วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

KPA ย่อมาจาก Knowledge Practice Attitude

KPA ย่อมาจาก Knowledge Practice Attitude
KPA หมายถึง เกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ประกอบด้วยการประเมินด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะและการปฏิบัติ (Practice) และด้านเจตคติหรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude) การประเมินจะแบ่งตามลักษณะของรายวิชาด้วยเครื่องมือที่แตกต่างกันไปเช่น การประเมินด้านความรู้ (K) จะนิยมใช้แบบทดสอบในการประเมิน ในขณะที่การประเมินด้านทักษะ (P) จะใช้ภาระงานหรือชิ้นงานมาประกอบกับเกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics) มาประเมิน ส่วนด้านเจตคติ (A) จะใช้การประเมินตามสภาพจริงซึ่งมีความซับซ้อนกว่า 2 อย่างแรก

คำว่า “ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง” นั้นเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่นักเรียน หลังจากผ่านกระบวนการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้แต่ละปีหรือแต่ละภาคค่ะ ซึ่งเรานิยมเขียนแสดงไว้ในคำอธิบายรายวิชา เวลาเขียนต้องให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ มีคำกริยาที่แสดงสมรรถนะความรู้ (K-Knowledge) แสดงความสามารถที่เป็นทักษะกระบวนการ (P-Process) และแสดงคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม (A-Attitude)  อย่างเช่น
                             1.  อ่านคำที่มีอักษรนำ อักษรควบ คำที่มีตัวการันต์ และการผันวรรณยุกต์ได้ถูกต้อง อ่านได้ชัดเจน จำคำได้แม่นยำและเข้าใจหลักการอ่าน นำไปสู่การเขียนคำได้ถูกต้อง
                             2. เขียนอย่างมีมารยาทโดยใช้ภาษาที่สุภาพรับผิดชอบต่อการเขียน และใช้แหล่งอ้างอิง และมีนิสัยรักการเขียน
                    จะเห็นว่าข้อ 1 มีทั้ง K และ P ส่วนข้อ 2 แสดง A ซึ่งในขณะเดียวกันก็มี K และ Pซ่อนอยู่ด้วยนะคะ

                  มาถึงคำว่า “จุดประสงค์การเรียนรู้” ตัวนี้กำหนดไว้เพื่อเป็นขอบเขตในการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้นั้น ๆ และมุ่งให้เกิดผลในแต่ละรายการที่ระบุค่ะ การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ควรแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายของการเรียนรู้ที่เป็นภาระงานและพฤติกรรมที่ผู้เรียนพึงแสดงออกในระดับต่าง ๆ ที่สำคัญนั้นจุดประสงค์การเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่กำหนดไว้ ซึ่งจะครอบคลุมทั้งด้านความรู้ (K-Knowledge) ทักษะ/กระบวนการ((P-Process) และคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม (A-Attitude) ด้วยเช่นกัน เพื่อให้เห็นความสอดคล้องกันกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ระบุไว้ข้างต้น ดิฉันจะลองยกตัวอย่างจุดประสงค์การเรียนรู้สัก 4 ข้อนะคะ
         1. อ่านสะกดคำ อ่านคำ ผันอักษรจากนิทานที่อ่าน และเข้าใจความหมาย
         2. อ่าน เขียนคำ สำนวนโวหารจากเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง
         3. นำคำมาแต่งประโยค เรียบเรียงประโยค ข้อความ ใช้สื่อความหมายได้ตรงตามจุดประสงค์และหลักเกณฑ์การเขียน
         4. ใช้ห้องสมุดเพื่อค้นคว้าในการอ่านและเขียน มีนิสัยรักการอ่านและเขียน มีมารยาทในการใช้ห้องสมุด
               ถามว่า...แล้วผิดไหมที่บางคนมาแนะนำให้เราใช้คำว่า “ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังแทนคำว่า “จุดประสงค์การเรียนรู้” ก็ไม่ผิดเลยทีเดียว เพราะดูจากรูปลักษณ์แล้วทั้งสองตัวนี้ เป็นเป้าหมายที่ครูต้องการให้เกิดกับตัวผู้เรียน หากแต่ “ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง” เป็นเป้าหมายใหญ่ที่ต้องการเห็นในปลายปีหรือภาค ส่วน “จุดประสงค์การเรียนรู้” เป็นเป้าหมายย่อยที่เราต้องการเห็นเมื่อจบการเรียนรู้ตามแผนฯ
ทีนี้มีบางท่านบอกว่าที่ท่านใช้คำว่า “ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง” ระบุไว้ในแผนฯ นั้นก็เพราะเป็นแผนฯ ใหม่ที่เรียกว่า “แผนการจัดการเรียนรู้” ไม่ใช่ “แผนการสอน” อย่างเดิม จึงใช้คำว่า “ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง” แทนคำว่า “จุดประสงค์การเรียนรู้” และ “ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง” ซึ่งระบุในแผนฯ ท่านก็ไม่ได้หมายถึง ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี หรือรายภาค แต่หมายถึง ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในแผนฯ นั้น ๆ
        บ้างก็ใช้ “ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง” บ้างก็ใช้ “จุดประสงค์การเรียนรู้” นั้น หากคุณครูสามารถเขียนระบุได้ครอบคลุม K-P-A ที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดเมื่อเรียนรู้จบแผนฯ ก็ไม่น่ามีปัญหา...เน้นว่า...เป็นผลฯ ที่เกิดหลังจบแผนฯ
                แต่ก็มีคุณครูบางท่านเขียนไว้ทั้ง ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่เป็นผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/รายภาค และเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ไว้ด้วย ในแผนฯ เดียวกันนั้น ก็สามารถทำได้ค่ะ เราไม่ได้มีรูปแบบตายตัวว่าต้องระบุอะไรในแผนมากน้อยแค่ไหน คุณครูแต่ละคนอาจมีรูปแบบแตกต่างกันไป (นอกจากบางโรงเรียนที่ตกลงร่วมกันว่าจะใช้รูปแบบเดียวกันก็เป็นเรื่องของแต่ละโรงเรียนนั้น) แต่ต้องคงองค์ประกอบสำคัญของแผนฯ ไว้ เช่น เนื้อหาสาระ จุดประสงค์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ สื่อ/แหล่งเรียนรู้ และกระบวนการวัดและประเมินผลค่ะ
               จะใช้คำใด ไม่น่าใช่สาระหลักที่ต้องยึดมั่น สำคัญอยู่ที่รายละเอียดที่คุณครูระบุไว้ว่ามุ่งหวังให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ทักษะ เจตคติในเรื่องใดมากกว่า และยิ่งไปกว่านั้น กระบวนการและกิจกรรมทั้งหลายทำให้ผู้เรียนเกิดสิ่งที่มุ่งหวังได้อย่างแท้จริงหรือไม่ เป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับคุณครูค่ะ
**ข้อสอบ**
KPA หมายถึง เกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ประกอบด้วยการประเมินด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะและการปฏิบัติ (Practice) และด้านเจตคติหรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude) การประเมินจะแบ่งตามลักษณะของรายวิชาด้วยเครื่องมือที่แตกต่างกันไปเช่น การประเมินด้านความรู้ (K) จะนิยมใช้แบบทดสอบในการประเมิน ในขณะที่การประเมินด้านทักษะ (P) จะใช้ภาระงานหรือชิ้นงานมาประกอบกับเกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics) มาประเมิน ส่วนด้านเจตคติ (A) จะใช้การประเมินตามสภาพจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น