ยุทธศาสตร์การศึกษา
4.0
การจัดการศึกษา 4.0 เป็นแนวคิดตามความพยายามของรัฐบาลที่มีความมุ่งมั่นในการนํา “โมเดล ประเทศไทย 4.0” หรือ “Thailand 4.0” มาใช้
เพื่อผลักดันประเทศให้หลุดพ้นจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง
การพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนตามแนวทาง Thailand 4.0 ได้นั้น
ต้องจัด การศึกษาให้สอดคล้องกับยุคประเทศไทย 4.0 ซึ่งการศึกษาไทยยุค 4.0 เป็นการจัดการเรียนการสอนที่สอน ให้ผ้เรียนรู้ สามารถนําองค์ความรู้
ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนา นวัตกรรมต่างๆ
มาตอบสนองความต้องการของสังคม ผู้ที่มีผลโดยตรงต่อการพัฒนาให้เด็กและเยาวชน
ของประเทศมีทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับประเทศไทย 4.0 คือครู ดังนั้นครู ต้องมีความรู้
ความสามารถเพียงพอในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสมสําหรับพัฒนาประเทศในยุคประเทศ
ไทย 4.0 โดยครูจะต้องสามารถสอนให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์
(analytic thinking)เป็นการ คิดพื้นฐานสําคัญสําหรับการคิดขั้นสูงต่อไป
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) เป็นกระบวนการพิจารณาไตร่ตรองอยางมีเหตุผลมีหลักเกณฑ์และตรวจสอบประเมินข้อมูลหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่คิด
ทุกด้านอยางรอบคอบโดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดหลักเหตุผลจนได้คําตอบที่เหมาะสมหรือดีที่สุดเพื่อนําไปใช้ใน
การตัดสินใจประเมินหรือแก้ปัญหาต่างๆ การคิดสร้างสรรค์(creative thinking)เป็นการคิดนอกกรอบจาก ความคิดเดิมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ความคิดใหม่
ความคิดริเริ่ม หรือความคิดต้นแบบ ซึ่งสามารถนําไปใช้ ประโยชน์ได้ดี
และการคิดผลิตภาพ (productive thinking) เป็นการผลิตหรือสร้างผลงานออกมาเป็น
รูปธรรมที่ชัดเจนซึ่งจะเป็นนวัตกรรมในผลผลิตต่อไป และต้องมีความคิดรับผิดชอบ (Responsibility
thinking)ในงานที่ทําในผลงานที่ผลิตขึ้น
ที่มา http://docs.wixstatic.com (รศ.ดร.ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์)
การสอนในยุคใหม่นี้ต้องการให้ผู้เรียนสามารถสร้างผลผลิตอย่างสร้างสรรค์การจัดการเรียนการ
สอนเน้นการคิด การประดิษฐ์การสร้างสิ่งใหม่ๆ
ให้ได้องค์ความรู้ใหม่และสามารถบูรณาการความรู้ที่ ศึกษาทั้งของเดิม
และของใหม่เข้าด้วยกันผลิตเป็น ผลงานของตนเองได้อย่างมีความคิดสร้างสรรค์ใช้
ความคิดอยางมีวิจารณญาณในการตัดสินใจเลือกสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เหมาะสม
และมีความรับผิดชอบต่อ สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้น
การสอนแบบนี้ต้องการให้ผู้เรียนมีความคิดใหม่ๆ
เพื่อมีผลให้คนในประเทศมีความสามารถในการคิดสิ่งใหม่ๆ ผลิตผลงานใหม่ๆ ขึ้น
โดยไม่ต้องคอยใช้หรือบริโภคสิ่งที่ผู้อื่นประเทศอื่น คิดมาจําหน่ายให้
นักเรียนในยุคการศึกษา 4.0 จะเป็นบุคคลากรของประเทศที่มีศักยภาพเพียงพอในการสร้าง
นวัตกรรมจนได้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพส่งขายไปยังต่างประเทศ
เพื่อเอาเงินตราเข้าประเทศและสร้างรายได้ ให้กับประเทศอย่างมีรายได้สูงได้
ผู้เรียนหรือนักเรียนจะมีความสามารถเช่นนั้นได้ต้องมีความสามารถ
หลายอย่างอยู่ในตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความสามารถด้านการคิด ได้แก่
การคิดวิเคราะห์ (analytical thinking) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
(critical thinking) การคิดสร้างสรรค์(creative
thinking) การคิดผลิตภาพ (productive thinking)และการคิดรับผิดชอบ (responsible thinking) ต้องรับผิดชอบต่อการกระทําใน
ทุกขั้นตอน
ตลอดจนรับผิดชอบต่อผลผลิตที่สร้างขึ้นโดยคํานึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมด้วย
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
สาระสำคัญของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist
Theory)
ทฤษฎีที่นำมาเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความรู้ของผู้เรียน
คือ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ของผู้เรียน ซึ่งถ้าพิจารณาจากรากศัพท์
“Construct” แปลว่า “สร้าง”
โดยในที่นี้หมายถึงการสร้างความรู้โดยผู้เรียนนั่นเองทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
เชื่อว่า การเรียนรู้ หรือการสร้างความรู้
เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน โดยที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้
โดยการนำประสบการณ์หรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อมหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับ
ความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม มาสร้างเป็น ความเข้าใจของตนเอง หรือ เรียกว่า
โครงสร้างทางปัญญา (Cognitive structure) หรือที่เรียกว่า
สกีมา (Schema) ซึ่งนั่นคือ ความรู้ นั่นเอง
ซึ่งอาจมิใช่เป็นเพียงการจดจำสารสนเทศมาเท่านั้น แต่จะประกอบด้วย
โดยที่แต่ละบุคคลนำประสบการณ์เดิม หรือความรู้ความเข้าใจเดิมที่ตนเองมีมาก่อน
มาสร้างเป็นความรู้ความเข้าใจที่มีความหมายของตนเองเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ
ซึ่งแต่บุคคลอาจสร้างความหมายที่แตกต่างกัน เพราะมีประสบการณ์ หรือ
ความรู้ความเข้าใจเดิมที่แตกต่างกันกลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) เชื่อว่า การเรียนรู้ เป็นกระบวนการสร้างมากกว่า การรับความรู้ ดังนั้น
เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนจะสนับสนุนการสร้างมากกว่าความพยายามในการถ่ายทอดความรู้
ดังนั้น กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
จะมุ่งเน้นการสร้างความรู้ใหม่อย่างเหมาะสมของแต่ละบุคคล
และเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญในการสร้างความหมายตามความเป็นจริง (Duffy
and Cunningham, 1996)วิธีการที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
มีหลักการที่สำคัญว่า ในการเรียนรู้
มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำในการสร้างความรู้ หรือเรียกว่า
Actively constructมิใช่ Passive receive ที่เป็นการรับข้อมูล หรือสารสนเทศ
และพยายามจดจำเท่านั้นกลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
ปรากฏแนวคิดที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการสร้างความรู้ หรือการเรียนรู้
ทั้งนี้เนื่องมาจากแนวคิดที่เป็นรากฐานสำคัญซึ่งปรากฏจากรายงานของนักจิตวิทยาและนักการศึกษา
คือ Jean Piaget นักจิตวิทยาพัฒนาการชาวสวิส และ Lev
Vygotsky ชาวรัสเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
§ กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา
(Cognitive
constructivism)
§ กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม
(Social
constructivism)
กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา
(Cognitive
constructivism)
กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา
มีรากฐานทางปรัชญาของทฤษฎี
มาจากความพยายามที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่
ด้วยกระบวนการที่พิสูจน์อย่างมีเหตุผล เป็นความรู้ ที่เกิดจากการไตร่ตรอง
ซึ่งถือเป็นปรัชญาปฏิบัตินิยม
ประกอบกับรากฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อพื้นฐานแนวคิดนี้
นักจิตวิทยาพัฒนาการชาวสวิส คือ เพียเจต์ (Jean Piaget) ทฤษฏีของเพียเจต์ จะแบ่งได้เป็น 2 ส่วน
คือ ช่วงอายุ (Ages) และ ]ลำดับขั้น (Stages) ซึ่งทั้งสององค์ประกอบนี้จะทำนายว่าเด็กจะสามารถหรือไม่สามารถเข้าใจสิ่งหนึ่งสิ่งใดเมื่อมีอายุแตกต่างกัน
และทฤษฏีเกี่ยวกับด้านพัฒนาการที่จะอธิบายว่าผู้เรียนจะพัฒนาความสามารถทางการรู้คิด
(Cognitive abilities) ทฤษฏีพัฒนาการที่จะเน้นจุดดังกล่าวเพราะว่าเป็นพื้นฐานหลักสำหรับวิธีการของคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา โดยด้านการจัดการเรียนรู้นั้นมีแนวคิดว่า มนุษย์เราต้อง “สร้าง”
ความรู้ด้วยตนเองโดยผ่านทางประสบการณ์
ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้จะกระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างโครงสร้างทางปัญญา หรือเรียกว่า
สกีมา (Schemas) รูปแบบการทำความเข้าใจ (Mental
model) ในสมอง สกีมาเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (Change) ขยาย (Enlarge) และซับซ้อนขึ้นได้โดยผ่านทางกระบวนการ
การดูดซึม (Assimilation) และการปรับเปลี่ยน (Accommodation) สิ่งสำคัญที่สามารถสรุปอ้างอิงทฤษฎีของเพียเจต์ ก็คือ บทบาทของครูผู้สอนในห้องเรียนตามแนวคิดเพียเจต์ บทบาทที่สำคัญคือ
การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมที่ให้ผู้เรียนได้สำรวจ
ค้นหาตามธรรมชาติห้องเรียนควรเติมสิ่งที่น่าสนใจที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองอย่างตื่นตัวโดยการขยาย สกีมาผ่านทางประสบการณ์ด้วยวิธีการดูดซึม (Assimilation) และการปรับเปลี่ยน (Accommodation) ซึ่งเชื่อว่า
การเรียนรู้เกิดจากการปรับเข้าสู่สภาวะสมดุล (Equilibrium)ระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม
โดยมีกระบวนการ ดังนี้
1. การดูดซึมเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา (Assimilation) เป็นการตีความ หรือรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมมาปรับเข้ากับโครงสร้างทางปัญญา
2.การปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation) เป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยการเชื่อมโยงระหว่างความรู้เดิมและสิ่งที่ต้องเรียนใหม่
2.การปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation) เป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยการเชื่อมโยงระหว่างความรู้เดิมและสิ่งที่ต้องเรียนใหม่
ภาพแสดงแนวคิดของกลุ่มคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา (Cognitive constructivism)
กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม
(Social
constructivism)
นักจิตวิทยาของกลุ่มพุทธิปัญญานิยมที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่งคือ
วีกอทสกี (Lev Vygotsky) ซึ่งเชื่อว่าสังคมและวัฒนธรรมจะเป็นเครื่องมือทางปัญญาที่จำเป็นสำหรับการพัฒนา
รูปแบบและคุณภาพของปัญญา
ได้มีการกำหนดรูปแบบและอัตราการพัฒนามากกว่าที่กำหนดไว้ในทฤษฎีของ เพียเจต์ (Jean
Piaget) โดยเชื่อว่า ผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีความอาวุโส เช่น
พ่อแม่ และครู จะเป็นตัวเชื่อมสำหรับเครื่องมือทางสังคมวัฒนธรรมรวมถึงภาษา
เครื่องมือทางวัฒนธรรมเหล่านี้ ได้แก่ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม
บริบททางสังคมและภาษาทุกวันนี้รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ตามแนวคิดของวีกอทสกี
(Vygotsky) ดังกล่าวข้างต้นที่ว่า เด็กจะพัฒนาในกลุ่มของสังคมที่จัดขึ้น
การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมควรจะเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันมากกว่าที่จะแยกผู้เรียนจากคนอื่นๆ
ครูตามแนวคิดกลุ่มคอนสตรัคติวิสต์ ควรจะสร้างบริบทสำหรับการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถได้รับการส่งเสริมในกิจกรรมที่น่าสนใจซึ่งกระตุ้นและเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้แทนที่ครูผู้สอนที่เข้ามาสู่กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน
ไม่ใช่เข้ามายืนมองเด็กสำรวจและค้นพบเท่านั้น
แต่ครูควรแนะนำเมื่อผู้เรียนประสบปัญหา กระตุ้นให้ผู้เรียนปฏิบัติงานในกลุ่มในการที่จะคิดพิจารณาประเด็นคำถาม
และสนับสนุนด้วยการกระตุ้น แนะนำ ให้พวกเขาต่อสู้กับปัญหา และเกิดความท้าทาย
และนั่นเป็นรากฐานของสถานการณ์ในชีวิตจริง (Real life situation) ที่จะทำให้ผู้เรียน เกิดความสนใจ
และได้รับความพึงพอใจในผลของงานที่พวกเขาได้ลงมือกระทำ ดังนั้น
ครูจะคอยช่วยเอื้อให้ผู้เรียนเกิดความเจริญทางด้านสติปัญญา (Cognitive
growth) และการเรียนรู้
ในทุกชั้นเรียนซึ่งกลยุทธ์ทางเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคของวีกอทสกี
(Vygotsky) อาจจะไม่จำเป็นต้องจัดกิจกรรมที่เหมือนกันทุกอย่างก็ได้
กิจกรรมและรูปแบบอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามจะมีหลักการ 4 ประการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชั้นเรียนที่เรียกว่า “Vygotsky” หรือตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม (Social
constructivism) ดังนี้
1) เรียนรู้และการพัฒนา คือ ด้านสังคม ได้แก่ กิจกรรมการร่วมมือ (Collaborative
activity)
2) โซนพัฒนาการ (Zone of proximal development) ควรจะสนองต่อแนวทางการจัดหลักสูตรและการวางแผนบทเรียน จากพื้นฐานที่ว่า ผู้เรียนที่มีโซนพัฒนาการ จะสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องได้รับการช่วยเหลือ แต่สำหรับผู้เรียนที่อยู่ต่ำกว่าโซนพัฒนาการ จะไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้และต้องได้รับการช่วยเหลือ ที่เรียกว่า ฐานการช่วยเหลือ (Scaffolding)
3) การเรียนรู้ในโรงเรียนควรเกิดขึ้นในบริบทที่มีความหมายและไม่ควรแยกจากการเรียนรู้และความรู้ที่ผู้เรียนพัฒนามาจากสภาพชีวิตจริง (Real world) ประสบการณ์นอกโรงเรียน ควรจะมีการเชื่อมโยงนำมาสู่ประสบการณ์ในโรงเรียนของผู้เรียน
2) โซนพัฒนาการ (Zone of proximal development) ควรจะสนองต่อแนวทางการจัดหลักสูตรและการวางแผนบทเรียน จากพื้นฐานที่ว่า ผู้เรียนที่มีโซนพัฒนาการ จะสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องได้รับการช่วยเหลือ แต่สำหรับผู้เรียนที่อยู่ต่ำกว่าโซนพัฒนาการ จะไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้และต้องได้รับการช่วยเหลือ ที่เรียกว่า ฐานการช่วยเหลือ (Scaffolding)
3) การเรียนรู้ในโรงเรียนควรเกิดขึ้นในบริบทที่มีความหมายและไม่ควรแยกจากการเรียนรู้และความรู้ที่ผู้เรียนพัฒนามาจากสภาพชีวิตจริง (Real world) ประสบการณ์นอกโรงเรียน ควรจะมีการเชื่อมโยงนำมาสู่ประสบการณ์ในโรงเรียนของผู้เรียน
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี
ได้คัดเลือกมานำเสนอ
ล้วนได้รับการพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพมาแล้วและมีผู้นิยมนำไปใช้ในการเรียนการสอนโดยทั่วไป
แต่ เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมีจำนวนมาก
เพื่อความสะดวกในการศึกษาและการนำไปใช้ จึงได้ จัดหมวดหมู่ของรูปแบบเหล่านั้นตามลักษณะของวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบ
ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย(cognitive domain)
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย(affective domain)
3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย(psycho-motor domain)
4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ(process skill)
5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ(integration)
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย(cognitive domain)
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย(affective domain)
3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย(psycho-motor domain)
4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ(process skill)
5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ(integration)
เนื่องจากจำนวนรูปแบบและรายละเอียดของแต่ละรูปแบบมากเกินกว่าที่จะนำเสนอไว้ในที่นี้ได้ทั้งหมด
จึงได้คัดสรรและนำเสนอเฉพาะรูปแบบที่ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี
ประเมินว่าเป็นรูปแบบที่จะ เป็นประโยชน์ต่อครูส่วนใหญ่และมีโอกาสนำไปใช้ได้มาก
โดยจะนำเสนอเฉพาะสาระที่เป็นแก่นสำคัญของ รูปแบบ 4 ประการ คือ
ทฤษฎีหรือหลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบกระบวนการของรูปแบบ
และผลที่จะได้รับจากการใช้รูปแบบ ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านได้ภาพรวมของรูปแบบ
อันจะช่วยให้สามารถตัดสินใจ ในเบื้องต้นได้ว่าใช้รูปแบบใดตรงกับความต้องการของตน
หากตัดสินใจแล้ว ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมใน รูปแบบใด
สามารถไปศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือซึ่งให้รายชื่อไว้ในบรรณานุกรม
รูปแบบการเรียนการสอนที่นำเสนอนี้
ล้วนเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ทั้งสิ้น
เพียงแต่มีความแตกต่างกันตรงจุดเน้นของด้านที่ต้องการพัฒนาในตัวผู้เรียนและปริมาณของการมีส่วน
ร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งมีมากน้อยแตกต่างกัน
การสอนแต่ละครั้งมักประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้งทางด้าน
พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย รวมทั้งทักษะกระบวนการทางสติปัญญา
เพราะองค์ประกอบทั้งหมดมีความ เกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด
การจัดหมวดหมู่ของรูปแบบเป็นเพียงเครื่องแสดงให้เห็นว่า รูปแบบนั้น มีวัตถุประสงค์
หลักมุ่งเน้นไปทางใดเท่านั้น แต่ส่วนประกอบด้านอื่น ๆ ก็ยังคงมีอยู่
เพียงแต่จะมีน้อยกว่าจุดเน้นเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น