วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

มคอ. ๓


รายละเอียดของรายวิชา (Course Specification) หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการของแต่ละรายวิชาเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องและเป็นไปตามที่วางแผนไว้ในรายละเอียด ของหลักสูตร ซึ่งแต่ละรายวิชาจะกำหนดไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และรายละเอียดของเนื้อหาความรู้ในรายวิชา แนวทางการปลูกฝังทักษะต่างๆ ตลอดจนคุณลักษณะอื่นๆที่นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของรายวิชา มีการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน วิธีการเรียน การสอน การวัดและประเมินผลในรายวิชา ตลอดจนหนังสือหรือสื่อทางวิชาการอื่นๆที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังกำหนดยุทธศาสตร์ในการประเมินรายวิชาและกระบวนการปรับปรุง
ประกอบด้วย ๗ หมวด ดังนี้
หมวดที่       ข้อมูลทั่วไป
หมวดที่      จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
หมวดที่       ลักษณะและการดำเนินการ
หมวดที่       การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
หมวดที่       แผนการสอนและการประเมินผล
หมวดที่       ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
หมวดที่       การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา







รายละเอียดของรายวิชา
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา
หมวดที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑. รหัสและชื่อรายวิชา
๒. จำนวนหน่วยกิต
บรรยาย-ปฏิบัติ
๓. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
          ระบุชื่อหลักสูตรที่ใช้รายวิชานี้ ยกเว้นวิชาที่เปิดเป็นวิชาเลือกทั่วไป ให้ใช้ หลายหลักสูตร และให้ระบุว่าเป็นวิชาศึกษาทั่วไปหรือวิชาเฉพาะ เช่น วิชาแกน วิชาเฉพาะด้าน วิชาพื้นฐานวิชาชีพหรือวิชาชีพ วิชาเอก วิชาเอกเลือก เป็นต้น
๔. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
๕. ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน
ระบุภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน ตามแผนการศึกษาของหลักสูตร
๖. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน  (Pre-requisite)  (ถ้ามี)
๗. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน  (Co-requisites)  (ถ้ามี)
๘. สถานที่เรียน 
ระบุสถานที่เรียนทุกแห่งทั้งในและนอกที่ตั้งหลักของมหาวิทยาลัยให้ครบถ้วน
๙. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด

หมวดที่ ๒   จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
๑.  จุดมุ่งหมายของรายวิชา
๒. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
อธิบายโดยย่อเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการพัฒนารายวิชานี้หรือการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น เพิ่มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  หรือ  web based  การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของรายวิชาซึ่งเป็นผลจากงานวิจัยใหม่ๆ ในสาขา


หมวดที่ ๓   ลักษณะและการดำเนินการ
๑. คำอธิบายรายวิชา
          ตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดหลักสูตร
๒. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
          ระบุจำนวนชั่วโมงบรรยาย สอนเสริม การฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม/การฝึกงาน และการศึกษาด้วยตนเอง
๓. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
          ระบุจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่จะให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และวิธีการสื่อสารให้นักศึกษาได้ทราบกำหนดเวลาล่วงหน้า

หมวดที่ ๔   การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
การพัฒนาผลการเรียนรู้ในมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านที่มุ่งหวัง ซึ่งต้องสอดคล้องกับที่ระบุไว้ในแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบต่อมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ตามที่กำหนดในรายละเอียดของหลักสูตร โดยมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละด้าน ให้แสดงข้อมูลต่อไปนี้
    สรุปสั้นๆ เกี่ยวกับความรู้ หรือทักษะที่รายวิชามุ่งหวังที่จะพัฒนานักศึกษา      
    คำอธิบายเกี่ยวกับวิธีการสอนที่จะใช้ในรายวิชาเพื่อพัฒนาความรู้ หรือทักษะในข้อ  
    วิธีการที่จะใช้วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในรายวิชานี้เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ใน 
      มาตรฐานการเรียนรู้แต่ละด้านที่เกี่ยวข้อง
๑. คุณธรรม จริยธรรม
          ๑.๑  คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
          ๑.๒  วิธีการสอน
          ๑.๓  วิธีการประเมินผล
๒. ความรู้
          ๒.๑  ความรู้ที่ต้องได้รับ
          ๒.๒  วิธีการสอน
          ๒.๓  วิธีการประเมินผล
๓. ทักษะทางปัญญา
          ๓.๑  ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
          ๓.๒  วิธีการสอน
          ๓.๓  วิธีการประเมินผล
๔. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
          ๔.๑  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
          ๔.๒  วิธีการสอน
          ๔.๓  วิธีการประเมินผล
๕. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
          ๕.๑  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
          ๕.๒  วิธีการสอน
          ๕.๓  วิธีการประเมินผล
หมวดที่ ๕   แผนการสอนและการประเมินผล
๑.  แผนการสอน
          ระบุหัวข้อ/รายละเอียด สัปดาห์ที่สอน จำนวนชั่วโมงการสอน (ซึ่งต้องสอดคล้องกับจำนวนหน่วยกิต) กิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อที่ใช้ รวมทั้งอาจารย์ผู้สอน  ในแต่ละหัวข้อ/รายละเอียดของรายวิชา

๒.  แผนการประเมินผลการเรียนรู้
          ระบุวิธีการประเมินผลการเรียนรู้หัวข้อย่อยแต่ละหัวข้อตามที่ปรากฏในแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบของรายวิชา (Curriculum Mapping) ตามที่กำหนดในรายละเอียดของหลักสูตร  สัปดาห์ที่ประเมิน และสัดส่วนของการประเมิน

หมวดที่ ๖ ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
๑.  ตำราและเอกสารหลัก
ระบุตำราและเอกสารหลักที่ใช้ในการเรียนการสอน
๒. เอกสารและข้อมูลสำคัญ
          ระบุหนังสือ วารสาร รายงาน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ กฎระเบียบต่างๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์และแหล่งอ้างอิงที่สำคัญอื่นๆ ซึ่งนักศึกษาจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม
๓. เอกสารและข้อมูลแนะนำ
ระบุหนังสือ วารสาร รายงาน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ กฎระเบียบต่างๆ   โปรแกรมคอมพิวเตอร์และแหล่งอ้างอิงที่สำคัญอื่นๆ ซึ่งนักศึกษาควรศึกษาเพิ่มเติม

หมวดที่ ๗ การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
๑. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
๒.  กลยุทธ์การประเมินการสอน
ระบุวิธีการประเมินที่จะได้ข้อมูลการสอน เช่น จากผู้สังเกตการณ์ หรือทีมผู้สอน หรือผลการเรียนของนักศึกษา เป็นต้น


๓.  การปรับปรุงการสอน
อธิบายกลไกและวิธีการปรับปรุงการสอน เช่น คณะ/ภาควิชามีการกำหนดกลไกและวิธีการปรับปรุงการสอนไว้อย่างไรบ้าง การวิจัยในชั้นเรียน การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เป็นต้น
๔. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
อธิบายกระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา เช่น ทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ หรืองานที่มอบหมาย กระบวนการอาจจะต่างกันไปสำหรับรายวิชาที่แตกต่างกัน หรือสำหรับมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้าน
๕.  การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
อธิบายกระบวนการในการนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินจากข้อ ๑ และ ๒ มาวางแผนเพื่อปรับปรุงคุณภาพ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น