดจากตนเอง (metacognition)
          ขั้นพฤติกรรมหลักในกรอบเดิม 2 ขั้น คือความเข้าใจ (comprehension) เปลี่ยนเป็ น
เข้าใจความหมาย (understand) และการประเมิน (evaluation) เป็น สร้างสรรค์ (create)
วัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลง คือ
         1. กรอบแนวคิดเดิมผู้พัฒนาส่วนใหญ่เป็นผู้ออกข้อสอบในวิทยาลัย/มหาวิทยาลัย กรอบ
แนวคิดเดิมจึงให้ตัวอย่างข้อสอบในแต่ละขั้นพฤติกรรม แต่ฉบับปรับปรุงจัดทำเพื่อให้ครูผู้สอนใน
ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาใช้เพื่อประโยชน์ในการออกแบบรายวิชา วางแผนการสอน และ
การประเมินให้สอดคล้องกันทั้ง 3 ด้าน
        2 ให้ตัวอย่างภาระงานการประเมินที่อธิบายความหมายของแต่ละพฤติกรรมให้ชัดเจน
มิใช่ใช้ข้อสอบเป็นตัวอธิบายความหมาย
        3. ยุติข้อที่เป็นประเด็นถูกวิพากษ์วิจารณ์ที่กำหนดว่าผู้เรียนต้องพัฒนาตามลำดับขั้นจาก
พื้นฐานสะสมขึ้นไป โดยไม่สามารถก้าวไปสู่การใช้ความคิดระดับสูงได้ ถ้าไม่ได้ผ่านขั้นที่ต่ำกว่า
ถัดไป ซึ่งแอนเดอร์สัน และแครทโฮล (Anderson & Krathwohl) เสนอว่าจากการศึกษาสนับสนุน
เฉพาะใน 3 ขั้นของ บลูม(Bloom) คือ ขั้นความเข้าใจ ขั้นการนำไปใช้ และขั้นการสังเคราะห์ต้องสั่ง
สมเป็นลำดับ แต่ทั้งสองคนก็ยังยืนยันในกรอบแนวคิดที่ปรับปรุงใหม่ว่าในภาพรวมแล้วจะต้อง
พัฒนาเป็นลำดับ และใช้คำถามทั้ง 4 คำถามจุดประกายความคิดของครูในการนำกรอบแนวคิดใหม่
นี้ไปใช้ในห้องเรียน คำถามทั้ง 4 ประกอบด้วย
1) คำถามด้านการเรียนรู้ : อะไรคือสิ่งสำคัญที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ภายในเวลาเรียนที่
จำกัดที่จัดในชั้นเรียนและภาคเรียน
2) คำถามด้านการสอน : เราจะวางแผนและจัดการเรียนการสอนอย่างไรที่จะทำให้
ผู้เรียนจำนวนมาก ๆ มีผลลัพธ์ของการเรียนรู้ในระดับสูง
3) คำถามด้านการประเมิน : เราจะเลือกหรือออกแบบเครื่องมือการประเมินและใช้
วิธีการประเมินอย่างไรที่จะทำให้ได้ข้อมูลอย่างถูกต้องว่าผู้เรียนกำลังเรียนรู้ได้ดีเพียงใด
4) คำถามด้านความสอดคล้อง : เราจะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่าจุดประสงค์การเรียนการสอน
และการประเมินผลมีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น